Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
“นาคราชนคร” โครงการเชื่อมสัมพันธ์ 3 ชาติ ที่ยังต้องเผชิญกับอุปสรรค             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ธนาคารของคนไทยใน สปป.ลาว
รหัส 10-10-10 ตลาดการเงินลาวเปิดเต็มรูปแบบ

   
www resources

AAC Green City Laos Homepage

   
search resources

Real Estate
International
Greater Mekong Subregion
สิชา สิงห์สมบุญ
เอเอซี กรีนซิตี้ ลาว
เอเอซี กรีนซิตี้




คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าโครงการนาคราชนคร เป็นเพียงการพัฒนาที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว แท้จริงแล้วโครงการนี้ออกแบบมาให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้อย่างลงตัวที่สุด แต่ก็ยังไม่วายที่ต้องเจอกับอุปสรรค

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อโครงการนาคราชนครก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ คนในตัวเมืองเชียงของ จ.เชียงราย จะสามารถมองเห็นเขาพระพุทธองค์ที่มีพญานาคพันวนรอบภูเขาจากฐานรากขึ้นไปถึงองค์พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาได้อย่างเด่นชัดที่สุด

เขาพระพุทธองค์ถือเป็น land mark สำคัญของโครงการนาคราชนคร ที่ดำเนินการโดยบริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ ลาว บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ของครอบครัวสิงห์สมบุญ เจ้าของธนาคารร่วม พัฒนากับกลุ่มทุนเกาหลีใต้ ในสัดส่วน 80: 20

โครงการนี้เป็นการพัฒนาอสังหา ริมทรัพย์บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ (200 เฮก ตาร์) ติดแม่น้ำโขง บริเวณดอนไข่นก (ฝั่งไทยเรียกดอนขี้นก) เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว อยู่ห่างจากจุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เพียงไม่ถึง 1 กิโลเมตร และห่างจากถนนสาย R3a เพียง 6 กิโลเมตร

ถือเป็นโครงการที่ต่อยอดการลงทุนของครอบครัวสิงห์สมบุญ ทั้งจากใน สปป. ลาวและจากประเทศไทยได้อย่างลงตัวที่สุด

ที่สำคัญยังเป็นโครงการที่สอดรับกับแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และการค้าขายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ที่มีเส้นทางสาย R3a เป็นเส้นทางหลัก

ภายในโครงการนาคราชนคร นอกจากพื้นที่ซึ่งจะพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวแล้ว ยังจะมีพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งภายในจะประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า รวมทั้ง แหล่งสันทนาการต่างๆ

รวมทั้งจะมีศูนย์เปลี่ยนถ่ายหัวรถตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งถือเป็นทางออกให้กับประเด็น ที่คนส่วนใหญ่กำลังวิตกกังวลกันมากว่า กำลังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ในพื้นที่นี้

เนื่องจากรถที่วิ่งทั้งใน สป.จีนและ สปป.ลาว เป็นรถที่ใช้พวงมาลัยซ้าย ขณะที่รถที่ใช้อยู่ในประเทศไทย กลับเป็นรถพวงมาลัยขวา

บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ได้ทำข้อตกลงกับกลุ่มโกลเด้น พีค๊อก ซึ่งเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ จากเมืองสิบสองปันนากับกลุ่มเคอาร์ซี ทรานสปอร์ต ในเครือสยามสตีล เจ้าของลานพักตู้คอนเทนเนอร์ ที่ อ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ในนามแหลมฉบัง ซีพอร์ต

ตามข้อตกลง รถคอนเทนเนอร์ซึ่งบรรทุกสินค้าจากมลฑลหยุนหนัน ขับลงมาตาม ถนนสาย R3a เมื่อถึงเมืองห้วยทราย ต้องมาเปลี่ยนหัวรถให้เป็นรถพวงมาลัยขวาในพื้นที่นี้ ก่อนจะข้ามสะพานมิตรภาพไปยังฝั่งไทย เพื่อนำตู้คอนเทนเนอร์ไปพักไว้ที่แหลมฉบังซีพอร์ต

ในทางกลับกัน เมื่อรถคอนเทนเนอร์ที่รับสินค้าจากแหลมฉบังเพื่อนำไปส่งยัง สป.จีน หลังข้ามสะพานมิตรภาพจากฝั่งไทยเข้ามายัง สปป.ลาวแล้ว จะต้องมาเปลี่ยนหัวรถเป็นรถพวงมาลัยซ้ายที่นี่ ก่อนจะวิ่งต่อขึ้นไปถึง สป.จีน

ภายในพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ ธนาคารร่วมพัฒนายังมีแผนจะขึ้นมาเปิดสาขาที่นี่อีก 1 แห่ง

สาขาของธนาคารร่วมพัฒนาแห่งนี้จะเป็นสาขาที่มีบทบาทอย่างมากต่อการค้าขาย ระหว่าง 3 ประเทศ คือ สปป.ลาว ไทย และ สป.จีน ในอนาคต

ธนาคารร่วมพัฒนากำลังศึกษาที่จะนำระบบ payment gateway มาใช้ที่สาขาแห่งนี้

รวมถึงขยายการทำธุรกรรมที่หลากหลายสกุลเงินมากขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนในการค้าระหว่าง 3 ประเทศ โดยเฉพาะต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่จากเดิมเมื่อ มีการซื้อขายกัน ไม่ว่าจะด้วยเงินสกุลใดต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลกลางในการแลกเปลี่ยน

"ครอบครัวของเรามีธนาคารอยู่แล้ว ปัญหาหลักๆ ทางการค้าระหว่างไทย-จีน คือไม่ค่อยมีธนาคารสนับสนุน ถูกไหม ธนาคารสนับสนุน หมายถึงว่า ซื้อของจากไทยไปจีน อย่างแรกเลยก็ต้องเปลี่ยนเป็นเหรียญ แล้วก็เปลี่ยนจากเหรียญเป็นหยวน แล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นบาทอีกรอบ หากเกิดเงินเฟ้อขึ้นทีหนึ่งก็เสร็จแล้ว แต่ถ้าเป็นของเรา ธนาคารเรา เปิดบัญชีเป็นกีบได้ เป็นบาทได้ เป็นดอลลาร์ก็ได้ แล้วถ้าปริมาณการค้ามีมากพอ เราก็เปิดบัญชีหยวนโดยตรงก็ได้ ไม่ต้องไปผ่านเป็นดอลลาร์" เหมโชค สิงห์สมบุญลูกชายคนโตของสาโรจน์ และสิชา สิงห์สมบุญ ที่เข้ามาช่วยงานในครอบครัว ทั้งที่ธนาคารร่วมพัฒนา และโครงการนาคราชนคร เล่าถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตกับผู้จัดการ 360 ํ

ทั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายหัวรถตู้คอนเทนเนอร์ระบบ patment gateway และธุรกรรม หลากหลายสกุลเงินที่กำลังจะเกิดขึ้นในโครงการนาคราชนคร ทำให้โครงการนี้มีความโดดเด่นกว่าโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่กำลังถูกก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันอย่างชัดเจนที่สุด

เพราะโครงการเหล่านั้นมุ่งเน้นสร้างให้เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ โดยเฉพาะ กาสิโนแต่เพียงอย่างเดียว

สำหรับในโครงการนาคราชนคร นอกจากพื้นที่เพื่อการพาณิชย์แล้ว การพัฒนาพื้นที่ เพื่อการท่องเที่ยวยังเน้นธีมที่ต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์หลักของโครงการต่างๆ ที่บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ทำทั้งในเมืองไทย และที่กำลังทำอยู่ใน สปป.ลาว

บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้จดทะเบียนตั้งบริษัทในปี พ.ศ.2532 ปีเดียวกับที่คุณหญิงสุวรรณี พัวไพโรจน์ สิงห์สมบุญได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารร่วมพัฒนาใน สปป.ลาว

เดิมใช้ชื่อว่าบริษัทเดพเทค เป็นการร่วมทุนกับกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ทำหน้าที่ขายชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องบินและรถถัง ตั้งบริษัทอยู่ที่ชั้น 6 อาคารพรหมสุวรรณ ซอยโรงพยาบาล พระราม 9 ถนนพระราม 9

แต่หลังจากดำเนินธุรกิจไปได้ 5 ปี ต้องการเปลี่ยนมาทำธุรกิจพัฒนาอสังหา ริมทรัพย์ จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดพเทค เป็นเอเอซี กรีนซิตี้ ในปี 2537

"เรามีประสบการณ์ด้านพัฒนาที่ดินมาแล้ว ประกอบกับความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวด ล้อมที่มีมากขึ้นในสังคมในตอนนั้น ทำให้เราอยากจะทำโครงการพัฒนาที่ดินในลักษณะที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว เลยเปลี่ยนธุรกิจ เปลี่ยนชื่อบริษัท นำคำว่า กรีนซิตี้เข้ามาใช้ในชื่อใหม่" สิชาบอกในฐานะประธานบริษัทเอเอซี กรีนซิตี้

