Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์22 มีนาคม 2553
ไร้บารมีทักษิณหุ้นเจ๊แดงเจ๊ง "WIN-ASCON"ร่อแร่ขาดทุนยับ             
 


   
search resources

Electronic Components
วินโคสท์ อินดัสเตรียล พาร์ค, บมจ.




หุ้นในเครือเจ๊แดงน้องสาวทักษิณ ชินวัตร อย่างวินโคสท์ฯ อาการสาหัส หลังผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ส่วน ASCON ยังไม่ส่งงบหลังขาดทุนบาน WIN เจอปัญหาหนักลูกค้าหายอ้างคดีมาบตาพุด-รถไฟประท้วง แถมการนิคมฯ บอกเลิกสัญญา แถมถูกแบงก์ฟ้องผิดนัดชำระหนี้ พบผู้ถือหุ้นใหญ่โยกหุ้นไป-กลับก่อนวันชุมนุม

สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา ท่ามกลางความหวาดวิตกว่าการชุมนุมจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง เนื่องจากการชุมนุมครั้งนี้ถูกประกาศว่าเป็นสงครามครั้งสุดท้าย ไม่ชนะไม่เลิก แต่ดูเหมือนสัญญาณทางเศรษฐกิจอย่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับขึ้นอย่างต่อ เนื่อง รวมถึงตัวเลขซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาซื้อทุกวัน สวนทางกับบรรยากาศของการชุมนุม

ในด้านหนึ่งของตลาดหุ้นถูกมองกันว่าเป็นหนึ่งในช่องทางที่ใช้เพื่อการระดม เงินมาเป็นทุนสำหรับการชุมนุมในครั้งนี้ เนื่องจากเครือข่ายนักธุรกิจและการถือหุ้นผ่านตัวแทนของทักษิณ ชินวัตร ยังสามารถใช้ตลาดหุ้นสร้างเม็ดเงินได้อย่างไม่ยากเย็น

แต่ในอีกเครือข่ายหนึ่งน้องสาวของทักษิณอย่างเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีธุรกิจในตลาดหุ้นอย่างบริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ MLINK และอีกหลายบริษัท แต่หนึ่งในนั้นคือบริษัท วินโคสท์ อินดัสเตรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ WIN ที่วันนี้อยู่ในสถานะที่ไม่ดีนัก หลังจากที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความคิดเห็นต่องบการเงิน ขณะที่บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON ที่ยังมีปัญหาไม่ส่งงบการเงินของปี 2552 และมีผลขาดทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 สูงถึง 458.02 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขาดทุนที่มากกว่างวด 9 เดือนแรกของปี 2551 ที่ขาดทุนสุทธิเพียง 63.24 ล้านบาท

แม้ว่าหุ้นทั้ง 2 บริษัทปัจจุบันจะไม่ปรากฎรายชื่อคนของตระกูลวงสวัสดิ์เข้าไปถือหุ้น แต่ในระยะแรกนั้นมีคนในตระกูลนี้เข้าไปเกี่ยวข้อง และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าอำนาจในการบริหารงานยังคงเป็นของคนกลุ่มนี้

กรณีของ WIN ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากมีรายชื่อของบุตรชายและบุตรสาวของเยาวภาเข้ามาถือ หุ้นในระยะแรกหลังจากเข้าไปซื้อกิจการบริษัท เคพโทรนิค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2547 แล้วเปลี่ยนธุรกิจเดิมมาเป็นรับจ้างประกอบรถโกคาร์ และธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ในเขตปลอดภาษี เพื่อรองรับกับธุรกิจโลจิตส์ติกที่สอดรับกับนโยบายการบริหารประเทศของทักษิณ ชินวัตร ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อตระกูลวงศ์สวัสดิ์เดินเข้าสู่สนามการเมือง จึงได้ขายหุ้นให้กับจักร จามิกรณ์

หลังจากทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนมาถึงสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี หุ้น WIN ก็กลายเป็นความหวังว่าราคาหุ้นจะมีความร้อนแรง เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี ถึงวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับ WIN คือผลการดำเนินงานที่ขาดทุน รวมถึงผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ทั้ง ๆ ที่บริษัทมีผลขาดสุทธิของปี 2552 น้อยกว่าปี 2551 โดยมีผลขาดทุนสุทธิจำนวนเงิน 69.73 ล้านบาท และ 93.59 ล้านบาทตามลำดับ

