Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2529
AT&T สะดุดขาตัวเองในธุรกิจสมุดหน้าเหลือง และแล้วยักษ์ใหญ่ก็ "ตายน้ำตื้น" ที่ไทย             
โดย นพ นรนารถ
 


   
search resources

เอทีแอนด์ที
Telecommunications




ที่อเมริกา เอทีแอนด์ที กำลังเปลี่ยนตัวผู้นำคนใหม่เข้ามารับภาระอันหนักอึ้งที่เอทีแอนด์ทีประสบหลังจากบุกออกต่างประเทศตั้งแต่ปี 2524 ทางด้านประเทศไทย เอทีแอนด์ทีกำลัง "ปรับกลยุทธ์" ครั้งใหญ่หลังจาก "เสียฟอร์ม" จากกรณีสมุดหน้าเหลือง

จากนี้ไป AMRICAN TELEPHONE AND TELEGRAPH (เอทีแอนด์ที) จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเช่นไร หลังจากโครงการ "สมุดหน้าเหลือง" เพื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้ทำเอาเอทีแอนด์ทีหน้าเหลืองซีดในเวลาต่อมา

ปริศนาสำคัญข้อนี้ จะเปิดออก ก็ต้องตอบคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ประการ หนึ่ง-อะไรคือยุทธวิธีทางธุรกิจของเอทีแอนด์ทีในการ "บุกทะลวง" เข้ามาประเทศไทย สอง-อะไรคือเจตนารมณ์อันแท้จริงในการ "จับ" โครงการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยชนิดที่ไม่เคยได้รับมาก่อน

เอทีแอนด์ทีเข้ามาประเทศไทยอย่างเงียบ ๆ พร้อม ๆ กับการเปิดตลาดต่างประเทศทั่วโลกอีกครั้งในปี 2524 โดยผ่านคนที่ชื่อ สว่าง เลาหทัย ประธานศรีกรุงวัฒนากรุ๊ฟ" เราเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกโดยลงนามแต่งตั้งบริษัท Advanced Information Systems ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มศรีกรุงวัฒนาให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าและบริการของ AT&T ทางด้านระบบสำนักงานประเภท Voive Communication และอุปกรณ์สายตอนนอก (Outside Plant Apparatus) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพันธภาพระหว่างกลุ่มศรีกรุงวัฒนาและ AT&T ก็ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการร่วมงานกันในหลาย ๆ โครงการต่อมา" ข้อมูลทางการของ เอทีแอนด์ที อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เขียนโดยโจเซฟ อาร์ด กล่าวไว้

ในเวลาเดียวกันเอทีแอนด์ที อินเตอร์เนชั่นแนลก็ได้ตั้งสำนักงานส่วนภูมิภาคด้านการตลาดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "การประสานงานระหว่าง Mr. Pasquale กับคุณสว่าง เริ่มขึ้นตอนนั้น ทีมวิจัยของเอทีแอนด์ทีได้เดินทางเทียวไปเทียวมาประเทศไทยตลอด 4 ปีเต็ม เพื่อปูพื้นฐานในการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระยะหลัง" แหล่งข่าวอีกกระแสเน้นกับ "ผู้จัดการ"

โจเซฟ ฮาร์ด กล่าวต่อไปว่าในปี 2526 และปี 2527 เอทีแอนด์ทีได้รับการคัดเลือกจากกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญถึง 2 โครงการ โครงการที่ดำเนินปัจจุบันคือการจัดตั้ง Corporate Planning Office โดยมี Mr. William Murrell จากเอทีแอนด์ทีเป็นผู้อำนวยการโครงการ

"หลังจากพลเอกอาทิตย์เป็นประธานองค์การโทรศัพท์ฯ บทบาทของเอทีแอนด์ทีดูเพิ่มขึ้น" ผู้สันทัดกรณีตั้งข้อสังเกต

ทั้งนี้สอดคล้องกับรายงานที่ว่า สว่าง เลาหทัย มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งรัศมีเจิดจ้าอย่างมากตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา

