Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์15 มีนาคม 543
ผ่าธุรกิจเตรียมพังพาบ หลัง อี-รีดเดอร์ ลุยเต็มสูบ             
 


   
search resources

Printing & Publishing




เมื่อราวเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าธุรกิจหนังสือ หรือสำนักพิมพ์ในปีนี้จะมีตัวเลขการเติบโตที่ 4% ด้วยมูลค่าประมาณ 1.96 หมื่นล้านบาท ดีกว่าปีที่แล้วที่เติบโตเพียง 1% อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจ และการเมืองที่ยังร้อนๆหนาวๆ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ธุรกิจนี้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 10%

ปัจจุบันคนไทยแต่ละคนใช้เงินซื้อหนังสือในแต่ละปีอยู่ที่ 296.55 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่ใช้เงิน 293.42 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งยังถือว่าน้อยมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.22% เมื่อเทียบกับรายได้ต่อหัว

แต่เชื่อว่าในอนาคตหากจำนวนร้านหนังสือมีมากขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถรองรับหนังสือใหม่ๆ ได้มากขึ้น ตลอดจนหากค่าเช่าร้านถูกลง และเทคโนโลยีเกี่ยวกับธุรกิจหนังสือที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีราคาถูกลง ก็น่าจะทำให้ปริมาณการอ่านหนังสือมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และกระจายตัวไปมากกว่านี้ แต่สัดส่วนในการซื้อหนังสือที่เป็นกระดาษอาจลดลง เพราะทุกวันนี้จากความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จากยุคดั้งเดิมเข้าสู่โลกยุคดิจิตอลที่สามารถกดปุ่มเลือกสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายกระดาษสำหรับพิมพ์งานดิจิตอลกลายเป็นกิจการที่ โชคดีและทำเงินมหาศาลแบบตั้งตัวไม่ทัน และกลายเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตทางธุรกิจสูงที่สุดในอุตสาหกรรมกระดาษ ของโลกขณะนี้

ทั้งนี้ จากสถิติที่พบในต่างประเทศ พบว่าสัดส่วนทางการตลาดที่มาจากส่วนของธุรกิจกระดาษดิจิตอลสูงมากกว่า 90% ของธุรกิจกระดาษทุกประเภท และมีแนวโน้มที่จะทำเงินต่อไปได้อีกหลายปีต่อจากนี้

จากการสำรวจของ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ที่ศึกษาพฤติกรรมการรับข่าวของคนอเมริกันออกมาระบุว่า ออนไลน์ นิวส์ หรือข่าวบนอินเทอร์เน็ต ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทีวีข่าวท้องถิ่น และทีวีข่าวระดับประเทศ ส่วนการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มาเป็นอันดับ 5

จึงไม่แปลกที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับทั้งของอเมริกา หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่นจะหันมาเก็บเงินจากผู้อ่านบนเว็บ เพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปจากยอดขายหนังสือพิมพ์ และโฆษณาบนหน้ากระดาษที่หดหายไป และเชื่อว่าต่อไปบรรดาร้านหนังสือก็คงจะมีรายได้ลดลงอันเนื่องมาจากการเข้า มาของเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊ก รีดเดอร์ ที่กำลังปูพรมเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น คินเดิลของค่ายอะเมซอน, อี-รีดเดอร์ ของค่ายโซนี่ อีริคสัน หรือที่เพิ่งเปิดตัวใหม่หมาดๆ คือไอแพ็ดจากค่ายแอปเปิล ที่สามารถเข้าไปซื้อหาหนังสือที่ต้องการอ่านในรูปของไฟล์ดิจิตอล ทั้งในรูปแบบการสมัครสมาชิกหรือการซื้ออ่านเป็นเล่มอย่างที่ปรากฏในอะเมซอน กับเครื่องอ่านคินเดิล

การเข้ามาของบรรดาอีบุ๊ก รีดเดอร์ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบให้กับวงการหนังสือ ไม่ว่าสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ และอื่นๆ มากมาย เช่น กรณีร้านหนังสือที่น่าจะได้รับผลกระทบ ก็เพราะต่อไปนี้บรรดาผู้อ่านจะหันไปสมัครสมาชิก หรือซื้อหนังสือผ่านสำนักพิมพ์ แทนการเลือกเดินซื้อตามร้านหนังสือ เพราะการซื้อเป็นไฟล์ดิจิตอลน่าจะทำให้ราคาของหนังสือที่ต้องการอ่านลดลงไป มากเพราะไม่ต้องเสียค่ากระดาษ เสียค่าจัดจำหน่าย เสียค่าการตลาด และอื่นๆ อีกจิปาถะ หรือหากซื้อจากนักเขียนเองโดยตรงก็อาจไม่ต้องเสียค่าเปอร์เซ็นต์ที่ต้องแบ่ง ให้กับสำนักพิมพ์อีกต่างหาก

