Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
500 ล้านกีบของสุวรรณี             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

Joint Development Bank Homepage

   
search resources

สุวรรณี พัวไพโรจน์
Banking
ธนาคารร่วมพัฒนา




จากคอลัมน์ "รายงานผู้จัดการ" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2532 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน www.gotomanager.com)

นับย้อนหลังไปประมาณ 4 เดือน ประเทศลาวเพิ่งจะมีนโยบายการธนาคารฉบับแรกที่เป็นรูปเป็นร่างออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด หลังจากที่ได้ใช้เวลาประชุมเครียดเหล่าธนาคารทั่วประเทศนานถึง 7 วัน จนได้ออกมาเป็นมติของสภารัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องหลัก 3 เรื่องด้วยกันคือ นโยบายสินเชื่อ และนโยบายว่าด้วยการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

ความน่าสนใจของลาวไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีนโยบายทางกฎหมายออกมาแน่ชัด แต่ก่อนหน้าที่จะมีตัวบทกฎหมายออกมาอย่างที่ว่า ก็ได้มีบรรดานายธนาคารไทย ทั้งที่เป็นธนาคารยักษ์ใหญ่และไม่ใหญ่ ตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และอีกหลายธนาคาร พากันแวะเวียนข้ามโขงไปเยือนลาวครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อศึกษาลู่ทางในการทำธุรกิจภายใต้ระบบธนาคารกับลาว รวมทั้งเชื้อเชิญบรรดานายธนาคารของลาวให้มาเรียนรู้ระบบธนาคารไทย

แต่สุดท้าย ทางการของลาวกลับอนุมัติการเปิดธนาคารที่เป็นของไทยในลาวเพียง 2 แห่ง คือสำนักงานตัวแทนของธนาคารทหารไทยแห่งหนึ่ง กับอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เป็นใบอนุญาตเปิดธนาคาร ทั้งๆ ที่ไม่มีประสบการณ์การทำธุรกิจธนาคารมาก่อน

"ทางแบงก์ชาติของลาวที่ไม่เห็นพูดถึงเลยว่าต้องผ่านการทำแบงก์มาก่อน จุดสำคัญอยู่ที่ว่าต้องมีทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญต่างหาก" คุณหญิงสุวรรณี พัวไพโรจน์ เจ้าของใบอนุญาตแบงก์ต่างประเทศในลาวซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียว ในขณะนี้กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ธวัช คันธเศรษฐี อดีตผู้จัดการ ธนาคารเมอร์แคนไทล์ สาขาอโศก ซึ่งมีความชำนาญในการทำธุรกิจธนาคารมาหลายสิบปี คือบุคคลหนึ่งที่คุณหญิงกล่าวถึง รวมทั้งการที่ได้พี่เลี้ยงที่ดีอย่างสหธนาคารเข้ามาให้คำปรึกษา ร่วมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จากลาวในหลักสูตรรวบรัด จนสามารถเปิดให้บริการได้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ภายใต้ชื่อของธนาคาร "ร่วมพัฒนา"

ธนาคารไทยสัญชาติลาวที่มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 70% ขณะที่ธนาคารแห่งรัฐของลาว (แบงก์ชาติลาว) เข้าถือหุ้นในส่วน 30% ที่เหลือ

ข้อแตกต่างของธนาคารร่วมพัฒนา ซึ่งถือเป็นธนาคารเอกชนแห่งแรกของลาวกับธนาคารพาณิชย์ของรัฐที่มีอยู่ 2 แห่งในเมืองเวียงจันทน์ อันได้แก่ ธนาคารเชษฐาธิราช กับธนาคารนครหลวงกำแพงนครเวียงจันทน์ ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องอัตราดอกเบี้ย

ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารร่วมพัฒนาจะอยู่ในเรทระหว่าง 8% สำหรับเงินฝากประหยัด (ออมทรัพย์) ส่วนเงินฝากประจำจะเริ่มตั้งแต่ 20% ขึ้นไปจนถึง 26% ขณะที่ธนาคารของรัฐ เงินฝากประหยัดจะตกประมาณ 24% และเงินฝากประจำตั้งแต่ 30%-36% ยกเว้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากรายวัน (กระแสรายวัน) ที่ธนาคารร่วมพัฒนาให้ถึง 2% แต่ธนาคารของรัฐให้เพียง 1.2% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารร่วมพัฒนาอยู่ในระดับ 28-30% ต่ำกว่าธนาคารของรัฐที่จะปล่อยกู้ให้กับธุรกิจต่างๆ ในอัตราเริ่มต้นจาก 24% ขึ้นไปสำหรับเงินกู้ระยะยาวจนถึงสูงสุด 42% สำหรับเงินกู้ระยะสั้น

แต่ทั้งๆ ที่ธนาคารร่วมพัฒนาให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารของรัฐ สิ่งที่ปรากฏในวันเปิดทำการของธนาคารวันแรกก็คือยอดเงินฝากทั้งที่เป็นเงินบาทและเงินกีบจากทั้งพ่อค้า นักธุรกิจชาวไทยและลาว กลับแซงหน้าระบบธนาคารของรัฐเสียอีก

ท่านเลื่อน เสนาขันธ์ รองประธานธนาคารแห่งรัฐของลาว เปิดเผยถึงปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้นว่า มีเงินฝากจากประชาชนเพียง 20 ล้านกีบเท่านั้น ขณะที่อีกกว่า 1,000 ล้านกีบนั้นมาจากยอดเงินฝากของรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่ยอดเงินฝากของธนาคารร่วมพัฒนาที่เป็นของเอกชนล้วนๆ นั้น มีถึง 300 ล้านกีบ กับอีก 7 ล้านบาทไทย (ประมาณเกือบ 200 ล้านกีบ) ซึ่งบรรดาแขกของคุณหญิงสุวรรณีที่ข้ามจากฝั่งไทยไปร่วมงาน พากันเปิดบัญชีเอาไว้

หมายความว่า เพียงวันเดียวธนาคารร่วมพัฒนาสามารถระดมเงินออมได้เท่ากับครึ่งหนึ่งของเงินออมทั้งระบบในลาวเลย

ว่ากันว่า ความสำเร็จที่ธนาคารร่วมพัฒนาได้รับ เป็นจุดที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการธนาคารพาณิชย์ของลาว เพราะนับแต่นี้ไป ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ซึ่งแต่เดิมไม่เคยทำเรื่องการตลาดเท่าไรนัก จะหันมาใช้การตลาดเป็นตัวนำร่องบ้าง โดยขณะนี้ทางธนาคารแห่งรัฐของลาวกำลังอยู่ในช่วงของการศึกษาเรียนรู้อยู่ โดยมีแบงก์ไทยอีกแห่ง คือธนาคารทหารไทย ทำหน้าที่เป็นกุนซือให้

แต่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันก็คือ เพียงธนาคารร่วมพัฒนาเปิดตัวได้ไม่นาน หนึ่งอาทิตย์คล้อยหลังเท่านั้น ธนาคารการค้าต่างประเทศของลาว ซึ่งแต่เดิมดำเนินงานในรูปแบบธนาคารเฉพาะกิจ ทางด้านอิมปอร์ต-เอ็กซปอร์ตเพียงอย่างเดียว เกี่ยวกับเรื่องแอล/ซี การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจและเอกชนที่ต้องติดต่อธุรกิจกับประเทศอื่น ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้า หันมาทำธุรกิจรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปกับเขาด้วยแล้ว

ที่สำคัญ ก็คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารการค้าต่างประเทศของลาวให้แก่ผู้มาฝากเงินนั้น เป็นอัตราเดียวกับที่ธนาคารร่วมพัฒนาใช้อยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกันทุกประการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us