Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2529
เส้นทางวิทยาคม 40 ปี คือธุรกิจและบารมี อบ วสุรัตน์             
 


   
search resources

Home and Office Appliances
อบ วสุรัตน์
วิทยาคม




นาน ๆ โรงแรมระดับห้าดาวอย่างรอยัล ออคิด เชอราตัน จะเปิดห้องบอลรูมเต็มขนาดต้อนรับผู้คนหลากหลายระดับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งสักครั้ง ซึ่งดูไม่แตกต่างจากวันปิดงานแสดงสินค้าที่เคยเฟื่องฟูมาก ๆ มาระยะหนึ่งเท่าใดนัก

จะผิดแผกก็ตรงที่ปลายทางงานนี้อยู่ที่ COCKTAIL RECEPTION เหมือน ๆ งานฉลองธุรกิจทั่ว ๆ ไป

ผู้มาร่วมงาน มีตั้งแต่อดีตประธานรัฐสภา รัฐมนตรี นายธนาคารใหญ่ พ่อค้าเบิ้ม ๆ นักอุตสาหกรรมจนถึงครูและข้าราชการตัวเล็ก ๆ ทำหน้าที่จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์…

วันนั้นคือค่ำของวันที่ 17 มิถุนายน 2529

นับย้อนจากวันนั้นไป 40 ปีเต็มพอดี คือวันที่บริษัทวิทยาคมกำเนิดขึ้น โดยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องพิมพ์ดีดเรมิงตัน ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานในเมืองไทยจนถึงวันนี้ประมาณ 80 ปีแล้ว

ทว่าเครื่องพิมพ์ดีดเรมิงตันได้ค่อย ๆ กลืนและเลือนไปกับกาลเวลา พร้อม ๆ กับการเติบโตของธุรกิจที่ก้าวไปสู่ความสลับซับซ้อนมากขึ้น

ขณะเดียวกันผู้ก่อตั้งบริษัทวิทยาคมค่อย ๆ เปิดตัว เป็นที่รู้จักและยอมรับจากวงการต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน เป็น "ดาวค้างฟ้า" ของวงการธุรกิจและการเมือง

เขาคือ อบ วสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตประธานสภาหอการค้า และอดีตตำแหน่งผู้มีบารมีอีกหลายตำแหน่ง…

เมื่อก่อนเครื่องพิมพ์ดีดเรมิงตันมีคนรู้จักมากกว่า อบ วสุรัตน์ แต่ปัจจุบันเขากลับโด่งดังมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีดเรมิงตันและวิทยาคม

มีหลายคนที่ไม่รู้ว่า อบ วสุรัตน์ มีอดีตและปัจจุบันอันลึกซึ้งกับบริษัทวิทยาคม

แต่บางคนก็รู้ว่า วิทยาคม คือสมบัติชิ้นสุดท้ายของ อบ วสุรัตน์ ที่เหลืออยู่

เวลาประมาณ 18.30 น. งานฉลองครบรอบ 40 ปีของบริษัทวิทยาคมเปิดขึ้นอย่างเอิกเกริก แขกคลาคล่ำเบียดเสียดกันชมนิทรรศการแสดงสินค้าของวิทยาคมที่ทางบริษัทลงทุนยกเครื่องไม้เครื่องมือมาโชว์มาแสดงให้ดู โดยมีผู้บรรยายประกอบ ตั้งแต่เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เครื่องเอ็กซเรย์ คอมพิวเตอร์ควบคุมโรงงาน ฯลฯ

กว่าจะฝ่ามาถึงห้องเลี้ยงรับรองก็หิวได้ที่พอดี

นับเป็นงานที่ค่อนข้างมีลักษณะมวลชนและแปลกกว่างานอื่น ๆ เป็นงานฉลองครบรอบ 40 ปีที่แฝงด้วยสีสันธุรกิจ มีเป้าหมายการตลาดไปสู่ลูกค้าระดับกว้างจริง ๆ

ใจกลางของงานเริ่มจริง ๆ ประมาณเวลา 19.00 น. ด้วยการปูพื้นด้วยบรรยากาศแบบไทย ๆ -รำไทยอวยพรกลมกลืนไปกับกลิ่นวิสกี้ บรั่นดี เครื่องแต่งกายหลากสีสันกับเฟอร์นิเจอร์แวววาว

พิธีทางการเริ่มต้นเมื่อพลโทผ่อง มีคุณเอี่ยม ประธานกรรมการบริษัทวิทยาคมขึ้นเวทีกล่าวเปิดงาน ตามด้วย อบ วสุรัตน์ ผู้ก่อตั้ง ซึ่งปัจจุบันไม่มีตำแหน่งอะไรในบริษัทถูกลูกสาวจูงขึ้นเวทีรำลึกความหลังครั้งก่อตั้งบริษัท พิธีอย่างเป็นทางการเป็นงานปิดท้ายด้วย อุปจิต วสุรัตน์ บุตรชายคนโตของอบ ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการขึ้นเวทีวาดแผนในอนาคตของวิทยาคมให้แขกในงาน (ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า) ฟังกัน

