Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2529
บนเส้นทางที่เคยเกรียงไกรของกลุ่มเสถียรภาพ 27 ปีเต็ม ที่ "จุลไพบุลย์" สร้างมากับมือ             
 


   
search resources

Ceramics
อุบล จุลไพบูลย์
เสถียรภาพอุตสาหกรรม, หจก.




กลุ่มเสถียรภาพเป็นกลุ่มที่เริ่มต้นอุตสาหกรรมเซรามิกจากจุดเล็กๆ ย้อนกลับไปเมื่อ 27 ปีที่แล้ว มีผู้ก่อตั้งเป็นสองสามีภรรยาคือ พงศ์เทพ จุลไพบูลย์ และอุบล จุลไพบูลย์ (ก่อตั้งได้ไม่นานพงษ์เทพก็เสียชีวิต กิจการตกอยู่ในความรับผิดชอบของอุบลเพียงคนเดียว)

โรงงานแรก

พงษ์เทพและอุบลได้เข้าหุ้นกับพี่ ๆ น้อง ๆ ในบริษัทพอร์ซเลนไทย จำกัด สร้างโรงงานทำเครื่องเคลือบดินเผา แต่บริษัทนี้ยังไม่ทันได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ก็มีอันให้ต้องล้มละลายไปในปี 2501 พี่ๆ น้องๆ หมดตัวกันทุกคน (โดยเฉพาะมณฑา พานิชวงศ์ กับ ปัญญา ควรตระกูล น้องสาวและน้องชายของอุบล) แต่พงษ์เทพกับอุบลกลับสามารถประมูลซื้อกิจการของบริษัทพอร์ซเลนไทยจำกัดได้จากกองล้มละลายกระทรวงยุติธรรมและเริ่มดำเนินกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาก่อน การผลิตนั้นใช้วิธีและเตาเผาแบบโบราณและผลิตเฉพาะชามก๋วยเตี๋ยวเป็นหลัก (ที่มีรูปไก่อยู่ข้างชามนั่นแหละ) ต่อมาจึงได้ปรับปรุงโรงงานเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิตมาเป็นแบบสมัยใหม่ มีการก่อสร้างเตาแบบอุโมงค์ ติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ยี่ห้อ MINO ของญี่ปุ่น มีการว่าจ้างนายช่างเทคนิคชาวญี่ปุ่นมาให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคการผลิต ภายหลังการปรับปรุงโรงงานนี้ได้เพิ่มรูปแบบและขนาดของผลิตภัณฑ์ต่างๆ กันออกไป และเปลี่ยนรูปกิจการจากบุคคลธรรมดามาเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ชื่อเสถียรภาพอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียน 500,000 บาท

โรงงานที่สอง

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเสถียรภาพอุตสาหกรรมได้วางแผนขยายกำลังการผลิตโดยก่อตั้งโรงงานที่สองติดๆ กับโรงงานแรก และเริ่มทำการผลิตได้เมื่อปี 2510 การขยายโรงงานครั้งนี้ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ใช้ยี่ห้อ KERA จากประเทศเยอรมนีตะวันตกและเปลี่ยนรูปกิจการจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพ จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2507 ผู้ถือหุ้นนอกจากอุบล จุลไพบูลย์และลูกๆ

โรงงานที่สาม

ภายหลังก่อตั้งโรงงานที่สองแล้วกิจการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพสามารถขยายตลาดได้กว้างขวาง กลายเป็นผู้ผลิตถ้วยชามรายใหญ่ที่สุดในประเทศ จนโรงงานทั้งสองโรงที่มีอยู่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด บริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพก็เลยตัดสินใจขยายกำลังการผลิตโดยก่อตั้งโรงงานที่สามขึ้นในปี 2513 โรงงานใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินติดกับสองโรงงานแรก (คือที่เลขที่ 61 ถนนเศรษฐกิจ 1 อ้อมน้อย กระทุ่มแบน สมุทรสาคร) เครื่องจักรและอุปกรณ์สั่งซื้อจากบริษัท TAGASAGO ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันนั้นบริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพก็ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 5 ล้านบาทเป็น 20 ล้านบาท

