สสว.คาดปี 53 ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ท่องเที่ยว ค้าปลีก โลจิสติก บูม รับตลาดในประเทศนอกประเทศฟื้นตัว แนะเกาะกระแสเปิดเสรีลุยเจาะเพื่อนบ้าน มั่นใจจะมีธุรกิจเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นราย พร้อมจับมือผู้ว่าราชการจังหวัด เพิ่มผู้ประกอบการใหม่ไม่ตำกว่าจังหวัดละ 1 พันราย ระบุ เปิดตัวเดือนแรกแรง ธุรกิจใหม่เพิ่ม 40% รับภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
ปี 53"ค้าปลีก-ท่องเที่ยว-โลจิสติกส์"รุ่ง
ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนายการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า ธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งในปีนี้ จะมีประเภทใหญ่ๆ 2 ประเทภได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะขยายตัวได้ดีตามตลาดโลกที่คาดว่าจะขยายตัวเพื่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนธุรกิจทีที่พึ่งพาตลาดในประเทศ อย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหาร การท่องเที่ยว สปา จะขยายตัวได้ดีขึ้น ตามการใช้จ่ายของประชาชนที่มีมากขึ้น
นอกจากนี้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรรมชาติและทรัพยากร เช่น ธุรกิจเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ จะได้รับอานิสงค์จากกระแสอนุรักษ์ของโลก เนื่องจากไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตจากธรรมชาติ รวมทั้งอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ก็จะขยายตัวรองรับธุรกิจโฆษณาที่ฟื้นตัว ในขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนก็มีความโดดเด่น เนื่องจากมีการลงทุนต่ำและผลตอบแทนสูง สอดคล้องกับนโยบายการลดโลกร้อน และกระแสราคาน้ำมันที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าภาคธุรกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 3% และในปี 2554 จะขยายตัวได้ 6% และยอดการส่งออกของกลุ่ม เอสเอ็มอี จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจที่คาดว่าจะมีปัญหา ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กมีเงินลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท เนื่องจากเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ส่วนธุรกิจที่ใช้เงินทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปพอมีศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันและภาวะการเมืองภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ถ้าตลาดโลกขยายตัวตามเป้าหมาย การเมืองไม่มีความรุนแรง ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยที่พึ่งพาตลาดส่งออกจะต้องแสวงหาโอกาสและใช้ ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกรอบต่างๆให้มากที่สุด โดยเฉพาะในกรอบอาเซียนเพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ตัวมากที่สุด ซึ่งสะดวกทั้งการส่งออก และนำเข้าวัตถุดิบภายใต้อัตราภาษี 0%
สสว.คาดธุรกิจเกิดใหม่ 6 หมื่นราย
ส่วนการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในปีนี้ คาดว่าจะมีธุรกิจเกิดใหม่ประมาณ 5-6 หมื่นราย และในปี 2554 จะเพิ่มขึ้นอีก 6 หมื่นราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจบริการมีสัดส่;นประมาณ 60% และภาคการผลิต 30% เนื่องจากธุรกิจบริการจะเกิดได้ง่ายกว่า ซึ่งธุรกิจที่เกิดใหม่นี้คาดว่าจะมีอัตราอยู่รอดประมาณ 20% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่น้อย แต่เมื่อเทียบกับทั้งโลกแล้ว อัตราการอยู่รอดของผู้ประกอบการไทยยังถือได้ว่าสูงกว่าหลายประเทศติดอยู่ใน กลุ่ม 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งสาเหตุมากจากผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ 70-80% ใช้เงินทุนของตัวเองในการก่อร่างสร้างธุรกิจ ดังนั้นจึงจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ธุรกิจตัวเองอยู่รอด นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะร่วมมือกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัดส่งเสริมให้มี ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น โดยตั้งเป้าจะมีธุรกิจเกิดใหม่จังหวัดละ 1 พันราย ซึ่งขณะนี้ได้มีจังหวัดนำร่องแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ ของแก่น เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ตราด และสตูล