ทั้งนี้ เพราะดิจิตอลบุ๊ก ซิสเต็ม จะช่วยให้กิจการสิ่งพิมพ์และผู้เขียนที่ได้ลงทุนทางการเงินจำนวนมากทำงาน ง่ายขึ้น เพราะการประเมินผลความสำเร็จของธุรกิจหนังสือใหม่สามารถรับรู้ได้ Real Time เหมือนการขายข้าวแกง โดยปรกติเมื่อหนังสือออกวางตลาดแล้ว กว่าผู้ลงทุนหรือ สำนักพิมพ์จะสามารถตรวจสอบได้ว่ายอดขายดีมากน้อยขนาดไหนก็ต้องใช้เวลาไม่ น้อยกว่า 3-4 เดือน และเป็นยอดขายของ 2-3 เดือนก่อน ไม่ใช่ยอดขายปัจจุบันด้วย เนื่องจากร้านขายหนังสือต้องใช้เวลาในการบริหาร และประเมินระดับของสต๊อกหนังสือแต่ละเล่มที่วางจำหน่ายตามร้าน บุ๊กสโตร์ เมื่อรวมกับระยะเวลาในกระบวนการจัดพิมพ์ก็คงรวมๆ เข้าไป 6 เดือนโดยเฉลี่ย

ดังนั้น บรรดาสำนักพิมพ์ หรือร้านหนังสือที่ถือลิขสิทธิ์ในมืออยู่เป็นจำนวนมาก และมีเงินในการพัฒนาเทคโนโลยี จะเป็นผู้อยู่รอดในธุรกิจจัดจำหน่าย ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างกว้างขวาง และทั่วถึง

"พฤติกรรมของผู้อ่านก็เริ่มเปลี่ยนไป เริ่มมีการอ่านผ่านทางเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์แทนการซื้อเป็นรูปเล่มมากขึ้น โดยในแง่ของผู้ประกอบการเองก็ได้มีการพัฒนาเครื่องอ่านหนังสือขึ้นมารองรับ หรือที่เรียกกันว่า อีบุ๊ก รีดเดอร์ (eBook Reader) ซึ่งถึงแม้ในเวลานี้จะยังมีราคาที่สูงอยู่ แต่ในอนาคตหากมีราคาที่ปรับตัวลงจนผู้อ่านสามารถซื้อได้นั้น เชื่อว่าจะทำให้กระแสอีบุ๊กเติบโตขึ้นได้แน่ คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากนี้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ทางซีเอ็ดก็พร้อมในการพัฒนาเว็บไซต์ www.se-ed.com เพื่อเป็นศูนย์กลางการดาวน์โหลดหนังสือแน่นอน" ทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

แม้การเข้ามาของอีบุ๊กอาจจะสร้างภัยคุกคามให้กับร้านหนังสือ แต่อีกด้านหนึ่งอีบุ๊กอาจทำให้หนังสือใหม่ๆ ได้มีพื้นที่แสดงหน้าตา หน้าปกของตนเองมากขึ้น จากปัจจุบันประสบปัญหาการเข้ามาในระบบแทบทุกวันจนทำให้เกิดการสะสมหนังสือ ไว้ในร้าน หลายร้านแทบจะไม่มีที่วางโชว์ปก ได้แต่โชว์สันหนังสือแทน

อีกกิจการที่เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบก็คือ ร้านให้เช่าหนังสืออ่าน ซึ่งเป็นธุรกิจเก่าแก่ธุรกิจหนึ่งที่สามารถอยู่ยงคงกระพันในตลาดของทุก ประเทศมาหลายทศวรรษ แต่ตอนนี้เริ่มได้รับผลกระทบจากการรุกคืบของหนังสือดิจิตอลที่ทำท่าว่าจะคืบ คลานเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นทุกที เพราะทุกวันนี้กิจการสิ่งพิมพ์ด้วยดิจิตอล เป็นกิจการที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูงมากธุรกิจหนึ่ง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในระบบดิจิตอลนั่นเอง ที่เป็นเครื่องมือหลักในการสนับสนุนการปฏิรูปธุรกิจสิ่งพิมพ์ของโลก

แม้เรื่องนี้จะเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในต่างประเทศ แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งในอนาคต ภัยคุกคามนี้จะเข้ามาถึงเมืองไทยอย่างแน่นอน เพราะนักการตลาดทั้งหลายเชื่อว่าอีกไม่ช้าไม่นานอุปกรณ์อี-รีดเดอร์ จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่นักอ่านตัวยง ด้วยเหตุที่ว่า ประการแรก อะเมซอนสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการผลิตอุปกรณ์คินเดิลออกมาจำหน่ายไม่ทันความ ต้องการของตลาดได้แล้ว