นี่เป็นยุทธวิธีแรกในการบุกตลาดประเทศไทยของเอทีแอนด์ที

จากนี้จึงเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกากการชนะประมูลจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ หรือที่เรียกกันว่า "YELLOW PAGES" ชนิดล็อคถล่มทลาย โดยเอทีแอนด์ทีเสนอผลประโยชน์ให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก้อนใหญ่ แต่กว่าจะเข้าวินได้ ก็เหนื่อยกันทั่วหน้า

ยุทธวิธีที่สอง--เอทีแอนด์ทีมีความต้องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตและประกอบอุปกรณ์โทรศัพท์มาแต่ปี 2524 ประกาศลงทุน 480 ล้านบาท ในประเทศไทย แต่งานนี้ไม่ถึงฝั่ง "โครงการประเภทนี้ต้องผ่านบีโอไอ. ซึ่งเป็นที่รู้กันภายในว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ บีโอไอ. เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเสี่ยหว่างตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการของเอทีแอนด์ที" แหล่งข่าวจากศรีกรุงวัฒนากรุ๊ประบุและว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ.) นี้ บารมีของอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง

เหตุผลอย่างเป็นทางการของบีโอไอ. ในการไม่อนุมัติโครงการดังกล่าวของเอทีแอนด์ทีคือ "โครงการของเอทีแอนด์ทีคล้ายคลึงกับกลุ่ม อีริคสัน เอ็นอีซี ฯลฯ ซึ่งบีโอไอ. บอกปัดเพราะก่อนหน้านี้ได้ให้การส่งเสริมแก่ ไอทีที. ไปแล้ว"

เมื่อยุทธวิธีที่หนึ่งไม่สัมฤทธิ์ผล เอทีแอนด์ที ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมของโลกหาหยุดไม่!

จากข่าว บีโอไอ. ระบุว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2528 AT&T Tcchnology Systems ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเอทีแอนด์ที มีหนังสือถึง สถาพร กวิตานนท์ รองเลขาธิการบีโอไอ. ขอทราบว่าหากบริษัทจะเข้า TAKE OVER บริษัทฮันีเวลล์-ซินเนอร์เทร็กซ์ (ไทย) ซึ่งมีกิจการผลิตไอซี่. ที่นวนคร ปทุมธานี จะถือว่าเป็นโครงการใหม่และบริษัทจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่นเดียวกับผู้ได้รับการส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิคส์เพื่อการส่งออกที่ตั้งโรงงานขึ้นใหม่หรือไม่

และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2528 บีโอไอ. พิจารณาและตอบคำถามของเอทีแอนด์ที "ถือว่าเป็นโครงการใหม่ เพราะเอทีแอนด์ทีจะต้องลงทุนสูงถึง 700 ล้านบาท และเพิ่มขั้นตอนการผลิตด้วย และถ้าไม่รับซื้อกิจการแล้ว ฮันนี่เวลล์ก็ต้องเลิกกิจการอยู่ดี อีกทั้งเห็นว่าเอทีแอนด์ทีเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมาก หากลงทุนในประเทศไทยก็จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้อื่นตมมาบ้าง" เอกสารการประชุมบีโอไอ. ครั้งนั้นระบุ

ตามกระแสข่าวในช่วงนั้น เอทีแอนด์ทีได้กว้านซื้อหุ้นของบริษัทซินเนอร์เท็กซ์อันเป็น 1 ใน 35 บริษัทของกลุ่มฮันนี่เวลล์ ซินเนอร์เท็กซ์ในสหรัฐ ซึ่งมีผลต่อกิจการของกลุ่มนี้ในประเทศไทย

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกิจการเช่นเดียวกันนี้ ส่งผลถึงธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายกิจการในช่วงปัจจุบัน อาทิ SAATCHI & SAATCHI เทค โอเวอร์ TEDBATES ทำให้กิจการในประเทศไทยจำต้องปล่อยมือสัญญาโฆษณากับบริษัทคอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)

นอกจากนี้เอทีแอนด์ทีก็ใช้ยุทธวิธีสากลทั่วไป เช่น โครงการโทรศัพท์สายเสริมของเบลส์ คานาดาฯ ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป

การประมูลชิงลิขสิทธิ์และจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ลั่นกลองรบเมื่อกลางปี 2527 กว่าเอทีแอนด์ทีจะเข้าป้ายก็ประมาณเดือน มกราคม 2528 (โปรดอ่าน "ผู้จัดการ" ฉบับที่ 15 เดือนพฤศจิกายน 2527 ประกอบ) โดยเสนอรายได้ขั้นต่ำ 1,275 ล้านบาท ลดลงจากเปิดประมูลครั้งแรก 400 ล้านบาท แต่มากกว่าคู่แข่งสำคัญ คือ GENERAL TELEPHONE DIRECTIORIES (จีทีดี.) ถึง 875 ล้านบาท

งานชิ้น "บุกเบิก" นี้ได้มาด้วยยุทธวิธีแรก หรือฝีมือของสว่าง เลาหทัย โดยแท้

และเอทีแอนด์ทีก็ "เซอร์ไพร้ซ์" วงการธุรกิจสมุดหน้าเหลืองอย่างหนัก ไม่มีใครคาดคิดว่าเอทีแอนด์ทีจะบ้าเลือดถึงขั้นนี้ "ถ้าพิจารณาในแง่ธุรกิจอย่างเดียวเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากว่าจะทำกำไรได้" นักการตลาดคนหนึ่งตั้งข้อสังเกต

ว่ากันว่าเอทีแอนด์ทีเสนอรายได้ในการประมูลครั้งนี้ด้วยความมั่นใจอย่างยิ่ง แต่พอรู้ว่า จีทีดี. ประกาศจะพิมพ์สมุดหน้าเหลืองอิสระต่อไปกลับทำให้เอทีแอนด์ทีลังเลอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

เมื่อได้คำยืนยันอย่างหนักแน่นจาก "ผู้ใหญ่" เอทีแอนด์ทีจึงตัดสินใจเดินหน้า

กรณีนี้จะต้องพิจารณา 2 จุด หนึ่ง-ก่อนจะมีการ "การแข่งขันที่คาดไม่ถึง" จากจีทีดี. "เอทีแอนด์ทีถือว่าโครงการนี้เป็นหัวหอกในการเข้าร่วมกับองค์การโทรศัพท์ฯ ซึ่งมีโครงการพัฒนาสื่อสารอีกมาก อาทิโครงการขยายเลขหมายประมาณ 1 ล้านเลขหมาย และได้รับการยืนยันจากเสี่ยหว่างในทำนองว่าเมื่ออำนาจในองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่เปลี่ยนแปลง เอทีแอนด์ทีก็มีโอกาสมากกว่าใคร ๆ" แหล่งข่าวเชื่อเช่นนั้น

งานนี้ เอทีแอนด์ที "แทงม้าตัวเดียว" ด้วยความเชื่อมั่นอย่างสูง

สอง-เมื่อจีทีดี. สอดตัวเข้ามาในธุรกิจสมุดหน้าเหลืองในเงื่อนไขไม่ปกติ เอทีแอนด์ทีก็ได้รับการยืนยันจากผู้บริหารองค์การโทรศัพท์ฯ ว่าสามารถแก้ปัญหาได้

ข่าวว่าการที่เอทีแอนด์ทีเลื่อนการลงนามสัญาจัดพิมพ์สมุดหน้าเหลืองออกไปหายเดือน ก็เพราะต้องการให้แก้สัญญาโดยเพิ่มข้อความเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไว้ แต่กรมอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าทำไม่ได้ "แต่ผู้บริหารระดับสูงของเอทีแอนด์ทีได้รับสัญญาสุภาพบุรุษ จากพลเอกอาทิตย์ประธานองค์การโทรศัพท์ฯ และหนังสือยืนยันจากพลตรีประทีป ชัยปรานี ผอ. ว่าจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่" แหล่งข่าวจากเอทีแอนด์ทีกล่าว และขยายความ ความช่วยเหลือที่จะได้รับคือการผลักดัน จีทีดี. ให้พ้นทาง

"หลังจากเซ็นสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 AT&T ก็ได้ตั้งบริษัท ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัทแม่ 100% ในนามของ AT&T Directories (Thailand) ข้อมูลจากเอทีแอนด์ทีกล่าว

