Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
Sale Force ของ CIMB ไทย             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ตารางที่ 1 เป้าหมายการเติบโตของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
ตารางที่ 2 ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปรียบเทียบกับคู่แข่งในประเทศไทย


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Banking
ธนาคารซีไอเอ็มบี




หากใครเดินผ่านสาขาธนาคารซีไอเอ็มบีไทย คงจะเห็นความโดดเด่นของสีแดงเข้มที่นำมาใช้ตกแต่งทั้งภายในและภายนอกโดยเฉพาะในเวลาค่ำคืน แสงสว่างของดวงไฟสามารถทำให้คนภายนอกมองทะลุผ่านกระจกบานใหญ่ให้เห็นภายในได้อย่างชัดเจน

ก่อนที่จะเริ่มปรับปรุงและตกแต่งสาขาของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคาร แห่งนี้ใช้ชื่อว่าไทยธนาคาร แต่หลังจากที่กลุ่มซีไอเอ็มบี กรุ๊ป จากประเทศมาเลเซียเข้ามาถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 93.15 เมื่อปี 2552 จึงทำให้กลุ่มซีไอเอ็มบี กรุ๊ป กลายเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์

โครงสร้างการบริหารภายในองค์กร ไทยธนาคารได้ปรับเปลี่ยน เริ่มตั้งแต่คัดเลือกประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ โดยมีสุภัค ศิวะรักษ์ ดำรงตำแหน่ง และล่าสุดแต่งตั้งจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็นประธานกรรมการ

จักรมณฑ์เป็นคนที่มีประสบการณ์ทำงานในภาครัฐ และยังมีความใกล้ชิดกับภาคเอกชน โดยก่อนมาที่ซีไอเอ็มบี เขาเป็นอดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

แม้ภาพโครงสร้างการทำงานจะเป็นผู้บริหารคนไทยเป็นหลักในการบริหาร แต่ ผู้กำหนดยุทธศาสตร์ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คือ ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธาน บริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี เป็นผู้ดูแล

ไทยธนาคารเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เมื่อปีที่ผ่านมา และปรับพันธกิจเป็น Universal Banking เป็นธนาคารให้บริการการเงินอย่างครบวงจร และการให้บริการด้านการเงินของธนาคาร แห่งนี้ไม่ได้ถูกล้อมกรอบให้อยู่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น

บริการกลุ่มซีไอเอ็มบีจะครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เป็นฐานธุรกิจกลุ่มซีไอเอ็มบีที่ได้เข้าไปถือหุ้นในสถาบันการเงินในแต่ละประเทศ

เป้าหมายการเป็นธนาคารครบวงจร ย่อมหมายถึงการเข้าไปเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้น และสาขาของธนาคาร เปรียบเสมือนเป็นแขนขาสำคัญ เพื่อทำหน้าที่ต่อยอดให้กับธุรกิจ

สาขาของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ได้ถูกปรับปรุงและปรับเปลี่ยนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ภาพลักษณ์ของการปรับเปลี่ยน ในครั้งนี้เห็นชัดมากขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2552 ธนาคารเลือกใช้สีแดงเข้มตกแต่งทั้งภาย ในและภายนอกของสาขา และเปิดไฟค่อน ข้างสว่างในเวลากลางคืน ถือเป็นสัมผัส แรกของผู้คนที่ผ่านไปมา

ทว่าการเปลี่ยนแปลงของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะภาย นอกที่เห็นเท่านั้น แต่กระบวนการทำงานได้ถูกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจที่เปลี่ยนไป

จากรูปแบบเดิม ธนาคารสาขาเน้น ให้บริการลูกค้ารายใหญ่ (Hole Sale) เปลี่ยนมาเป็นให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย (Retail Banking) เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 9 แสนราย

