Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
ชุมทาง “ปากแบ่ง” สวรรค์ของแบ็กแพ็กเกอร์             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

ประสบการณ์ในลาวของ “แพร่ธำรงวิทย์”

   
search resources

Tourism
Laos




ขณะที่เส้นทางเข้าสู่หลวงพระบางจากด่านห้วยโก๋น ชายแดนจังหวัดน่าน ซึ่งถือเป็นเส้นทางทางบกที่ใกล้ที่สุดยังไม่เสร็จพร้อมสมบูรณ์ ผู้จัดการ 360 ํ ได้มีโอกาสมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองปากแบ่ง จุดพักระหว่างทางของนักเดินทางที่จะมุ่งหน้าเข้าหลวงพระบาง จากชายแดนภาคเหนือของไทย ทั้งจากทางน้ำและทางบกที่สามารถเติมเต็มบรรยากาศการท่องเที่ยวได้ไม่น้อย

ที่ "ปากแบ่ง" เมืองเล็กๆ ในแขวงอุดมไชย ตั้งอยู่เชิงเขาริมฝั่งแม่น้ำโขงที่มีผู้คนอาศัยอย่างสงบเงียบอยู่เพียงไม่กี่ร้อยหลังคาเรือนนั้นจะกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นทันที เมื่อถึงย่ำค่ำของแต่ละวัน เพราะที่นี่นอกจากจะมีเส้นทางห้วยโก๋น-ปากแบ่งที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์พาดผ่านแล้ว

ยังเป็นชุมทางสัญจรทางน้ำผ่านแม่น้ำโขง จาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ของไทย ไปถึงเมืองหลวงพระบาง (ค่าโดยสารประมาณ 800 บาทต่อคน) ซึ่งทั้งเรือขาขึ้น-ขาล่องจะต้องแวะพักค้างคืนที่นี่ เพราะเมื่อล่องเรือมาถึงจุดนี้จะเป็นเวลาเข้าไต้เข้าไฟพอดี

ดังนั้น ช่วงเวลาตั้งแต่สายๆ ถึงบ่ายแก่ๆ ของแต่ละวัน ปากแบ่งเป็นเหมือนหมู่บ้านชนเผ่าในชนบทของ สปป.ลาว ทั่วไป แต่เมื่อย่ำค่ำ ที่นี่จะ "ตื่น" ขึ้นมาทันที ด้วยเพราะคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากโลกตะวันตกที่มุ่งหน้าเข้าหลวงพระบางและกำลังกลับจากหลวงพระบางเข้าไทย

ที่นี่มีที่พักรับรองทั้งเกสต์เฮาส์ระดับราคา 500-800-1,000 กว่าบาท ไปจนถึงห้องพักระดับ 250 ดอลลาร์สหรัฐต่อคืน โดยมีนักธุรกิจจากบังกลาเทศเข้ามาลงทุนสร้างไว้บนที่ดินเชิงเขาติดกับแม่น้ำโขง รวมถึงร้านอาหารหลากหลายสัญชาติ ตั้งแต่อาหารพื้นถิ่น-อินเดีย-ฝรั่ง-ไทย ฯลฯ

แต่ "ปากแบ่ง" จะมีชีวิตชีวา เพียงแค่จากย่ำค่ำไปจนถึง 4 ทุ่มครึ่งเท่านั้น

ปัจจัยหนึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ ซึ่งยังคงยึดวัตรปฏิบัติแต่ดั้งเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีคนต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยวและนำเงินมาใช้จ่ายที่นี่เป็นจำนวนมาก

อีกปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะกระแสไฟฟ้าที่เพิ่งเข้าไปถึงยังเมืองนี้ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมานี้เอง ทำให้ยังมีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ จึงต้องปิดไฟกันตามกำหนด แม้ว่าบางร้านจะมีเครื่องปั่นไฟเองก็ตาม

แต่นั่นก็นับเป็นเสน่ห์ของ "ปากแบ่ง" ที่แม้จะครึกครื้นในยามย่ำค่ำ แต่ทันทีที่นาฬิกาบอกเวลา 4 ทุ่ม เริ่มมีเสียงร้านรวงที่ปิดประตู เสียงเพลงจากร้านอาหารค่อยๆเงียบลงไปทีละน้อยทีละน้อย

และทันทีหลัง 4 ทุ่มครึ่ง สภาพของเมืองดูไม่แตกต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับคำสั่ง shut down เงียบกริบ ไม่มีสรรพเสียงใดๆ นอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เมืองแห่งนี้กลับสู่ความเป็นเมืองชนบทของลาว เงียบสงบท่ามกลางขุนเขา โดยมีแม่น้ำโขงไหลผ่านได้ยินแต่เสียงน้ำไหล หรีดหริ่งเรไร เท่านั้น

อาจมีเสียงแปลกปลอมบ้าง คือเสียงของนักท่องเที่ยวฝรั่งที่อาจยังติดลม หรือไม่ก็หาทางกลับที่พักไม่เจอ เดินบ่นกับตัวเอง หรือบ่นกับกลุ่มเพื่อน แต่ก็ดังขึ้นเป็นชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

และเมื่อเริ่มเข้าสู่วันใหม่ ทุกผู้คนยังสามารถสัมผัสกับวิถีท้องถิ่นของปากแบ่ง เพราะจะมีชาวบ้านมายืนรอพระสงฆ์ที่จะเดินลงมาบินฑบาตตั้งแต่ก่อน 7 โมงเป็นระยะๆ และที่ตลาดเช้า พ่อค้าแม่ขายจะเริ่มขนสินค้าและตั้งแผงค้ากันให้ทันเริ่มขายในเวลา 7 โมง

พร้อมกับขบวนของนักเรียนที่มีทั้งเดินเป็นกลุ่มขี่จักรยานเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ๆ เพื่อไปให้ทันเข้าเรียนยังโรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างจากชุมชนออกไปเกือบ 5 กิโลเมตร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us