โรงงานที่สี่

เมื่อมีโรงงานเป็นสามโรง แล้วบริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพของตระกูล "จุลไพบูลย์" ก็หาได้หยุดนิ่งไม่ บริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพได้มีการปรับปรุงกิจการกันตลอดเวลา คือได้ก่อสร้างโรงพิมพ์รูปลอกสำหรับติดถ้วยชามขึ้นใช้เองภายในบริเวณโรงงาน เปลี่ยนเครื่องปั้นทั้งสามโรงงาน ระบบเดิมซึ่งเป็น MANUAL และ SEMI AUTOMATIC มาเป็นระบบ ROLLER MACHINE พร้อม JET DRYER และในปี 2514 ก็ได้สร้างโรงงานที่สี่สำหรับผลิตกระเบื้องโมเสก เป็นการดำเนินกิจการในนามบริษัทอุตสาหกรรมโมเสคไทย จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทซึ่งก็มีฐานะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพ ถือหุ้นโดยตระกูล “จุลไพบูลย์” อีกเช่นกัน

โรงงานที่ 5

ก่อสร้างโรงงานที่ 5 เมื่อปี 2517 เป็นโรงงานผลิตกระเบื้องปูผนัง ดำเนินงานในนามบริษัทอุตสาหกรรมโมเสคไทยเช่นเดียวกับโรงงานที่ 4

โรงงานที่ 6

ในปี 2518 กลุ่มอุตสาหกรรมเสถียรภาพได้ก่อตั้งบริษัทกระเบื้องเคลือบสยามจำกัดทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาทขึ้นเป็นบริษัทที่ 3 และสร้างโรงงานแห่งที่ 6 ทำการผลิตโมเสกและอิฐทนไฟในปีเดียวกัน

โรงงานที่ 7

ถ้าจะถามว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเสถียรภาพมีความภาคภูมิใจในสิ่งใดมากที่สุด ก็เห็นจะต้องตอบว่า โรงงานแห่งที่ 7 โรงงานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2523 ดำเนินงานในนามบริษัทบัวหลวงเซรามิค จำกัด ซึ่งเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท และต่อมาเพิ่มทุนเป็น 70 ล้านบาท บริษัทบัวหลวงเซรามิคและโรงงานแห่งที่ 7 อาจจะพูดได้ว่ากลุ่มเสถียรภาพต้องลงทุนสร้างขึ้นมาโดยใช้เงินทุนสูงที่สุดที่มีอยู่เดิมทั้ง 6 โรง เป็นโรงงานที่ผลิตถ้วยชามชั้นดีทั้งแบบที่เรียกว่าพอร์ซเลนและสโตนแวร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มียอดขายสูงที่สุดของกลุ่มอุตสาหกรรมเสถียรภาพและเป็นชิ้นปลามันที่ “จุลไพบูลย์” หวงนักหวงหนา เจ้าหนี้จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานแห่งนี้น้อยที่สุด

ในปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมเสถียรภาพจึงมีการดำเนินงานในรูปของ 4 บริษัท คือบริษัทอุตสาหกรรมเสถียรภาพ ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท บริษัทอุตสาหกรรมโมเสคไทย ทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท บริษัทกระเบื้องเคลือบสยาม ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท และบริษัทบัวหลวงเซรามิค ทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท

มีโรงงานทั้งสิ้น 7 โรงตั้งอยู่บนเนื้อที่ราวๆ 80 ไร่ มีพนักงานประมาณ 2,103 คน (ซึ่งตอนนี้คงลดจำนวนไปพอสมควรแล้ว) โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง

“แน่นอนล่ะค่ะ เมื่อกิจการดี การทำงานของดิฉันก็รู้สึกว่าสนุกและคุ้นเคยกับมันยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเมื่อบรรษัท (หมายถึงบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่งคอยติดตามงานอยู่เสมอเห็นว่าทำงานเกิดผล จึงตกลงให้กู้เงินอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2504 รวม 6 แสนบาท ต่อมาก็กู้ได้เป็นครั้งที่สามอีก 7 แสนเศษ ดิฉันสามารถทำให้บรรษัทเชื่อใจได้ก็เพราะนอกจากผลงานแล้ว ดิฉันยังสามารถที่จะส่งเงินคืนได้ตามที่กำหนดไว้เสมอ” อุบล จุลไพบูลย์ ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือชื่อ “สารคดีสิบชีวิตผู้ประกอบอุตสาหกรรมในประเทศไทย” ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ เมื่อต้นปี 2510 ขณะที่ยังมีหนี้ในวงเงินไม่ถึงล้านบาท

ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทุกวันนี้อุบล จุลไพบูลย์ ยังจดจำคำสัมภาษณ์ในครั้งนั้นได้หรือไม่ หรือว่าเงินเป็นพันล้านบาทที่เธอเป็นหนี้สถาบันการเงินอยู่จะทำให้ความจำต้องมีอัน (แกล้ง) เสื่อมกันบ้าง?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us