Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
“หนังขงจื๊อ” ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Political and Government




ผมถือโอกาสวันตรุษจีนหลบคลื่นผู้คนในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์เข้าโรงภาพยนตร์ไปดูหนังเรื่อง "ขงจื๊อ (Confucius)"

กลางเดือนมกราคม 2553 ก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีน "ขงจื๊อ" ตกเป็นกรณีโด่งดังไปทั่วโลกเพราะสื่อมวลชนทั่วโลกตีข่าวว่า รัฐบาลจีนได้สั่งให้โรงภาพยนตร์มากกว่า 1,600 แห่งทั่วประเทศหยุดฉายภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวูดเรื่อง "อวตาร (Avatar)" เพื่อเตรียมรับ "ขงจื๊อ" ที่จะเข้าฉายในวันที่ 22 มกราคม

สำหรับสื่อมวลชนตะวันตกและชาวต่างชาติบางส่วนอาจมองว่าการกีดกันภาพยนตร์ต่างชาติเช่นนี้เป็นเรื่องแปลก แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องการ จำกัดโควตาภาพยนตร์ต่างชาติที่ฉายในโรงภาพยนตร์ จีนนั้นมีมานานแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดว่าภาพยนตร์เกี่ยว กับปราชญ์เมธีผู้ยิ่งใหญ่และสร้างให้เป็นสัญลักษณ์ของจีนใหม่เรื่องนี้ รัฐบาลปักกิ่งเป็นหนึ่งในสปอนเซอร์ที่ร่วมลงขันในต้นทุนสร้างและโฆษณารวมกว่า 150 ล้านหยวน หรือกว่า 750 ล้านบาท (ขณะที่ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าใช้ทุนสร้างเพียง 22 ล้านเหรียญฮ่องกงหรือราว 100 ล้านบาท)1

ซึ่งเมื่อลงโรงในจีนแล้ว "ขงจื๊อ" ก็ไม่ทำให้รัฐบาลจีนต้องผิดหวัง เพราะเพียงแค่ 2 สัปดาห์หลังเข้าฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำรายได้กว่า 70 ล้านหยวน (350 ล้านบาท) และอีกไม่กี่วันถัดมาก็ทำรายได้ทะลุร้อยล้านหยวน (ราว 500 ล้านบาท) ได้สำเร็จ ทั้งส่งให้ผู้กำกับคือ หู เหมย ( ) ถูก จารึกชื่อว่าเป็นผู้กำกับหญิงชาวจีนคนแรกที่สร้าง ภาพยนตร์ซึ่งทำรายได้มากกว่าร้อยล้านหยวน

แม้รายได้ของ "ขงจื๊อ" จะไม่คุ้มทุนและเทียบไม่ได้แม้สักนิดกับ "อวตาร" หนังไซไฟทุบสถิติ บอกซ์ออฟฟิศที่ทำรายได้ทั่วโลกมากกว่า 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 77,000 ล้านบาท แต่ความสำเร็จดังกล่าวก็ส่งผลให้มีข่าวออกมาว่า ภาพยนตร์ขงจื๊อกำลังจะมีภาคต่อตามมาอีก โดยเนื้อหาของภาคต่อคาดการณ์กันว่าจะเป็น "ภาคปฐมบทขงจื๊อ ( ) ซึ่งจะกล่าวถึงต้นกำเนิด การเติบใหญ่ของปราชญ์จีนผู้นี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง ขงจื๊อกับสานุศิษย์ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างขงจื๊อ กับครอบครัวด้วย โดยบทภาพยนตร์ของปฐมบทขงจื๊อนั้นเขียนเสร็จแล้วและน่าจะเปิดกล้องได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้2