ปี 52" รับเหมาก่อสร้าง-อสังหาฯ"โตสุด
สำหรับในปีที่ผ่านมา มีผู้ยื่นขอจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 41,243 ราย หรือเฉลี่ยแล้วเดือนละ 3,437 ราย ลดลงจากปี 2551 ที่มีจำนวนธุรกิจเกิดใหม่ทั้งสิ้น 42,776 ราย หรือเฉลี่ยนเดือนละ 3,565 ราย โดยธุรกิจที่มียอดจดทะเบียนก่อตั้งสูงที่สุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 4,581 ราย อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นการซื้อขายให้เช่าอาคาร การพัฒนาและจัดสรรที่ดิน มีจำนวน 2,193 ราย บริการด้านธุรกิจอื่นๆ 1,662 ราย บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและการจัดการ 1,199 ราย การขายส่งวัสดุก่อสร้าง 1,118 ราย การขายส่งเครื่องจักรและเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ 1,105 ราย ตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว 1,013 ราย การขายส่งสินค้าทางและเวชภัณฑ์ เภสัชกรรม 932 ราย การขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 860 ราย และธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม 823 ราย
โดยธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่มีทุนจำทะเบียนทั้งสิ้น 154,374.33 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 มากถึง 68,737 ล้านบาท ซึ่งธุรกิจที่เกิดใหม่ส่วนใหญ่จะมีทุนจดทะเบียน 1-4.9 ล้านบาท มีจำนวน 30,416 ราย รองลงมาเป็นทุนจดทะเบียน น้อยกว่า 1 ล้าน7,957 ราย ทุนจดทะเบียน 5-9.9 ล้านบาท 1,651 ราย ทุนจดทะเบียน 10-49.9 ล้านบาท 864 ราย ทุนจดทะเบียน 100-499.9 ล้านบาท 170 ราย ทุนจดทะเบียน 50-99.9 ล้านบาท 125 ราย และทุนจดทะเบียนมากกว่า 500 ล้านบาท 37 ราย ทังนี้หากแบ่งแยกเป็นภูมิภาค กรุงเทพฯจะมียอดจะทะเบียนก่อตั้งมากที่สุด 16,719 ราย ภาคกลาง 8,762 ราย ภาคภาคตะวันออก 4,257 ราย ภาคใต้ 4,239 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,241 ราย ภาคเหนือ 2,995 ราย และภาคตะวันตกมีน้อยที่สุด 1,007 ราย
ม.ค.เปิดตัวแรงธุรกิจเกิดใหม่เพิ่ม 40%
สำหรับสถิติการเปิดกิจการในเดือนแรกของปีนี้ มีจำนวน 4,644 ราย สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 3,305 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึง 40.5% โดยธุรกิจที่ก่อตั้งมากที่สุดได้แก่ รับเหมาก่อสร้าง 482 ราย รองลงมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ 259 ราย บริการด้านธุรกิจอื่นๆ 208 ราย บริการนันทนาการอื่นๆ 198 ราย การขายส่งเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ 178 ราย บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและการจัดการ 130 ราย ตัวแทนท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว 114 ราย การขายส่งสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ 102 ราย การขายส่งวัสดุก่อสร้าง 99 ราย และการขายส่งสิน้าหลายชนิด 96 ราย
ส่วนธุรกิจที่เลิกกิจการในปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,073 ราย หรือเฉลี่ยเลิกกิจการเดือนละ 1,423 ราย สูงกว่าปี 2551 ที่มียอดจดทะเบียนเลิกกิจการ 16,580 ราย โดยธุรกิจที่ปิดกิจการมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 1,739 รายอสังหาริมทรัพย์ 749 ราย บริการด้านธุรกิจอื่นๆ 605 ราย การขายส่งเคื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 382 ราย ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว 282 ราย การขายส่งวัสดุก่อสร้าง 280 ราย การขายส่งเครื่องจักรและเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ 278 ราย การขายส่งเคมีภัณฑ์ 262 ราย ภัตตาคาร ร้านขายอาหาร 262 ราย และบริการโฆษณา 251 ราย
|