งานนี้ ลลนา วาสนาส่ง ลูกสาวคนสวยของพิชัย วาสนาส่ง โฆษกทีวีอาวุโสทำหน้าที่ดำเนินรายการ และพากษ์เป็นภาษาอังกฤษให้แขกชาวต่างชาติที่มางานจำนวนนับสิบรู้เรื่องด้วย

ว่ากันว่าแขกวันนี้นับเป็นจำนวนพันคน ผู้ที่รุมล้อมและเป็นศูนย์กลางก็คือบุรุษสายตาไม่ดี อบ วสุรัตน์ นั่นเอง

ล่วงเลยเวลา 2 ทุ่มผู้คนเริ่มทยอยออกจากงาน พร้อม ๆ กับการรับแจกหนังสือ "40 ปีบริษัทวิทยาคม จำกัด" ติดไม้ติดมือกลับไปอ่านที่บ้าน

หนังสือเล่มนี้หนาประมาณ 100 หน้า พิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดี เรื่องราวชักนำให้ผู้อ่านรู้จักความเป็นมาของบริษัทวิทยาคม ความดีของหนังสือเล่มนี้มีอยู่ตอนแรก ๆ ที่กล่าวถึง Dr. H McFarland มิชชั่นนารีผู้สร้างประโยชน์แก่สังคมไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4

ผู้ที่เรียนประวัติศาสตร์ก็คงพอจะจำกันได้ว่าเขาคือผู้นำพิมพ์ดีดเครื่องแรกมาใช้ในประเทศไทย และเป็นผู้หนึ่งที่พัฒนาเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเป็นเครื่องแรกด้วย

ต่อมาเขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระอาจวิทยาคม ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทวิทยาคม นั่นเอง

จุดเน้นอีกจุดหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือบทบาทของอบ วสุรัตน์ ที่คนเขียนพยายามหาจุดมายกย่องชมเชยค่อนข้างจงใจ แต่กลับไม่ได้ให้รายละเอียดมากนักเกี่ยวกับบริษัทนี้ เพียงแต่วาดภาพคร่าว ๆ สั้น ๆ เกี่ยวกับการเพิ่มตัวสินค้า การขยายตัวทางธุรกิจเพียงด้านเดียว

น่าเสียดายที่บริษัทวิทยาคมอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งสมควรจะนำข้อมูลมาเผยแพร่ได้มากกว่านี้ ในแง่มุมต่าง ๆ (อย่างที่ "ผู้จัดการ" เขียนมาหลายเรื่อง)

หนังสือเล่มนี้พิมพ์สองภาษาทั้งไทยและอังกฤษ อ่านไปอ่านมาก็ชักสงสัยว่าต้นฉบับแปลจากภาษาไทยหรือแปลจากภาษาอังกฤษกันแน่!

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องชมเชยกันว่าบริษัทที่มีประวัติเก่าแก่อย่างวิทยาคมนี้ ให้ความสำคัญในการบันทึกเรื่องราวไว้ให้อนุชนรุ่นหลังศึกษาพอประมาณ โดยปกติแล้วธุรกิจในบ้านเราไม่ค่อยจะนิยมทำกัน--ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุอันใด?

งานฉลองครบรอบ 40 ปีของวิทยาคมจบไปแล้ว เสียงผู้คนพูดคุยอึงคนึงยังคงก้องอยู่ในความทรงจำของ อบ วสุรัตน์ ผู้ก่อตั้งและปลุกปั้นบริษัทนี้ แม้ร่างกายของเขาจะไม่แงแรงนัก แต่ทางเดินของความเป็นนักธุรกิจผู้ยิ่งยงคนหนึ่ง นักการเมืองผู้คร่ำหวอดคนหนึ่ง เขาก็ควรภาคภูมิใจ เพราะจำนวนและบุคคลที่มางานนี้ย่อมแสดงถึงบารมีที่มีอยู่ของเขา

หนังสือ 40 ปีวิทยาคม…พูดถึงเขาอย่างชื่นชม เรื่องราวของบริษัทนี้ถูกบันทึกเป็นประวัติส่วนหนึ่งของชีวิตเขา แม้ว่าทุกวันนี้บริษัทนี้จะต้องประสบมรสุมทางธุรกิจบ้าง คือขาดทุนครั้งแรกในรอบ 40 ปี หนักหนาพอประมาณตั้งแต่ปี 2527 (อายุ 39 ปี) แม้ไตรมาสแรกของปี 2529 จะมีกำไรบ้าง (1.023 ล้านบาท) ก็หาใช่ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตลอดไปไม่ สัญญาณเหล่านี้บ่งชี้ว่าประวัติศาสตร์หน้าต่อไปของวิทยาคม ซึ่งเขาไม่ได้เขียนนั้นจะต้องดำเนินให้ดีและใช้ความระมัดระวัง

ลูก ๆ ของเขาในฐานะผู้สืบทอดจะต้องทำงานกันด้วยสติปัญญาทั้งมวล มิฉะนั้น อบ วสุรัตน์ คงไม่สบายใจในบั้นปลายชีวิตเป็นแน่ เพราะวิทยาคมคือส่วนหนึ่งของชีวิต อบ วสุรัตน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us