โครงการแรกที่ทำคือ โครงการบ้าน จัดสรรชื่อพรหมสุวรรณ ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ส่วนโครงการต่อมาเป็นบ้านจัดสรร ขนาดไม่ใหญ่มากที่ อ.ปราณบุรี ประจวบ คีรีขันธ์ เพื่อขายให้คนเกาหลีใต้ที่นิยมเดินทางเข้ามาตีกอล์ฟในประเทศไทย

ที่ดินที่นำมาพัฒนาคือที่ดินซึ่งเป็นแลนด์แบงก์เดิมของคุณหญิงสุวรรณี

สำหรับที่ดินในเมืองห้วยทรายแปลงนี้ ในช่วงต้นทศวรรษ 2540 ตอนที่วัลลภ แซ่เตี๋ยว ผู้ซึ่งได้รับสัมปทานก่อสร้างถนนสาย R3a เป็นรายแรกเข้ามาสำรวจพื้นที่เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างถนน เคยชักชวนให้สิชา ขึ้นมาดูที่ดินแปลงนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ตอน นั้นเธอยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะ ยังยุ่งกับการทำงานที่ธนาคารร่วมพัฒนา

(ปัจจุบันถนนสาย R3a ได้เปลี่ยนมือผู้รับเหมาก่อสร้างมาเป็นบริษัทแพร่ธำรงวิทย์ จนสร้างเสร็จ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่ต้นปี 2552)

จนเมื่อ 5 ปีที่แล้วหลังเหมโชคลูกชายคนโตเรียนจบกลับมาจากอังกฤษ และต้องการทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ใน สปป.ลาว ร่วมกับ Kibox Wee เพื่อนชาวเกาหลี สิชาจึงนึกถึงที่ดินแปลงนี้ขึ้นมา อีกครั้ง

สิชาเป็นคนที่ยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา เชื่อมั่นในเรื่องบาปบุญ และชาติภพ และส่วนตัวเป็นคนที่ นับถือพญานาค

เธอมีความเชื่อมาตลอดว่า พื้นที่บริเวณ อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว เป็นที่ตั้งของถ้ำพญานาค ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนตลอดแนวแม่น้ำโขง

เมื่อมาดูที่ดินเป็นครั้งที่ 2 หลังจาก ได้เห็นพื้นที่เธอเริ่มจินตนาการถึงแผนผังโครงการขึ้นมาได้ทันทีพร้อมตั้งชื่อโครงการว่า "นาคราชนคร"

เธอพร้อมทั้งลูกชายและเพื่อนผู้ร่วม ทุน เริ่มทำเรื่องถึงรัฐบาล สปป.ลาว โดยจัดตั้งบริษัทใหม่คือ บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ ลาว เข้ามาขอสัมปทานพัฒนาที่ดินแปลงนี้ โครงการของเธอผ่านการอนุมัติจากสภาแห่งชาติ สปป.ลาว และได้เซ็นสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล สปป.ลาว เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550

ในโครงการนาคราชนคร นอกจากพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ที่กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น ยังประกอบด้วยโครงการที่พักอาศัยลักษณะรีสอร์ตธรรมชาติจำนวน 50 ห้อง โรงแรมขนาด ห้าดาว 2 แห่ง แห่งแรกอยู่ติดริมแม่น้ำโขงจำนวน 120 ห้อง และแห่งที่ 2 เป็นโรงแรมบริเวณไหล่เขาอีก 200 ห้อง

มีท่าเรือนำเที่ยว ซึ่งจะนำนักท่องเที่ยวล่องเรือจากเมืองห้วยทรายลงไปถึงเมืองหลวงพระบาง

นอกจากนี้ยังมีสนามกอล์ฟขนาดมาตรฐาน 18 หลุม สวนสาธารณะ บ่อเลี้ยงปลาบึก ขนาดลึก 25 เมตร พร้อมปรับภูมิทัศน์เหนือบ่อเลี้ยงปลาบึกให้เป็นน้ำตก

ที่สำคัญคือเขาพระพุทธองค์ ซึ่งจะประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้บนยอดเขา ส่วน บริเวณภูเขาจะก่อสร้างองค์พญานาคขนาดใหญ่ในลักษณะพันรอบเขา ตั้งแต่เชิงเขาขึ้นไปจนถึงยอด