ทั้งนี้ บริษัทได้ให้เหตุผลว่าเป็นผลมาจากในปีที่ผ่านมาปริมาณการขนส่งตู้ คอนเทนเนอร์ลดลงตามสภาวะการส่งออกเม็ดพลาสติกที่ลดลง รวมถึงปัญหาเรื่องศาลปกครองระงับการลงทุน ใน 76 โครงการที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่งผลให้บริษัท วินโคสท์ โลจิสติกส์ จำกัด ต้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และศาลได้รับคำร้องเพื่อนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการไต่สวนตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2552 และได้หยุดให้บริการด้านการขนส่งทางรถไฟเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26ตุลาคม 2552 ด้วยสาเหตุจากการหยุดงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และการขาดแคลนหัวรถจักรซึ่งจะกระทบกับการให้บริการของบริษัทย่อย

ผู้สอบบัญชีได้ให้รายละเอียดว่างบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวนเงิน 312.33 ล้านบาท และ 271.71 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสะสมจำนวนเงิน 325.52 ล้านบาท และ 255.79 ล้านบาทตามลำดับ

นอกจากนี้บริษัทยังมีหนี้สินผิดนัดชำระกับสถาบันการเงินจำนวน 139.48 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 บริษัทถูกสถาบันการเงินดังกล่าวฟ้องร้องและเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 บริษัทถูกฟ้องร้องภาระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันและสิทธิไล่เบี้ยเพิ่มเติม รวมทั้งบริษัทย่อยอีกสองแห่ง ซึ่งในระหว่างปี 2552 และ 2551 ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับหนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะ ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าขอให้บริษัทย่อยดังกล่าวชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2552 โดยบริษัทย่อยดังกล่าวจะต้องหยุดประกอบกิจการ พร้อมทั้งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่สัญญาระงับซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 13 เมษายน 2553

และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2552 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทย่อยดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา บริษัทได้หยุดการให้บริการบรรทุกตู้สินค้าทางรถไฟ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญอย่างมากในการ ดำเนินงานต่อเนื่องของบริษัทและบริษัทย่อย

"จักร" โยกหุ้นไป-กลับ

ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างจักร จามิกรณ์ ได้เปิดเผยรายการขายหุ้น WIN จำนวน 24 ล้านหุ้นหรือ 12.64% เมื่อวันที่ 8 มีนาคมในราคา 0.29 บาทและซื้อกลับเข้ามาตามเดิมในวันที่ 11 มีนาคม 2553 ก่อนวันเริ่มชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงเพียง 1 วัน แม้ว่าจะมีการซื้อกลับในราคาเดิม

แม้ว่ามูลค่าของหุ้นดังกล่าวจะไม่สูงนัก แต่เป็นเรื่องน่าคิดว่าเหตุใดจึงมีการขายหุ้นออกไปแล้วซื้อกลับภายในช่วง 4 วันทำการ อีกทั้งอยู่ในช่วงที่สถานของบริษัทมีปัญหาทางการเงินจนผู้สอบบัญชีไม่สามารถ แสดงความเห็นในงบการเงินได้

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า เราไม่อาจบอกได้ว่าหุ้นตัวนี้เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาจากรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้วไม่พบความเกี่ยวข้องเนื่องจาก ตระกูลวงศ์สวัสดิ์ได้ขายหุ้นออกไปแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่นักการเมืองมักจะขายหุ้นออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการ ถูกตรวจสอบ แต่ก็มีข้อสังเกตุระดับหนึ่งคือบริษัทเหล่านั้นมักจะได้งานจากภาครัฐไปหลาย โครงการหรือธุรกิจที่ดำเนินการอยู่นั้นไปสอดรับกับนโยบายของรัฐ ทั้ง ๆ ที่บางบริษัทไม่มีประสบการณ์ในงานนั้นเลย

กรณีของ WIN ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการเข้าซื้อกิจการบริษัทที่มีปัญหาในการ ดำเนินงานแล้วนำเอาสิทธิของความเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเพื่อ ใช้ประโยชน์ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จจากการสร้างกิจการใหม่ เนื่องจากภาวะไม่เอื้ออำนวยอีกทั้งลูกค้าของบริษัทยังค่อนข้างจำกัด

ส่วนใหญ่ของกลุ่มทุนที่เข้าไปซื้อบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟู กิจการนั้น มักจะเน้นไปที่การเข้าไปซื้อกิจการด้วยเงินจำนวนน้อย หาทุนก้อนใหม่เข้ามาเพิ่มทุนเพื่อให้พ้นเกณฑ์ของทางการ จากนั้นเมื่อหุ้นทำการซื้อขายได้ ราคามักจะกระโดดขึ้นเป็นพันเปอร์เซ็นต์ จุดนี้กลุ่มทุนใหม่มักจะเทหุ้นขายออกมาเพื่อลดภาระและสร้างกำไรจากการลงทุน หลังจากนั้นจึงปล่อยให้หุ้นแย่ลงและทิ้งไปในที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us