Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
Mekhong Stream             
 


   
search resources

International
Greater Mekong Subregion




จีน
กระทรวงการเกษตรจีนกำลังดำเนินการออกใบประกาศนียบัตรรับรองความปลอดภัยของสายพันธุ์ข้าวตัดแต่งยีนที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านศัตรูพืช ใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี ผลักดันกระบวนการต่างๆ เพื่อจดทะเบียนสายพันธุ์พืชตัดแต่งยีนจากการทดลองของนักวิจัยมหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งหัวจง ที่ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวบีที โดยนำโปรตีนจากแบคทีเรียใส่เข้าไปในพันธุ์ข้าวนี้ทำให้มีการใช้พันธุ์ข้าวจีเอ็มโออย่างกว้างขวาง สามารถช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงถึงร้อยละ 80 และยังช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 8 แต่เกิดกระแสการต่อต้านจากกลุ่มรณรงค์ด้านการเกษตรและอาหารของกรีนพีซ เตือนจีนว่าการรับรองข้าวจีเอ็มโออาจสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ


พม่า
คณะกรรมการระดับรัฐบาลกลางในกรุงนิวเดลีชุดหนึ่งได้เข้าเร่งรัดการดำเนินโครงการพัฒนาและตัดถนนสายทางหลวงสาย 44 ขนาด 4 ช่องทางจราจร จากเมืองชิลลอง (Chillong) ไปยังชายแดนภาคใต้ของรัฐตรีปะรุ เชื่อมยังรัฐมิซอรัม (Mizorum) ไปยังพรมแดนพม่า เป็นระยะทางราว 100 กม. คาดว่าต้องใช้งบประมาณราว 140 ล้านดอลลาร์ หลังจากสร้างแล้วเสร็จในปี 2555 รัฐมิซอรัมจะเป็นประตูการค้าเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านตามนโยบาย "มองตะวันออก" (Look East Policy) ของรัฐบาลพรรคคองเกรส (Congress Party) โดยนายกรัฐมนตรีมันโมฮัน ซิง (Manmohan Singh) โดยรัฐบาลอินเดียเซ็นสัญญาช่วยรัฐบาลพม่าก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเมืองสิตต่วย (Sittwe) ในรัฐยะไข่ (Rakhine) บริเวณปากแม่น้ำกาลาดัน (Kaladan) ในพม่า แม่น้ำสายนี้เชื่อมต่อไปถึงรัฐมิซอรัม


ลาว
สปป.ลาวได้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษจากรัฐบาลจีน เพื่อสร้างสนามบินใหม่ที่หลวงพระบาง ซึ่งจะรองรับเครื่องบินโดยสารขนาด 400 ที่นั่ง เครื่องบินโบอิ้งได้ 4 ลำ และเครื่องบิน ATR อีก 7 ลำในปี 2556 พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะสร้างขึ้นในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับสนามบินเดิมที่ใช้ในขณะนี้ โดยบริการต่างๆ ในบริเวณสนามบินเดิมยังคงเปิดทำการต่อไปในระหว่างการก่อสร้างด้วย สนามบินหลวงพระบางได้รับการฟื้นฟูบูรณะมาก่อนหน้านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ทั้งในรูปเงินให้เปล่าและเงินกู้ผ่อนปรน ปัจจุบันยังสามารถรองรับได้แค่เครื่องบินโดยสาร ATR72 หรือ MA60 หรือ AN-24


กัมพูชา
รัฐบาลกัมพูชาพัฒนาระบบชลประทานและสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกข้าวแก่เกษตรกรเพิ่ม 3 ล้านเฮกตาร์ ภายในปี 2558 จากพื้นที่นา 2.6 ล้านเฮกตาร์ ให้สามารถทำนาได้ 2 ฤดูกาล โดยเฉพาะพื้นที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกของประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลกัมพูชาได้เงินกู้จากคูเวต 546 ล้านดอลลาร์ สร้างระบบชลประทานและเขื่อนอเนกประสงค์ 1 แห่ง ตลอดจนทำถนนเข้าที่นาใน จ.กัมปงจาม และพระตะบอง นอกจากนี้คูเวตยังมีแผนลงทุนราว 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อปลูกข้าวในกัมพูชา รวมทั้งจีนจะขยายเงินกู้สนับสนุนการก่อสร้างระบบชลประทานในแหล่งเพาะปลูกข้าวเขตเปรย์แวง (Prey Veng) กับจังหวัดโพธิสัตว์ (Pursat) และจังหวัดอุดรมีชัย (Oddor Meanchey) หากเป็นไปตามแผนพัฒนาจะสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ถึง 12.25 ล้านตันต่อปี


เวียดนาม
รัฐสภาเวียดนามมีมติอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นแห่งแรก โดยวางแผนให้ประกอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 4 เครื่อง มีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ เตาปฏิกรณ์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องจะเริ่มดำเนินการผลิตในปี 2563 หลังจากการเดินทางเยือนมอสโกอย่างเป็นทางการ จากการรับเชิญของทางการรัสเซียในเดือนธันวาคม 2552 โดยบริษัท EVN และ Rosatom ได้ลงนามในบันทึก "เพื่อความร่วมมือในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังปรมาณูแห่งแรกในเวียดนาม" บันทึกดังกล่าวมาพร้อมกับข้อตกลงของรัฐบาลเวียดนามในการซื้อเรือดำน้ำ และเครื่องบินรบจากรัสเซีย นอกจากนั้น จีน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ต่างแสดงความสนใจในโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนามเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us