Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2529
ใครเป็นใครใน...ยูนิไทย?             
 


   
search resources

Transportation
UNITHAI
สันต์ สันติสัมฤทธิ์
สุธรรม จิตรานุเคราะห์




มร.ริชาร์ดสัน หรือ สันต์ สันติสัมฤทธิ์

กรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิไทยปี 2522-2528

ชาวจีนฮ่องกงเชื้อสายเซี่ยงไฮ้ เกิดบนแผ่นดินจีนได้หนีมายังฮ่องกงในช่วงที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับ มร. Farnk Tsao เพราะหนีตายจากเซี่ยงไฮ้ด้วยกัน (ข่าวบางกระแสกล่าวว่า บุคคลทั้งสองนี้ เป็นญาติกันด้วย)

จบการศึกษาชั้นสูงในสาขาฟิสิกส์-เคมีจากเซนจอห์น ยูนิเวอร์ซิตี้ เก่งการคำนวณอย่างหาตัวจับยาก เริ่มธุรกิจการเดินเรือในฮ่องกงประเดิมบริษัทแรกคือบริษัท I.M.C. (International Marrinetime Carrier) ต่อมาประสบการขาดทุน โอนกิจการให้กับ มร. Farnk Tsao ซึ่งเป็นหุ้นส่วน

มร. ริชาร์ดสันได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยในปี 2507 และเดินทางไปยังประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งบริษัท M.I.S.C (Malaysian International Shipping Corporation) ร่วมกับ มร. Frank Tsao ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลมาเลเซียให้การสนับสนุนเป็นสายการเดินเรือแห่งชาติ จึงได้ถอนตัวกลับมายังประเทศไทย ขณะนั้นได้เริ่มก่อตั้งบริษัทไทยวิสาหกิจการกลเดินเรือขึ้นในปี 2513 ดำเนินธุรกิจทางด้านพาณิชย์นาวีมาตลอด

เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยนานมาก จนรักเมืองไทย จึงได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยในเวลาต่อมา

จนกระทั่งในช่วงปี 2517-2518 ได้เสนอโครงการตั้งบริษัทยูนิไทย เพื่อให้เป็นสายการเดินเรือแห่งชาติขึ้นเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขึ้น ซึ่งขณะนั้นทางสำนักงานดังกล่าวกำลังศึกษาความเป็นได้ในการตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลทางด้านพาณิชย์นาวีโดยตรงคือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมพาณิชย์นาวี ในเวลาต่อมา

ปรากฏว่าแผนการตั้งบริษัทยูนิไทย ได้รับความสำเร็จรัฐบาลให้การสนับสนุนที่จะก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาในปี 2520

มร. ริชาร์ดสัน จึงเข้าไปนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทยูนิไทยเป็นคนแรก

จากความสำเร็จในการก่อตั้งบริษัทเดินเรือในหลายบริษัทในหลายประเทศ ทำให้ มร. ริชาร์ดสันได้ปรารภให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า "สักวันหนึ่งจะไปนั่งร่างแผนก่อตั้งบริษัทเดินเรือแห่งชาติให้กับประเทศลาว"

ทุ่มเทการทำงานให้กับบริษัทยูนิไทยมาตลอดช่วงที่รับตำแหน่ง โดยถือว่ายูนิไทยเป็นเรือนตาย ก็ว่าได้ แต่ต้องประสบกับความผิดหวัง เมื่อเจอฤทธิ์เดชนักการเมืองไทยบางคนแผลงฤทธิ์ จนต้องถอนตัวออกจากยูนิไทยแทบไม่ทัน พร้อมทั้งได้ฝากข้อคิดเห็นให้กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังฟังว่า "ยูนิไทยต้องต่อสู้ทางด้านการแข่งขันในเชิงธุรกิจ กับบริษัทเรือต่างประเทศแล้ว ยังต้องมาต่อสู้กับเกมส์ทางการเมืองที่เข้ามาโดยไม่เต็มใจด้วย" จำต้องถอนตัวออกมา ซึ่งเจ้าตัวคิดเสมอว่าทำงาน "พลาดเมื่อตอนแก่"