ผู้จัดการสาขาทั้งหมด 147 แห่งทั่วประเทศ และพนักงานเกือบร้อยละ 60 มีอายุโดยเฉลี่ย 30 กว่าปี จากพนักงานทั้งสิ้นในปัจจุบัน 3,771 คน จะเห็นได้ว่าผู้จัดการสาขามีอายุลดน้อยลงและเป็นรุ่นใหม่ จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยน "เลือดใหม่" ครั้งสำคัญของธนาคารแห่งนี้

ธาดา จารุกิจไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านบริหารช่องทางการขายและเครือข่าย สายธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่าผู้บริหารใหม่เป็นรุ่นใหม่ ไฟแรง กระตือรือร้น มองงานเป็นสิ่งท้าทายและต้องรับแรงกดดันได้

ไม่เพียงแต่เฉพาะผู้จัดการสาขาเท่านั้นพนักงานภายในสาขาก็ถูกกระตุ้นให้ปรับตัวเข้ากับวิถีการทำงานใหม่ด้วย โดยเฉพาะพนักงานที่ทำงานหนักจะได้รับรางวัลตอบแทน

"ผู้จัดการสาขา40 คนกำลังท่องเที่ยวอยู่ที่เกาหลี และอีกกรุ๊ปหนึ่งกำลังจะเดินทางไปเที่ยวประเทศนิวซีแลนด์ หลังจากที่ขายธุรกิจประกันชีวิตได้ตามเป้าหมาย"

สิ่งที่ธาดาเล่าให้ฟัง คือพนักงานหรือทีมงานที่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย จะได้รางวัลคือการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ หรือค่าคอมมิชชั่นนอกเหนือจากเงินเดือน

แม้ว่าปีนี้ ผู้บริหารของซีไอเอ็มบี ไทยจะไม่เปิดเผยตัวเลขของพนักงานว่าจะต้องสร้างรายได้ต่อรายเท่าไร แต่ผู้บริหาร ก็คาดหวังว่าจะต้องโตมากกว่าปี 2552 ที่พนักงานสามารถทำรายได้ 3.7 ล้านบาทต่อคนต่อปี

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ใช้วิธีการกระตุ้นพนักงานให้แข่งขัน โดยการแข่งขันจะมีหลายระดับ แข่งกับตัวเอง แข่งกันในระดับสาขา และแข่งขันระดับเขต

ซีไอเอ็มบีแบ่งสาขา 147 แห่งออก เป็นเขต ในกรุงเทพฯ มี 5 เขต และต่างจังหวัดมี 5 เขต อย่างเช่น เขต 1 ในกรุงเทพมหานคร จะมีนรวัตน์ ถนอมพันธุ์สกุล ดูแลสาขา 16 แห่ง ที่อยู่ในเขตเมือง เช่น สาขาหลังสวน สาทร สาธุประดิษฐ์ ถนนจันทร์ เป็นต้น

บทบาทของพนักงานธนาคาร โดยเฉพาะพนักงานสาขา ไม่ได้ถูกจำกัดให้เป็นเพียงผู้รับฝาก-ถอนเงิน หรือให้สินเชื่อเหมือนในอดีต แต่ทุกคนกลายเป็นพนักงาน ขายสินค้าและบริการทางด้านการเงินไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นขายประกันชีวิต ประกันรถยนต์ ขายหุ้น กองทุนรวม

ระหว่างที่ธาดาสนทนากับผู้จัดการ 360 ํ เขาบอกว่าพนักงานต้อง "ขายเป็น" และตั้งเป้ายอดขายได้ โดยการทำงานจะถูกประเมินด้วย KPI (Key Performance Index)

วิถีของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย แม้ว่าจะเป็นธนาคารขนาดเล็กแต่นโยบายการเป็น Universal Banking ทำให้ธนาคาร แห่งนี้เดินตามรอยธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือแม้แต่ธนาคารธนชาตที่ได้ทำล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

แต่ธนาคารเหล่านั้นมีความได้เปรียบด้านสาขาที่มีจำนวนมาก และครอบ คลุมทั่วประเทศ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสาขา 987 สาขา ธนาคารกสิกรไทย 732 สาขา

