Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
Consumption Push             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
search resources

Economics




ระบบเศรษฐกิจและการเงินของไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนต้องยึดติดกับความเป็นไปของตลาดโลกทั้งสิ้น จนหาความเป็นตัวของตัวเองไม่เจอ แต่เมื่อแกว่งตัวผ่านจุดนั้นมายาวนานมาปีนี้ดูเหมือนปัจจัยที่มีผลดีต่อเศรษฐกิจไทยล้วนมาจากปัจจัยภายในประเทศทั้งสิ้น

เฟรดเดอริก นิวแมนน์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเอชเอสบีซี ยืนยันทิศทางเศรษฐกิจของไทยว่าจะเติบโตด้วยปัจจัยภายในประเทศเป็นหลักมากขึ้น ซึ่งเขาออกมาพูดถึงแนวโน้มเช่นนี้ตั้งแต่ปลายปี 2552 และยังคงย้ำอีกในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา

ปัจจัยที่ว่า เริ่มจากอัตราการเติบโตของภาคการผลิตของไทยกลับมาอยู่ในระดับสูงและแซงหน้าอัตราการผลิตช่วงสูง สุดของปี 2552 ที่ผ่านมาไปแล้ว ทั้งที่เพิ่งย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 ของปี 2553

"ขณะที่ตัวเลขภาคการผลิตสูงขึ้น แต่การส่งออกของไทยก็ไม่ได้โดดเด่นและยังทำผลงานได้ต่ำกว่าประเทศอื่นในเอเชีย ด้วยกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของไทยเกิดจากปัจจัยหรือการบริโภคภายในประเทศ"

แนวโน้มเศรษฐกิจที่เอชเอสบีซีวิเคราะห์นี้ทำขึ้นภายใต้ภาวะการเมืองดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนิวแมนน์ค่อนข้างมองโลกในแง่ดีว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะปรับ ตัวได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยหนุนด้านการลงทุนที่ดอกเบี้ยเงินกู้ยังอยู่ในอัตราต่ำ อัตราการผลิตในประเทศสูงขึ้น รวมทั้งยังมีตัวเลขจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจากชาติเอเชียด้วยกันเพิ่มสูงขึ้นมาเป็นตัวสนับสนุน การบริโภคภายในประเทศ

แต่สิ่งเดียวที่รัฐบาลไทยต้องกังวลมีเพียงแค่

"ความท้าทายจะอยู่ที่ไทยคงต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นก่อนฝั่งอเมริกา เพราะไม่เช่นนั้นผลจากการเติบโตของภาค การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้อัตรา เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหา ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์อีกต่อหนึ่ง"

การเห็นสัญญาณที่เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง เช่นเดียวกับเศรษฐกิจในเอเชียส่วนใหญ่ เหมือนกับที่นิว แมนน์บอกไว้ว่า เศรษฐกิจเอเชียกำลังกลาย เป็นภูมิภาคที่พึ่งพาและเติบโตด้วยตัวเองได้ น่าจะเป็นการยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่า เศรษฐกิจโลกกำลังหมุนกลับ เศรษฐกิจของโลกตะวันออกจะกลายเป็นตัวแปรเบื้องต้น ที่โลกตะวันตกต้องหันมาจับตาความเคลื่อน ไหว แทนที่จะเป็นตัวแปรตามเหมือนที่เคย เป็นมาแสนนาน

ที่สำคัญ เอเชียกำลังจะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนโลก ด้วยกำลังการบริโภคที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอาจจะถือได้ว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงแห่งทศวรรษ

คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2553 ของ HSBC

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 4.6% (ทั่วไปคาดการณ์ที่ 4.2%)

ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2553 เท่ากับ 31.5 บาทต่อ 1 US$

ราคาน้ำมันภายในปี 2553 จะถึง 100 US$ ต่อบาร์เรล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us