ปัจจุบันอายุเกือบ 70 ปี แล้ว แต่ยังกระฉับกระเฉงขณะนี้ไปรักษาแผลหัวใจที่ถิ่นเดิมในตำแหน่งประธานบริษัทไทยวิสาหกิจสากลเดินเรือ

สุธรรม จิตรานุเคราะห์

ผู้จัดการทั่วไป

เป็นหนุ่มใหญ่ไฟแรงมือขวาของ มร. ริชาร์ดสัน ยืนหยัดมาตั้งแต่บริษัทยูนิไทยยังไม่เกิดจนถึงปัจจุบันยังคงทำงานอยู่ที่ยูนิไทย

การศึกษาจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเรียนต่อปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกาในสาขาเดียวกัน จบมาเข้าทำงานกับกระทรวงคมนาคมในตำแหน่งวิศวกรประจำกองเศรษฐกิจ รับผิดชอบทางดด้านการสร้างท่าเรือเขตตะวันออก

เริ่มเข้าสู่วงการพาณิชย์นาวี เมื่อไปคัดค้านการขออนุมัติซื้อเรือ 2 ลำของบริษัทไทยเดินเรือทะเล เพราะเมื่อเห็นสภาพขนาดเรือแล้วมานั่งคำนวณความคุ้มค่าของการใช้งาน, การขนส่ง เห็นว่าไม่คุ้มค่าโดยมีความคิดว่า "หากจะซื้อเรือสองลำนี้ เอาเงินที่ซื้อเรือไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยจะดีกว่า" คัดค้านหลายหนจนกระทั่งพลเรือเอกจิตต์ สังขดุลย์ ประธานบริษัทไทยเดินเรือทะเล เกิดความหงุดหงิดใจ เลยชวนให้เข้าไปทำงานบริษัทไทยเดินเรือทะเลในปี 2516 เพื่อที่จะได้มารู้ปัญหาของบริษัทเดินเรือว่ามีอะไรบ้าง

ทำงานให้กับบริษัทไทยเดินเรือทะเลใน 3 ตำแหน่งควบไปเลย คือตำแหน่งเลขานุการผู้อำนวยการ, เลขานุการกองโครงการ และเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนากิจการพาณิชย์นาวี ทำงานให้บริษัทไทยเดินเรือทะเล 3 ปีเต็ม

ขณะเดียวกันในช่วงหลังทางคณะอนุกรรมการพัฒนาพาณิชย์นาวีได้ศึกษาที่จะตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพาณิชย์นาวี กับการตั้งบริษัทยูนิไทย ซึ่งทางเจ้าตัวเองได้หมายมั่นปั้นมืออยู่ในใจว่า "อะไรที่เกิดขึ้นก่อนก็จะไปอยู่ที่นั่น" ปรากฏว่าบริษัทยูนิไทยได้ตั้งขึ้นก่อนในปี 2518 จึงได้เข้าไปนั่งทำงานในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการทั่วไปและเลขานุการคณะกรรมการบริหารบริษัทด้วย

พร้อม ๆ กับการเป็นอาจารย์สอนพิเศษที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จนกระทั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดวิชาทางด้านพาณิชย์นาวี คณะนิติศาสตร์ จึงได้กระโดดเข้าไปช่วย จนปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสาขาวิชาทางด้านพาณิชย์นาวี

ในช่วงวิกฤตการณ์กับบริษัทยูนิไทย เป็นตัวจักรสำคัญในการเจรจาประนอมหนี้ การดึงหุ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาถือหุ้น หลังจากถูกผู้ถือหุ้นเดิมไม่ยอมที่จะเพิ่มทุนใหม่พร้อมทั้งวิ่งเต้นเข้าหาผู้บริหารระดับสูงในคณะรัฐบาลหลาย ๆ คน เพื่อช่วยให้บริษัทรอดภาวะล้มละลายทางธุรกิจ

