Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน12 มีนาคม 2553
ธนชาตจ่าย6.8 หมื่นล.ฮุบสคิบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารธนชาต

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารธนชาต, บมจ.
Banking and Finance




ธนชาตทุ่ม 68,000 ล้านบาทซื้อหุ้นนครหลวงไทย จ่ายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 3.2 หมื่นล้าน ในราคา 32.50 บาทต่อหุ้น จำนวน 1,005,330,950 หุ้น "ทองอุไร"ฟุ้งฟันกำไร 20,000 ล้าน “บันเทิง” ระบุเตรียมซื้อคืนจากนักลงทุนรายย่อยราคาเดียวกัน ใช้เงินอีกประมาณ 36,000 ล้านบาท พร้อมควบรวม 2 ธนาคาร ลบชื่อนครหลวงไทยออกจากสาระบบ เหลือธนาคารธนชาตรายเดียว ยันลูกค้าไม่กระทบ คาดการควบรวมจะเสร็จสิ้นในปี 54 ด้านบิ๊กสคิบรอผู้ถือหุ้นใหม่ปรับแผนธุรกิจ

วานนี้(11 มี.ค.) เวลาประมาณ 16.00 น. นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุน ฟื้นฟูฯ) พร้อมด้วยนายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารธนชาต และนางมิเชล คว๊อค รองประธานบริหารอาวุโสภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง ธนาคารโนวาสโกเทียได้ร่วมกันลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,005,330,950 ล้านหุ้น หรือ 47.58 % ซึ่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯถืออยู่ให้แก่ธนาคารธนชาต

นางทองอุไร เปิดเผยภายหลังจากการลงนามสัญญาซื้อขายว่า สาเหตุสำคัญที่กองทุนฟื้นฟูฯเลือกธนาคารธนชาต เพราะหากพิจารณาจากราคา เงื่อนไข และแผนดำเนินธุรกิจ ถือว่าดีที่สุดที่นำเสนอมา ประกอบกับธนาคารโนวาสโกเทีย ซึ่งเป็นถื้อหุ้นใหญ่ของธนชาตก็เป็นสถาบันการเงินที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ติด 1 ใน 10 ของทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้เมื่อมีการโอนกิจการของธนาคารนครหลวงไทยไปยังธนาคารธนชาตแล้วส่งผลให้ ธนชาตมีขนาดสินทรัพย์ขยับอยู่ที่อันดับ 5 จากเดิมอันดับ 8 จึงมั่นใจว่าจะช่วยให้สถาบันการเงินไทยมั่นคงมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนมากที่สุด

ทั้งนี้ ธนาคารธนชาตจะได้ใช้เงินซื้อหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยจากกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งสิ้น 3.2 หมื่นล้านบาท ในราคา 32.50 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับงบการเงินกองทุนฟื้นฟูฯล่าสุด ราคาตามบัญชีอยู่ที่ 19 บาทต่อหุ้น ทำให้การขายครั้งนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูมีส่วนเกินจากมูลค่าหุ้นประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งราคาหุ้นดังกล่าวได้รวมเงินปันผลที่คาดว่าจะได้เรียบร้อยแล้วและกองทุน ฟื้นฟูฯ จะได้รับเงินด้วยแคชเชียร์เช็คและนัดโอนหุ้นในวันที่ 9 เม.ย.นี้

อนึ่ง ในการขายหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยครั้งนี้มีผู้สนใจส่งจดหมายร่วมประมูลทั้ง สิ้น 45 ราย แต่มีผู้สนใจตรวจสอบสินทรัพย์และหนี้สิน(Due Diligence) เหลือ 3 ราย แต่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลราคารอบสุดท้ายเหลือแค่ 2 ราย

**TCAP คาดควบรวมเสร็จปี54**

ด้านนายบัณเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การเจรจาซื้อขายหุ้นสามารถสรุปได้ชัดเจนเมื่อเช้าของวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารนครหลวงไทยจะต้องมีการควบรวมกิจการกับธนาคารธนชาต จึงเหลือเพียงธนาคารธนชาตรายเดียว ซึ่งคาดว่าจะโอนกิจการธนาคารนครหลวงไทยไปยังธนาคารธนชาตแล้วเสร็จสิ้นไม่ เกินสิ้นปี 54

โดยขั้นตอนต่อไปจากนี้ ธนาคารธนชาตจะประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ในวันที่ 7 เม.ย.เพื่อขออนุมัติการซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารจะเปิดทำการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Tender Offer) ภายใน 3 วัน นับแต่แต่วันที่มีการโอนเงินซื้อขายแล้ว ซึ่งจะมีการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยในราคาเดียวกันกองทุนฟื้นฟูฯ คือ 32.50 บาท ฉะนั้นขั้นตอนการทำ Tender Offer ต้องมีการเริ่มทำปลายเดือนเม.ย.นี้ และคาดว่าจะสิ้นสุดในช่วงต้นเดือนก.ค.นี้

หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารธนชาต และนครหลวงไทย โดยในเบื้องต้น จะขออนุญาตจากธปท.ให้ธนาคารธนชาตสามารถถือหุ้นในสถาบันการเงิน 2 แห่งได้ไปก่อนจนกว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสิ้น ส่วนในเรื่องของการผ่อนผันต่างๆ ธนาคารธนชาตจะเป็นผู้ยื่นผ่านมายังฝ่ายกำกับสถาบันการเงินของธปท. ซึ่งคาดว่าจะสามารถอนุมัติได้ก่อนวันที่ 9 เม.ย.