ด้านล่างของเขาพระพุทธองค์จะสร้างเป็นสวนป่าธรรมชาติ เพื่อให้คนเข้ามานั่งทำสมาธิ

(สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่ www.aacgreencity.com) บริษัทเอเอซี กรีนซิตี้ ลาว เริ่มเข้ามาปรับปรุงพื้นที่ตั้งแต่ปลายปี 2551

สิ่งที่ทำให้ความเชื่อของเธอยิ่งหนักแน่นขึ้นก็คือในวันที่ทำพิธีเปิดโครงการเมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 มีผู้พบเห็นแสง ไฟผุดขึ้นกลางแม่น้ำโขง สร้างความแตกตื่น ให้กับผู้คนที่มาร่วมงานและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงเป็นอันมาก

เธอเชื่อว่าพื้นที่ซึ่งเธอกำลังจะเข้ามาพัฒนานั้นเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เธอจึงได้สร้างศาลพญานาคไว้ ณ จุดที่มีผู้พบเห็นแสงไฟ ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นบริเวณปากถ้ำพญานาค

"เราตั้งใจเข้ามาช่วยพวกเขา คนแถวนี้เดิมเป็นชาวบ้าน เป็นชนเผ่า เร่ร่อนแผ้วถางป่าไปเรื่อยๆ แต่พอเราเข้ามาสร้าง ที่นี่ เศรษฐกิจของที่นี่ก็จะดีขึ้น แล้วเราก็ให้ชาวบ้านเหล่านี้อยู่กับเรา ทำงานกับเรา เขาจะได้ไม่ต้องย้ายไปที่อื่นอีก" เธออธิบาย

ความหมายคำว่า "ช่วย" ของสิชา คือ

ในบริเวณโครงการนอกจากจะมีการก่อสร้างรีสอร์ต โรงแรม และสนามกอล์ฟแล้ว เธอพยายามคงสภาพพื้นที่เดิมที่เป็นธรรมชาติเอาไว้ให้มากที่สุด

ที่ดินส่วนที่เคยเป็นท้องนา ที่ชาวบ้านเคยใช้ทำนาเพื่อเลี้ยงชีพ เธอก็ยังคงไว้ และให้ทำนาต่อไป โดยนำข้าวที่ได้ขายให้กับโครงการเพื่อนำมาใช้ปรุงอาหารเลี้ยงนักท่องเที่ยว

ภายในที่ตั้งโครงการมีหมู่บ้านชาว ม้งอาศัยอยู่ เมื่อเธอเข้ามาพัฒนาพื้นที่ เธอไม่ได้ให้ชาวม้งเหล่านี้ย้ายออกไป ตรงกันข้าม ยังให้อาศัยอยู่ที่เดิมและรับเข้ามา ทำงานเป็นลูกจ้างในโครงการด้วย

ทั้งท้องนาและหมู่บ้านชาวม้ง สามารถใช้เป็นจุดขายที่โดดเด่นของโครงการได้เป็นอย่างดี หลังจากโครงการนี้ สร้างเสร็จ

ส่วนพื้นที่ซึ่งจำเป็นต้องแผ้วถาง เมื่อพัฒนาเสร็จแล้ว เธอได้ปลูกไม้ผลเอาไว้หลากหลายชนิด ผลผลิตที่ได้ก็จะนำมา ใช้ในโครงการด้วยเช่นกัน

รวมถึงการสร้างตลาดชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงนำผลผลิตของตนมาวางขายให้กับนักท่องเที่ยว

2 ปีที่ผ่านมาสิชาทุ่มเททั้งแรงกายและเวลาให้กับโครงการนาคราชนครอย่างเต็มที่

แต่โครงการนี้ก็ยังต้องพบกับอุปสรรค!!!

ในช่วงที่เธอเริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่ใหม่ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ยังคงถูกชะลอโครงการอยู่ ดังนั้นจึงยังไม่มีความชัดเจนเรื่องของแนวของถนนที่จะเชื่อมต่อจากสะพานไปถึงถนน R3a

ตามความเข้าใจของสิชา เธอคิดว่าจากสะพานลงมา ถนนน่าจะเลียบภูเขาแล้วอ้อมไปทางขวา ผ่านด้านหลังของโครงการนาคราชนคร

สะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 เป็นการร่วมทุนกันระหว่างไทยกับ สป.จีน ฝ่ายละ 50% ที่ผ่านมาการก่อสร้างล่าช้าไปประมาณ 2 ปี กรมทางหลวงของไทยในฐานะเจ้าภาพในการจัดประกวดราคาก่อสร้างได้กำหนดเส้นตาย ใหม่ว่าจะต้องเริ่มก่อสร้างให้ได้ภายในปีนี้ (2553) เพื่อให้ทันกับการเปิดใช้ในปี 2555