ประการที่สอง ช่องทางการตลาดสำหรับการจำหน่ายคิน เดิลได้เพิ่มเติมออกไปอย่างกว้างขวาง จนน่าจะมีร้านจำหน่าย Kindle Store กระจายอย่างเพียงพอ ประการที่สาม ความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์ ที่มีการเปิดตัวเวอร์ชั่นของ Kindle 2 และ KindleDX น่าจะทำให้ลูกค้ากลุ่มอื่นมีทางเลือกในการซื้อหาอุปกรณ์คินเดิลได้มากขึ้น และประการที่สี่ ราคาของหนังสืออีบุ๊ก ที่อ่านผ่านอุปกรณ์คินเดิลต่ำกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษปกแข็งถึง 10-40% ทีเดียว จึงน่าจะเป็นแรงจูงใจต่อลูกค้าหนอนหนังสือได้ดีขึ้น เพราะวันนี้อะเมซอนได้รวบรวมหนังสือ แมกกาซีน และบล็อกอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเตรียมไว้ให้บริการแล้วกว่า 300,000 รายการ

ผลกระทบที่เป็นภัยคุกคามอีกประการต่อการเข้ามาของอีบุ๊กก็คือ ภายใต้เทคโนโลยีคินเดิล-ดิจิตอล แพลตฟอร์ม นักการตลาดเห็นว่าผู้ที่เขียนหนังสือแทบจะไม่ต้องพึ่งพาโรงพิมพ์อีกต่อไป เพราะเจ้าเทคโนโลยีที่ว่านี้จะทำหน้าที่แทนสำนักพิมพ์ได้แทบทั้งหมด แต่ดี กว่าโน้ตบุ๊กเพราะใช้ อีอิงก์ ที่อ่านตัวหนังสือบนหนังสือบนหน้าจอได้เหมือนอ่านจากกระดาษจริงๆ และยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เหมือนมือถือ จึงอ่านบล็อกหรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ได้ทุกเช้า และได้อ่านก่อนที่จะได้รับตัวหนังสือเป็นเล่ม

ปัจจุบันหากค้นหานักเขียนที่นำเสนอผลงานการเขียนของตนในตลาดอินเทอร์เน็ต แทนที่จะพิมพ์เป็นหนังสือกระดาษก่อนและจำหน่าย จะพบว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถือจำนวนหนึ่ง เป็นกอง หน้าหรือผู้บุกเบิกตลาดในลักษณะนี้กันบ้างแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น สตีเฟน คิง ผู้มีชื่อเสียงในงานเขียนซีรีส์ที่เรียกว่า The Plant บนเว็บไซต์ เรียกเก็บค่าบริการอ่านหนังสือจากลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกของกิจการ รายละ 7 ดอลลาร์ต่อครั้ง หลังจากนั้นก็ยังมีนักเขียนบางรายที่นำเอาวิธีการเดียวกันนี้ไปใช้เพื่อทำ รายได้จากการจำหน่ายหนังสืออีกจำนวนไม่น้อย

ผลกระทบของอี-รีดเดอร์ คงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่วงการหนังสือเล่ม สำนักพิมพ์ เท่านั้น แต่เป็นไปได้ว่ายังจะกระเทือนไปถึงวงการเพลง และภาพยนตร์ด้วย โดยในต่างประเทศนั้นตอนนี้ลูกค้าของอะเมซอนมีโอกาสซื้อเพลงทางออนไลน์ และดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่ชื่นชอบทางออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสตูดิโอผู้สร้างภาพยนตร์ เชื่อว่าการขยายกิจการด้านภาพยนตร์ออนไลน์ของอะเมซอนครั้งนี้น่าจะช่วยเพิ่ม พูนรายได้ของสตูดิโอผู้สร้างภาพยนตร์ ด้วยการใช้เครือข่ายดิจิตอลและฐานลูกค้าของอะเมซอนมาเพิ่มยอดการจำหน่ายได้ อีกทางหนึ่ง และเป็นการกระจายความเสี่ยงจากรายได้ของธุรกิจ ที่ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งรายได้จากทางใดทางหนึ่งเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาอะเมซอนเองได้เจรจาหาแนวทางการร่วมมือกันทางธุรกิจกับ 3 สตูดิโอของฮอลลีวูด ได้แก่ พาราเมาท์ พิคเจอร์ส ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ และวอร์เนอร์ บราเธอร์ส

แน่นอนว่าผลกระทบครั้งนี้คงจะกระทบไปถึงบรรดาธุรกิจร้านให้เช่า ภาพยนตร์อย่างแน่นอน และสามารถนับถอยหลังธุรกิจนี้ได้เลย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us