"ผู้บริหารเอทีแอนด์ทีที่ยังได้รับคำมั่นสัญญาจากเสี่ยหว่าง แห่งศรีกรุงวัฒนากรุ๊ปจะเข้าถือหุ้นในบริษัทนี้ 25% เพื่อสร้างความมั่นใจแก่เอทีแอนด์ทีอีกส่วนหนึ่ง" เรื่องนี้ ประเสริฐ ตั้งทรงศักดิ์ รองประธานศรีกรุงวัฒนากรุ๊ปในฐานะรับผิดชอบโครงการดังกล่าว ก็เคยยืนยันว่าจริง

ในห้วงเวลานั้น เอทีแอนด์ทีเชื่อมือสว่าง เลาหทัย และเชื่อใน "อำนาจ" ของพลเอกอาทิตย์!!!

ช่วงครึ่งแรกของปี 2528 วงการธุรกิจตื่นเต้นอย่างมากกับบทบาทของเอทีแอนด์ทีเข้ามาโลดแล่นอย่างครึกโครมและเป็นที่ครั่นคร้ามไปทั่ว หลังจากซุ่มเงียบศึกษาลู่ทางในประเทศไทยประมาณ 4 ปี

เดือนมกราคม ชนะประมูลรับลิขสิทธิ์จัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์โดยเสนอผลประโยชน์จำนวนมาก ทิ้งคู่แข่งชนิดไม่เห็นฝุ่น

ต้นเดือนกุมภาพันธ์เอทีแอนด์ทีเปิดประชุมลับและยิ่งใหญ่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ลอันเป็นการประชุมคณะที่ปรึกษาภาคเอเชีย-แปซิฟิค ซ้ำประกอบด้วย ผู้ยิ่งใหญ่ในภาคธุรกิจเอกชน อาทิ เซอร์ วาย เค เปา อภิมหาเศรษฐีราชาเดินเรือฮ่องกง โยชิโช อิเดต้า อดีตประธานมิตซุย ดร. อำนวย วีรวรรณ เป็นต้น

มีนาคม เอทีแอนด์ทีประกาศหาผู้แทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ (รุ่นเทคโนโลยีสูง) รุ่น UNIX ในประเทศไทย ศรีกรุงวัฒนาของสว่าง เลาหทัย คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนในเครือสหยูเนี่ยนที่ ดร. อำนวย วีรวรรณ (ที่ปรึกษาเอทีแอนด์ที อินเตอร์เนชั่นแนล) เป็นประธาน ล็อกซเล่ย์ ของคุณหญิงชัชนี จาติกวนิชย์ และอื่น ๆ รุมทึ้งกันเป็นการใหญ่ ในขณะเดียวกันข่าวนี้ทำให้ผู้แทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ค่ายอื่น ๆ สั่นสะท้าน

9 มีนาคม สมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์ EPCOC ที่เมืองออรัลโด รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา อันเป็นสำนักงานใหญ่ของเอทีแอนด์ที ทีวีทหารช่อง 5 ของไทยออกข่าวอย่างเอาจริงเอาจัง

กลางเดือนพฤษภาคม บริษัทเบลล์ คานาดา อินเตอร์เนชั่นแนล (บริษัทในเครือเอทีแอนด์ทีที่คานาดา) หอบโครงการสวยหรูเข้าไทย เรียกว่าโครงการเทเลสตาร์เสนอสร้างโทรศัพท์สายเสริม 130,000 เลขหมาย รูปแบบร่วมทุนกับองค์การโทรศัพท์ การสื่อสาร และเอกชนไทย ฮือฮากันไปพักใหญ่ โดยเฉพาะวงการธนาคาร เบลล์คานาดาฯ เสนอจ่ายค่าสิทธิ์ในการดำเนินงานแก่รัฐถึง 2300 ล้านบาท (ในเวลา 5 ปี) ส่งผลให้มีการเสนอแก้พระราชบัญัติให้เอกชนร่วมทุนในกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นของรัฐมาตลอดได้

ต้นปี 2529 เอทีแอนด์ทีเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เขา "ยึดมั่น" มาตลอดนั้นสั่นคลอน