ด้วยคติที่ว่า "บริษัทยูนิไทยจะล้มไม่ได้ หากล้มไปแล้วย่อมกระทบถึงการลงทุนในประเทศ เรพาะบริษัทยูนิไทยเกิดขึ้นมาจากการชักชวนของรัฐบาลที่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน หากรัฐบาลปล่อยให้ล้มไป นักลงทุนต่างประเทศย่อมขาดความเชื่อถือการทำงานของรัฐบาล"

ระยะเวลาการแก้ไขปัญหา 3 เดือนเต็มเพื่อให้ยูนิไทยกลับมาดำเนินการได้ปกติในปัจจุบัน ทำให้ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับไปอีกนาน และมีความซาบซึ้งถึงความประพฤติของนักการเมืองบางคน จนถึงกับตั้งใจที่จะเขียนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นให้กับยูนิไทยให้ชนรุ่นหลังศึกษาเพื่อเป็นอุทาหรณ์

ปัจจุบันยังคงทำงานอยู่ในยูนิไทย ซึ่งเจ้าตัวประกาศอยู่เสมอว่าพร้อมที่จะไปจากยูนิไทย หากเกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นกับยูนิไทยในอนาคต...

มร.แฟร้งค์ เจ้าท์

ประธานบริษัท I.M.C

นักธุรกิจชาวฮ่องกงเชื้อสายเซี่ยงไฮ้ หนีตายจากจีนแผ่นดินใหญ่พร้อม ๆ กับ มร. ริชาร์ดสัน

เป็นนักลงทุนข้ามชาติมือฉกาจ เริ่มธุรกิจพร้อม ๆ กับ มร. ริชาร์ดสัน แต่ประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของธุรกิจมากมาย เข้ามาถือหุ้นบริษัทยูนิไทยหลังเกิดวิกฤตการณ์ในฐานะ "เพื่อนเก่า"

ธุรกิจเริ่มแรกของ Frank Tsao คือบริษัท Great Southern Stemship Co., Ltd. ต่อมาจึงได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท I.M.C ในปัจจุบันบริษัท I.M.C มีจำนวนเรือ 19 ลำในฮ่องกง ซึ่ง มร. Frank Tsao ได้ยึดอาชีพธุรกิจเดินเรือเป็นอาชีพหลัก นอกเหนือจากธุรกิจอื่น ๆ ในต่างประเทศแต่ก็ได้ยอมรับว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รายได้บริษัทตกต่ำลงแต่ยังคิดว่ายังดีกว่าบริษัทอื่นๆ อีกหลายบริษัทที่ต้องประสบการขาดทุน

เริ่มไปลงทุนในประเทศมาเลเซีย ในช่วงปี 2498-2503 ในธุรกิจที่เกี่ยวกับสิ่งทอ ต่อมาได้เปิดธุรกิจทางด้านพาณิชย์นาวี ก่อตั้งบริษัทสายการเดินเรือมาเลเซีย (M.I.S.C.) และ Malacca Seamens'Trainning School ซึ่งถือว่าได้ประสบความสำเร็จพอสมควร

ต่อมาได้เข้ามาสร้างธุรกิจในประเทศไทย เป็นเจ้าของสวนปาล์มที่ใหญ่มากในจังหวัดทางภาคใต้ของไทยและยังเป็นผู้ที่มีหุ้นอยู่ในบริษัทไทยวิสาหกิจสากลเดินเรือ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้บริษัทยูนิไทยกู้เพื่อซื้อเรือ 3 ลำในช่วงเริ่มแรกของการก่อตั้งบริษัท จำนวน 4 ล้านเหรียญสหรัฐนับว่าเกี่ยวพันตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทยูนิไทยเลยทีเดียว

สำหรับธุรกิจในต่างประเทศอื่น ๆ ทางแถบประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกาและในบราซิล เป็นธุรกิจประเภท ยารักษาโรค, การเกษตร, อู่ซ่อมเรือ, ซิเมนต์และโรงงานทอผ้า

เรียกได้ว่าลงทุนทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากคนหนึ่งของฮ่องกง ปัจจุบันเดินทางไปมาระหว่างประเทศที่มีธุรกิจอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us