|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.ส่งสัญญาณชัดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประชุมครั้งหน้าวันที่ 21 เม.ย.นี้ แบบค่อยเป็นค่อยไป จากความเสี่ยงโดยรวมลดลง ส่วนการประชุมวานนี้มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25% ระบุยังมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยการเมือง ปัญหามาบตาพุด อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูง รวมถึงความเสี่ยงต่างประเทศจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก รอดูสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงตัวเลขเศรษฐกิจเพิ่มเติม
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวานนี้( 10มี.ค.) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.25%ต่อปี ตามที่ตลาดคาดการณ์ เนื่องจากขณะนี้ปัจจัยเสี่ยงโดยรวมเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับการประชุมครั้ง ก่อน แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ จึงรอดูผลความชัดเจนก่อน รวมทั้งดูการเปลี่ยนแปลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเพิ่มเติมอีกระยะหนึ่ง
"การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ยังคงให้ความสำคัญในการดูแลเสถียรภาพ ด้านราคามาอันดับแรกและมากกว่าการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ และสุดท้ายก็ต้องชั่งน้ำหนักจังหวะเวลาให้เหมาะสมด้วย ฉะนั้น หากไม่มีเหตุการณ์ใดที่กระทบเศรษฐกิจรุนแรงและการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ ต่างๆ ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็มีโอกาสสูงที่กนง.จะค่อยๆ ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นในการประชุมครั้งหน้า คือ วันที่ 21 เม.ย.นี้"ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากในประเทศทั้งความไม่มี เสถียรภาพการเมืองและความไม่ชัดเจนของโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งอาจมีข้อจำกัดต่อการลงทุนในระยะต่อไปได้ อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะต่อไปจากราคาน้ำมันสูง ขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบรอบ 2 และรอบ3 ได้ และการขยายตัวของเศรษฐกิจเห็นได้จากไตรมาส 4 ที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์ จึงมองว่าแรงกดดันด้านอุปสงค์ยังมีอยู่ทั้งในปีนี้และปีหน้า
ขณะเดียวกัน แม้ความเสี่ยงของการขยายเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้นมากจนเห็นบางประเทศ เริ่มลดการผ่อนคลายการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ทั้งจากอัตราการว่างงานที่สูง ปัญหาสถาบันการเงินที่ยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์นัก รวมถึงปัญหาหนี้ภาครัฐในบางประเทศที่อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ได้
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางมาเลเซียมีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า บางประเทศที่เริ่มปรับนโยบายการเงินแล้วก็เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งในการพิจารณา อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่านโยบายการเงินจะ เป็นแนวทางที่เข้มงวดขึ้น แต่อาจเป็นการผ่อนคลายน้อยลงไปจากอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษอาจจะกลายเป็น อัตราดอกเบี้ยต่ำน้อยลงไปมากกว่า
แม้ในต่างประเทศจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบ้างแล้ว ประกอบกับไทยมีปัญหาการเมืองภายในประเทศก็ยังไม่พบมีการเคลื่อนย้ายเงินทุน ไหลเข้าออกผิดปกติ ซึ่งธปท.เองก็มีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด จึงไม่ห่วงอะไรเป็นพิเศษ
ส่วนประเด็นที่มีการส่งทีมงานไปสำรวจในพื้นที่ต่างๆ แล้วนำรายงานมาเสนอกนง. พบว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของไทยขณะนี้ ทำให้ผลผลิตเกษตรในปีนี้ลดลงบ้าง แต่ในทางตรงข้ามอาจทำให้ราคาพืชผลมีราคาสูงขึ้น ฉะนั้นปัญหาภัยแล้งมีผลกระทบภาพรวมเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต่างๆ ยืนยันภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและกระจายไปในหลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี แต่ธุรกิจที่ใช้แรงงานสูงไม่ได้ขยายตัวมากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้โครงสร้างนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป คือ นักท่องเที่ยวเอเชียเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากกว่าเมื่อเทียบกับนักท่อง เที่ยวแถบยุโรป ซึ่งนักท่องเที่ยวเอเชียส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวเรื่องความไม่สงบ จึงต้องติดตามดูต่อไป ฉะนั้น หากปัญหาการเมืองยืดเยื้อก็อาจกระทบเศรษฐกิจภาพรวมบ้าง
|
|
|
|
|