เข้าทำนอง "สิ่งที่หวังก็สิ้นหวัง สิ่งที่มีอยู่ก็จะหลุดลอย และเจาะจงธุรกิจที่ได้มาจากยุทธวิธีที่ 1 เสียด้วย

โครงการพัฒนาโทรศัพท์อีก 9 แสนเลขหมายตามโรงการ 2527-2531 ขององค์การโทรศัพท์ฯ เอทีแอนด์ทีหมายมั่นปั้นมือจะร่วมวงไพบูลย์ด้วยนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ติดปัญหาเงินกู้จากธนาคารโลกซึ่งกระทรวงการคลังแสดงท่าทีไม่เห็นด้วย จนในที่สุดเมื่อปลายปี 2528 โครงการนี้ต้องเลื่อนออกไป

ที่สำคัญโครงการโทรศัพท์สายเสริมเพื่อธุรกิจที่เอทีแอนด์ที (หมายถึงเบลล์ คานาดาฯ) บุกทะลวงมาอีกสาย ผ่ามาทางชีระ ภานุพงศ์ รองเลขาบีโอไอ. (อีกคน) และสมัคร สุนทรเวช รมต. คมนาคม "หน่วยงานที่ขานรับดีมากก็ได้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ นั่นเองเท่านั้น" ผู้สังเกตการณ์บอก

ก็สามารถยืนยันได้จากปากของประทีป ชัยปานี รักษาการผู้อำนวยการฯ ที่ว่าโดยหลักการที่เอกชนจะ "ร่วมทุน" กับองค์กรโทรศัพท์ฯ นั้นคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่เห็นด้วย แต่ในทางปฏิบัติต้องผ่านขั้นตอนทางนิติบัญญัติอีกมาก ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ เกี่ยวข้องไม่ยอมแสดงความเห็นอะไร

"ที่จริงก็น่าเห็นใจเขา (หมายถึงเบลล์) เหมือนกันลงทุนศึกษาใช้เงินไปนับล้านบาท แต่พอเสนอโครงการมาจริง ๆ ก็คนคนที่ชี้ขาดว่าจะเอาหรือไม่ไม่ได้ ปัดกันไปปัดกันมา" เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์การโทรศัพท์ฯ คนหนึ่งบอก "ผู้จัดการ"

"เรื่องนี้เรามองกันว่าดี ถ้าทำได้ แต่ถ้ามีอุปสรรคมากไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไร แต่สำหรับเอทีแอนด์ทีถือว่าเรื่องนี้สำคัญ คือถ้าหากโครงการนี้ผ่านก็เท่ากับเขาสามารถแทรกตัวเข้าในกิจการโทรคมนาคมอย่างเต็มตัว เช่นเดียวกับที่เขาดำเนินการมาแล้วในภูมิภาคนี้หลายประเทศ" แหล่งข่าวคนเดิมขยายความ

เช่น ในเกาหลีใต้ร่วมทุนกับ LUCKY GOLDSTAR, ในไต้หวัน ร่วมทุนกับริษัท 3 แห่ง ตั้ง TAIWAN TELECOMMUNICATION, และล่าสุดจะร่วมทุน 3 ประเทศ ฮ่องกง เกาหลี และญี่ปุ่น สร้างสายเคเบิลใต้สมุทร

ปัจจุบันแม้ว่าจะไม่มีใครตอบคำถามให้เอทีแอนด์ทีแน่ใจว่าโครงการนี้จะเอากันอย่างไร แต่ก็พอจะคาดหวังได้ว่าสิ่งที่ลงแรงมาแต่ต้นคงจะเหนื่อยเปล่า

คนที่เอทีแอนด์ทีเชื่อถือในความสามารถและอำนาจก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย

"ความเชื่อที่ว่าประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยเมื่อเข้าถูกเส้นสายของผู้มำอำนาจแล้ว ทุกอย่างจะเดินไปอย่างสะดวกนั้นไม่จริงทั้งหมด ยิ่งโครงการใหญ่ของเอทีแอนด์ทีที่ต้องผ่านการพิจารณาหลายฝ่ายด้วยแล้วเชื่อนมกินได้ว่าไม่มีใครแต่เพียงผู้เดียวชี้ขาด" ผู้รู้ชี้ "จุดพลาด" ของเอทีแอนด์ที

ข่าวการเมืองที่ผู้บริหารเอทีแอนด์ทีให้ความสำคัญมาก คือการต่ออายุราชการของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ในที่สุดก็หาคำตอบแน่นอนจากเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วทั้งยังได้รับการยืนยัน (อีกครั้ง) จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 (พลเอกอาทิตย์พ้นตำแหน่ง ผบ. ทบ.)