ในขณะที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีสาขาเพียง 147 แห่ง ถือว่ายังเป็นจุดอ่อน หากเป้าหมายของธนาคารต้องการเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย

ด้วยจำนวนสาขาที่มีน้อยและไม่มีนโยบายเร่งขยายสาขาในปริมาณมาก ในปีนี้ซีไอเอ็มบีมีแผนเปิดสาขาใหม่เพียง 5-10 แห่งเท่านั้น เพราะภาพรวมของธนาคารอยู่ระหว่างการปรับปรุงองค์กรโดยรวม ใน 1-2 ปีนี้จึงถือเป็นการวางรากฐาน

ทำให้ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เลือกใช้กลยุทธ์การแข่ง คือเลือกพื้นที่เจาะกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยเฉพาะพื้นที่จะเน้นให้บริการในเมืองเป็นหลัก เพราะสาขากว่า 90 แห่งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยเลือกพื้นที่แข่งขันสาขาที่อยู่ในเมือง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าเน้นการลงทุน

เมื่อเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ปี 2552 ซีไอเอ็มบี ไทยได้นำผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่เรียกว่า Structured Deposit หรือเงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝงอยู่นำมาจำหน่ายในสาขา 20 แห่ง เช่น บางรัก เยาวราช ราชวงศ์ และลุมพินี ทำให้สาขามีรายได้เพิ่ม 1,400 ล้านบาทในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน

จะเห็นได้ว่าสาขาที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองจะเน้นผลิตภัณฑ์ทางด้านการลงทุนเป็นหลัก ส่วนสาขารอบนอก เช่น สาขามีนบุรี หรือลาดกระบัง ธนาคารจะเน้นปล่อยสินเชื่อ และระดมเงินฝาก

ด้วยกลุ่มเป้าหมายและผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน การคัดเลือกผู้จัดการสาขาจึงมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้จัดการสาขาประจำอยู่ในเมือง ต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุน ในขณะที่ผู้จัด การสาขารอบนอกหรือต่างจังหวัด ต้องมีทักษะด้านการหาเงินฝากและปล่อยสินเชื่อ

ธาดาบอกว่า สิ่งที่เขาต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของสาขา คือให้บริการเหมือนร้านสะดวกซื้อ 7-11 ลูกค้าสามารถ เดินเข้ามาในสาขาและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ทางการเงินได้อย่างง่ายดาย แต่เขาก็รู้ดีว่า คงยังไม่ได้เห็นในเร็ววันนี้ เพราะผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครบถ้วน อย่างเช่นไม่มีบริการบัตรเครดิต แต่ธนาคารกำหนด เป้าหมายจะเปิดให้บริการภายในสิ้นปีนี้ รวมทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

นอกเหนือจากการปรับปรุงภาพลักษณ์สาขา และปรับวิถีการทำงานของพนักงานแล้ว การปรับระบบไอทีเพื่อให้ธนาคารและสาขา สามารถทำงานเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทั้งหมด

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยกำลังปรับระบบไอทีใหม่ และเป็นการปรับครั้งใหญ่ เพราะระบบไอทีใหม่จะเข้ามาแทนที่ระบบไอทีเก่า ที่จะหมดอายุการใช้งาน 18-24 เดือนนับจากนี้ไป

การปรับปรุงระบบไอทีในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงระบบไอทีทั้งหมดของกลุ่มซีไอเอ็มบีในภูมิภาคนี้ รวม 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นแผนหนึ่งในยุทธศาสตร์ภายในแนวคิด 1 Platform Core Banking เพื่อเชื่อมโยงระบบการทำงานทั้งหมด

กลุ่มซีไอเอ็มบีได้ตั้งงบประมาณเพื่อปรับระบบไอทีราว 8 พันล้านบาทและเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกในการนำร่อง จึงเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย เพราะระบบคอร์ แบงกิ้ง ไม่ได้ปรับเฉพาะระบบ ฐานข้อมูลเท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงการคำนวณอัตราดอกเบี้ยของลูกค้าเงินฝาก สินเชื่อ หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ และปัจจุบันมีธนาคารแห่งหนึ่งที่มีปัญหาการให้บริการจนถึงปัจจุบัน เพราะมีการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าว