"การควบรวมกิจการระหว่างกัน จะใช้วิธีการโอนสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารนครหลวงไทย มารวมกับธนาคารธนชาต เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเลิกกิจการธนาคารนครหลวงไทย และเอาหุ้นออกมาจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากนั้นจะเหลือธนาคารธนชาตธนาคารเดียว"

โดยธนาคารธนชาตได้ใช้เงินลงทุนซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทยทั้งสิ้น 6.8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่เกิดจากการเพิ่มทุนและออกหุ้นกู้ไม่มีกำหนดชำระ ซึ่งสามารถใช้เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ได้ 4.2 หมื่นล้านบาท เงินสดที่ธนาคารธนชาตมีอยู่แล้ว 2 หมื่นล้านบาท และอีก6,000 ล้านบาท จะเป็นการขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ใช้เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 จำนวน 6 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะออกขายให้แก่ประชาชนทั่วไปในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. เพื่อใช้เป็นเงินในการซื้อขายครั้งนี้และเมื่อควบรวมกิจการแล้ว ทำให้ธนชาตมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่า 12%

ส่วนการปรับโครงสร้างพนักงานในธนาคารทั้ง 2 แห่งนั้นจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด โดยในเบื้องต้นผู้บริหารของธนาคารทั้ง 2 แห่งคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ซึ่งธนาคารชาตก็ยังขาดผู้บริหารระดับสูงพอสมควร ขณะที่พนักงานระดับล่างนั้นก็จะกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะธนาคาร 2 แห่ง มีฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน เนื่องจากธนาคารธนชาตจะเน้นสินเชื่อประเภทเช่าซื้อเป็นหลัก ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย จะเน้นการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อที่อยู่อาศัย แต่ก็อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวพอสมควร

"การควบรวมดังกล่าวอาจจะต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนสาขาที่มีบริเวณใกล้ เคียงกัน ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 60-70 สาขา เพื่อลูกค้าจะต้องได้รับประโยชน์จากการบริการที่ดี โดยปัจจุบันธนาคารธนชาตมีสาขาทั้งสิ้น 200 สาขา ส่วนธนาคารนครหลวงไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 400 สาขา ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ธนาคารธนชาตซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯที่ 32.50 บาทต่อหุ้น โดยใช้เงิน 3.26 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดจะนำเข้าสู่วาระการประชุมของธนาคารธนชาตในวันที่ 7 เม.ย. ซึ่งที่ผ่านมาบริษัททุนธนชาตก็ได้มีการอนุมัติหลักการซื้อหุ้นดังกล่าวเรียบ ร้อยแล้ว แต่ในครั้งนี้จะนำรายละเอียดของบที่ปรึกษาทางการเงินอิสระประกอบไปด้วย"นาย บันเทิง กล่าว

ด้านบริษัทย่อยของธนาคารนครหลวงไทย ที่มีอยู่ 5 บริษัท ขณะนี้ยังไม่มีการประเมินเนื่องจากต้องศึกษาถึงขั้นตอนต่างๆ แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อภาพรวมยังไม่มากนัก ซึ่งในเบื้องต้นอาจมีวิธีในการจัดการหลายทาง อาทิ ควบรวมกัน แยกกันดำเนินกิจการ หรือหาพันธมิตร เป็นต้น สำหรับการรีแบรนด์สาขา ธนาคารประเมินว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง รวมถึงในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยของพนักงาน อาทิ การตัดชุดพนักงานใหม่ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อไม่ ให้กระทบต่อลูกค้า

**บิ๊กสคิบรอผู้ถือหุ้นใหม่ปรับแผน**

ขณะที่นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) (SCIB) ระบุว่า แผนธุรกิจขณะนี้จะยังคงดำเนินการตามปกติ ซึ่งในส่วนของการปรับเปลี่ยนนโยบายจากผู้ถือหุ้นรายใหม่คงยังไม่สามารถตอบ แทนผู้ถือหุ้นใหม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายต่างๆสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากผู้ถือหุ้นใหม่เห็นว่าควรมีการปรับ เปลี่ยน

"โดยในปี 53 ธนาคารวางเป้าหมายสินเชื่อเติบโต 6% ซึ่งจะเน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย และ กลุ่มเอสเอ็มอี รวมทั้งปรับพอร์ตสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ โดยเฉพาะสินเชื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่สร้างผลตอบแทนได้น้อย แต่จะเน้นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่ธนาคารสามารถให้บริการได้ครบวงจร ซึ่งปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 26% เป็น 28% พอร์ตลูกค้าเอสเอ็มอี ทรงตัวที่ 37% และ พอร์ตสินเชื่อลูกค้ารายย่อย ลดลงจาก 37% เหลือ 35%" นายชัยวัฒน์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us