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น "ดัชนี" ถึงอนาคตโครงการทั้งหลายในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ "สมุดหน้าเหลือง" ที่ทนซื้อเวลามานานพอสมควรโดยหวังว่าอุปสรรคที่มีจะคลี่คลาย

เอาเข้าจริงเรื่องที่นับว่าง่ายที่สุด ก็ช่วยอะไรไม่ได้!

หลังจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2529 เพียง 2 สัปดาห์เอทีแอนด์ทีไดเร็คทอรี่ (ประเทศไทย) จึงประกาศปิดกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 1 สัปดาห์

โครงการนี้เอทีแอนด์ทียึดถือตามนโยบายมองไปข้างหน้าหลายปี มิได้มองเฉพาะธุรกิจของตัวโครงการประการเดียว เมื่อเป้าหมายในอนาคตเลือนลาง ก็ต้องกลับมาทบทวนโครงการที่ดำเนินอยู่ปัจจุบันก็พบว่า

1. ความไม่พร้อมของเอทีแอนด์ทีส่งผลให้โคงการจัดพิมพ์สมุดหน้าเหลืองเลื่อนออกไป จึงเหลือเวลาน้อยในการทำงาน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจซบเซาย่อมกระทบต่อยอดโฆษณาสินค้าในสมุดหน้าเหลืองอย่างเลี่ยงไม่พ้น

2. คู่แข่งที่ไม่น่าจะมีอย่าง จีทีดี. เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด หากมี จีทีดี. แล้ว เอทีแอนด์ทีย่อมไม่มีทางดำเนินธุรกิจนี้อย่างมีกำไรซึ่งพอจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์จำนวนมากได้ เพราะนอกจาก จีทีดี. จะลงทุนต่อเนื่องมาถึง 18 ปีที่ไม่ต้องลงทุนครั้งแรกด้วยเงินก้อนใหญ่เช่นเอทีแอนด์ทีทั้งด้านอุปกรณ์และการตลาดอีกแล้ว อีกประการหนึ่ง จีทีดี. ก็ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แม้แต่บาทเดียวแก่องค์การโทรศัพท์ฯ

องค์การโทรศัพท์ฯ และเอทีแอนด์ทีพยายาม "ดีด" จีทีดี. ให้หลุดพ้นวงจรธุรกิจนี้ด้วยแง่กฎหมาย จนแล้วจนรอดก็หาปมไม่พบ

"ในแง่กฎหมายเราจะมีปัญหาไม่ได้ องค์การโทรศัพท์ฯ มอบหมายรายชื่อของผู้เช่ารายใหม่ให้ผู้ประมูลแต่เพียงผู้เดียว ส่วนสมุดโทรศัพท์นั้นไม่มีลิขสิทธิ์เพราะว่าการทำหนังสือนั้นเป็นข่าวสารข้อมูล จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไม่ได้" ผู้บริหาร จีทีดี. ยืนยันกับ "ผู้จัดการ"

จีทีดี. อ้างว่าได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์คำว่า "เยลโล่เพจเจส" และเครื่องหมายนิ้วเดินได้กับกระทรวงพาณิชย์ ส่วนหัวหนังสือ "สมุดธุรกิจ" ก็ได้ขออนุญาตต่อสันติบาลเรียบร้อยเช่นกัน

จีทีดี. เป็นกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ การเดินหมากในประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทยย่อมมีการศึกษาข้อมูลมาแล้วอย่างดี "ทีมทนายของ จีทีดี. ศึกษาปัญหาข้อกฎหมายในเมืองไทยอย่างละเอียดถี่ถ้วนตลอดจนมีประสบการณ์ทางธุรกิจและเข้าใจปัญหาอำนาจในไทยมาเกือบ 20 ปี จึงไม่ผลีผลามเช่นเอทีแอนด์ทีแน่" ผู้อยู่วงนอกที่ติดตามเรื่องนี้คนหนึ่งสรุปความเห็นของตน