ในการนี้ กรมทางหลวงมอบหมายให้บริษัทเอพซิลอน เป็นผู้สำรวจ แนวการก่อสร้าง รวมถึงเส้นทางที่จะเชื่อมต่อจากสะพานไปถึงถนนสาย R3a

การสำรวจเส้นทางมีขึ้นหลังจากที่สิชาได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่แล้ว

การเปิดซองประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้าง กำหนดเอาไว้ในวันที่ 7 มกราคม 2553

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ขณะที่สิชากำลังเร่งงานก่อสร้างโรงแรม ริมแม่น้ำโขงที่ตั้งใจจะให้เสร็จทันเปิดให้บริการได้ในปลายปีนี้ (2553) ได้มีเจ้าหน้าที่ของแผนกโยธาธิการ แขวงบ่อแก้ว มาแจ้งให้เธอทราบว่า แนวถนนที่ต่อจากสะพานจากการสำรวจของบริษัทเอพซิลอนจะหักมาทางซ้าย ตัดผ่านเข้ามายังที่ดินของเธอ ซึ่งจะทำให้เธอต้องเสียเนื้อที่ของโครงการไปถึง 120 ไร่

ที่สำคัญที่สุด แนวถนนใหม่ยังตัดผ่านชุมชน ทำให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นถึง 100 กว่าครัวเรือน ต้องได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเวนคืนที่ดิน

"ไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่ได้รับผลกระทบ แต่ชาวบ้านอีกหลายคนก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย"

สิชาพยายามร้องเรียนต่ออธิบดีกรมทางหลวง ขอให้ชะลอการเปิดซองประกวดราคาออกไปก่อน เพื่อสำรวจหาแนวถนนใหม่ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย

ในการนี้ เธอถึงกับลงทุนว่าจ้างบริษัทสำรวจให้มาสำรวจหาแนวก่อสร้างถนนใหม่ที่มีระยะทางไม่แตกต่างไปจากแนวถนนที่เอพซิลอนสำรวจ เอาไว้ รวมทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อโครงการนาคราชนครและชุมชนรอบข้าง แล้วเสนอผลสำรวจใหม่ต่ออธิบดีกรมทางหลวง

สิชาย้ำว่าการเปลี่ยนแนวถนนเป็นการสร้างความลำบากใจให้กับรัฐบาล สปป.ลาว เป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาล สปป.ลาวเป็นผู้ให้สัมปทานในการพัฒนาที่ดินแปลงนี้กับเธอ ก่อนที่จะมีการสำรวจแนวถนน ดังนั้น หากกรมทางหลวงยังคงแนวถนนไว้ตามที่เอพซิลอน สำรวจเช่นนี้ รัฐบาล สปป.ลาวก็ต้องเวนคืนที่ดินของเธอกลับไปอีก

ถือเป็นการให้สัมปทานใหม่ทับกับสัมปทานเดิม

"เราก็เป็นบริษัทของคนไทย แล้วทำไมหน่วยราชการไทยถึงไม่ให้ความช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน แถมยังไปทำให้ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความอึดอัดอีก" เธอตั้งคำถาม

แต่การร้องเรียนของเธอไม่ประสบผลสำเร็จ

กรมทางหลวงยังคงเปิดซองประกวดราคาตามกำหนด ผลการประกวด ราคา กลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งประกอบด้วย China Railway No.5 Engineering Group Co,.Ltd จาก สป.จีน และบริษัทกรุงธนเอนยิเนียริ่ง จำกัด (ประเทศไทย) เป็นผู้เสนอราคาค่าก่อสร้าง ต่ำสุด 1,431 ล้านบาท

ปัจจุบันนี้โครงการนาคราชนครได้หยุดการก่อสร้างในส่วนของโรงแรมริมแม่น้ำโขง และส่วนอื่นที่คาดว่าจะได้รับผล กระทบจากแนวถนนเอาไว้ก่อน เพื่อรอความชัดเจนของเรื่องนี้

ส่วนการก่อสร้างในส่วนอื่นก็ยังคงเดินหน้า โดยเฉพาะรีสอร์ต 50 ห้องที่คาด ว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปีนี้

ความคืบหน้าในการก่อสร้างของโครงการนาคราชนครและผลกระทบที่ได้รับจากแนวถนนใหม่ คงเป็นสิ่งที่ผู้จัดการ 360 ํ ต้องติดตามและนำเสนอต่อไปเป็นระยะ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us