แต่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คาดหวัง เมื่อระบบคอร์แบงกิ้งติดตั้งแล้วเสร็จในอีก 1 ปีครึ่งหรือ 2 ปีข้างหน้าจะทำให้ธนาคาร ทำงานได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะธนาคารสาขา ระบบไอทีถือว่าเป็นการวางรากฐานในระยะยาวเพื่อรองรับการทำงานของธนาคารกลุ่มซีไอเอ็มบี

สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่าตามนโยบายของกลุ่มซีไอเอ็มบี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารมีเป้าหมายหลักที่จะต้องบรรลุใน 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2556 คือการเป็น 1 ใน 3 ของธนาคารที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุด เป็นผู้นำในตลาดธุรกิจอย่างน้อย 3 ประเภท และเป็นธนาคารที่พนักงานเลือกที่จะทำงาน ด้วย

ธนาคารซีไอเอ็มบีได้กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นร้อยละ 15-18 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะธนาคารธนชาตมี ROE ร้อยละ 18

แม้ว่าปีนี้ธนาคารจะอยู่ในช่วงเวลาปรับรากฐานขององค์กร เพราะธนาคารขาดทุนติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปี คือ ปี 2549 ขาดทุน 4,423 ล้านบาท ปี 2550 ขาดทุน 6,928 ล้านบาท ปี 2551 ขาดทุน 1,989 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2552 มีกำไร 1.7 ล้านบาท

แผนธุรกิจหลักในปีนี้จะเน้น 3 ด้าน คือ การจัดการต้นทุนเงินฝาก เพิ่มสัดส่วน เงินฝากออมทรัพย์ และกระแสรายวันเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5 จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 25

ธนาคารจะใช้วิธีการดึงกลุ่มลูกค้าเงินฝาก โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ ผสมผสานเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน

ส่วนกลยุทธ์ที่สอง เพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ เพื่อมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะรายย่อย เช่น สินเชื่อเคหะ ธนาคารมองว่าเป็นกลุ่มที่สามารถต่อยอดในการทำธุรกิจ cross-sale ได้ และเน้นปล่อยสินเชื่อด้านรถยนต์และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน

ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยจะหันไปปล่อยสินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท เพราะกลุ่มนี้ยังมีการแข่งขันกันน้อยและธนาคารมองว่าเป็นโอกาสให้ลูกค้ารู้จักเป็นรายแรก

กลยุทธ์ที่สาม เพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม เช่น การบริการโอนเงิน กองทุน ธุรกิจประกัน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา

ดูเหมือนการเดินตามแผนธุรกิจธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยจะปูพรมด้วยกลีบกุหลาบ ที่มีพี่ใหญ่ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป หนุนหลังอยู่ โดยมีผู้บริหารคนไทย 6 คน เป็นผู้บริหารอยู่เบื้องหน้าอย่างเช่น สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดวงพร สุจริตานุวัต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบรรษัทธุรกิจ

รวมถึงเอกชัย ติวุตานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกฎหมายและพัฒนาสินเชื่อ สุรชัย จิตตรัตน์เสนีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธาดา จารุกิจไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านบริหารช่องทางการขายและเครือข่าย และผู้บริหารคนใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับธนาคารเมื่อต้นปี อย่างณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์และการเงิน ที่ย้ายมาจากธนาคารไทยพาณิชย์

ภายใต้ยุทธศาสตร์ Multi Local Group บริหารงานในระดับภูมิภาค แต่ธนาคารในเครือเป็น Local Bank ของดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ต้องลุ้นว่าผู้บริหารไทยจะตีโจทย์อย่างไร

เพราะมีผู้บริหารธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่าเวลาฟังดาโต๊ะพูดทีไรก็รู้สึกเคลิ้มทุกที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us