มร. แอนเดอร์สัน กรรมการผู้จัดการ จีทีดี. กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าปี 2529 สามารถทำยอดโฆษณาครบตามเป้าที่วางไว้คือ 170 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับปีที่แล้วทำได้ถึง 232 ล้านบาทก็นับว่าตกลงไปมาก เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยทั่วไป หาได้เกี่ยวกับการมาของเอทีแอนด์ทีไม่

"การที่เอทีแอนด์ทีหยุดกิจการ 1 สัปดาห์นั้นหาสาเหตุที่แท้จริงคือการต่อรองกับองค์การโทรศัพท์ฯ ให้ลดเงื่อนไขเกี่ยวกับจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ มากกว่าจะผลักดันให้ จีทีดี. พ้นทาง ซึ่งคิดว่าโอกาสที่ดีเช่นปัจจุบันเหลือไม่มากแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

ก่อนที่ผู้มีอำนาจในองค์การโทรศัพท์ฯ ปัจจุบันพ้นตำแหน่ง

ขณะเดียวกันก็ดำเนินแผน "ต่อรอง" สว่าง เลาหทัย แห่งศรีกรุงวัฒนากรุ๊ปในฐานะผู้ชักนำให้เข้ามามีส่วนรับผิดชอบในสิ่งที่ก่อนร่วมกัน ว่ากันว่าผู้บริหารเอทีแอนด์ทีรู้สึกผิดหวังต่อ "เพื่อนธุรกิจ" กลุ่มนี้ไม่น้อยรวมไปถึงการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ขัดกันเอง "ที่เคยว่าจะลงขันร่วมทุนในกิจการสมุดโทรศัพท์ 25% ก็บ่ายเบี่ยงมาตลอด"

รายงานที่ยืนยันความเห็นข้างต้นก็คือการที่เอทีแอนด์ทีเสนอให้ศรีกรุงวัฒนากรุ๊ปเข้ามา TAKE OVER กิจการจัดพิมพ์สมุดโทรศัพท์ (AT&T Directories (Thailand))

เอทีแอนด์ทีลงทุนระยะยาวด้านอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับโครงการนี้ประมาณ 200 ล้านบาท ในขณะที่ยอดขายโฆษณาได้เพียง 30% ของเป้า

"ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้น AT&T ได้แสดงให้เห็นชัดถึงความตั้งใจจริงระยะยาวที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมในอนาคต โดยการนำสินค้า AT&T SYSTEMS และ OFFICE AUTOMATION เข้าสู่ตลาดเมืองไทย" โจเซฟ ฮาร์ต กล่าวไว้

"ผู้จัดการ" เชื่อมั่น เช่นนั้นต่อไป โดยมีเงื่อนไขต้องปรับยุทธวิธีครั้งใหญ่!!

จากสิ่งที่แสดงออกมาจากกรณี "สมุดหน้าเหลือง" มิได้ส่อแสดงว่าเอทีแอนด์ทีจะถอนตัวออกจากธุรกิจนี้ในเมืองไทย "ถึงที่สุดบางทีก็จะต้องทำแบบ จีทีดี. บ้าง" บางคนคาด

เอทีแอนด์ทีก็ยังมีกิจการอื่นในประเทศ ห่อนหน้าที่ธุรกิจ "สมุดหน้าเหลือง" จะหยุดกิจการชั่วคราวนั้น เอทีแอนด์ทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ได้ออกมาแถลงข่าวค่อนข้างครึกโครมถึงการขยายงานด้วยการลงทุนอีกประมาณ 240 ล้านบาท ผลิตไอซี Intregrate circuit) ที่นวนคร

สิงที่เอทีแอนด์ทีต้องทบทวนคือ CONCEPT ในการดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยซึ่งก่อผลในทางยุทธวิธี "ผิดพลาด" ครั้งใหญ่

หากเปรียบเทียบกับ "ความผิดพลาด" ที่สหรัฐแล้ว ที่ประเทศไทยถือว่าเล็กน้อยมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us