ผมคงไม่ใช้คอลัมน์นี้เพื่ออธิบายถึงประวัติของขงจื๊อ อิทธิพลคำสอนของขงจื๊อและลัทธิขงจื๊อ ( ) ที่มีต่อประเทศจีน ชาวจีนและชาวโลกให้ยืดยาวนักเพราะท่านผู้อ่านหลายท่านก็คงพอทราบมา บ้างแล้ว และจริงๆ ตามร้านหนังสือหรือในอินเทอร์ เน็ตก็หาข้อมูลเรื่องนี้ได้ไม่ยากเย็นนักทั้งภาษาไทย ภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ ผมเพียงขอกล่าวถึงอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อสั้นๆ ว่า เกือบทุกประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เวียดนาม รวมถึงประเทศที่อยู่ในคาบสมุทรมลายู นั้นต่างถูกจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวงประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ ( ) ด้วยกันทั้งสิ้น

แล้ว "หนังขงจื๊อ" เป็นเครื่องมือ ทางการเมืองได้อย่างไร?

เป็นที่ทราบกันในแวดวงสื่อสาร มวลชนทั่วโลกว่า หลังสงครามโลกครั้ง ที่สองเป็นต้นมา อาณาจักรของการ สื่อสารระหว่างประเทศนั้นถูกครอบครองโดยสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนมาก จนกลายเป็นส่วนเสริมของจักรวรรดินิยมอเมริกันไป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี เนื้อหา การศึกษาและอุดมการณ์ทางวิชาชีพ จนมีผู้เปรียบเทียบว่าระบบการสื่อสารมวลชนยุคใหม่ที่ถูกก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาในแต่ละประเทศในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงส่วนขยายของความเป็นอเมริกันเท่านั้นเอง3

ด้วยเหตุนี้ การที่จีนจะปูทางให้ตัวเองสามารถ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกทัดเทียมกับสหรัฐ อเมริกาได้อย่างเต็มตัวนั้น จีนต้องบ่อนเซาะแนวคิด แบบอเมริกันและเข้าไปกินพื้นที่ทางการสื่อสารระหว่างประเทศให้ได้เสียก่อน ด้วยเหตุนี้เองเราจึงสังเกตเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสำนักข่าวซินหัว ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานมากกว่าหนึ่งหมื่นคน (เทียบกับสำนักข่าวรอยเตอร์ที่มีเพียงไม่กี่พันคน) และตีพิมพ์สิ่งพิมพ์กว่า 8 ภาษา การขยายตัวและเปิดช่องใหม่ๆ ของสถานีโทรทัศน์กลางแห่งประเทศ จีน (ซีซีทีวี) ที่ปัจจุบันมีช่องกว่า 20 ช่องและแพร่ภาพทั้งในภาษาจีน อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อารบิก รวมถึงภาษารัสเซีย รวมไปถึงความพยายามแทรก ซึมเข้าไปควบคุมและครอบงำสื่อในจุดยุทธศาสตร์สำคัญอย่างเช่น ฮ่องกง และไต้หวันอีกด้วย

เมื่อดูภาพยนตร์กึ่งสารคดีเรื่องนี้และพิจารณา จากองค์ประกอบหลายๆ ประการ ทำให้ผมเชื่อได้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนคงไม่ได้สนับสนุนการสร้างและการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยจุดประสงค์ในการสั่งสอนประชาชน เสริมสร้างอิทธิพลทางความคิดภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว

ทว่า มีความต้องการที่จะใช้ "ภาพยนตร์ขงจื๊อ" เป็นหัวหอกในการเผยแพร่วัฒนธรรมและแนวคิดของจีน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนผ่าน "สถาบันขงจื๊อ" ในต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั่นเอง

การหยิบใช้โจว เหวินฟะ (Chow Yun-Fat) หรือชื่อในภาษาจีนกลางคือ "โจว รุ่นฟา" ดาราจีนฮ่องกง ซึ่งก้าวขึ้นไปมีชื่อเสียงในระดับฮอลลีวูดแล้วมาแสดงเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เช่นนี้นั้น (ทั้งที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่า โจวติดภาพลักษณ์ของการเป็นนักแสดงหนังกังฟู อีกทั้งพูดภาษาจีนกลางไม่ค่อยชัด โดยเฉพาะการถ่ายทอดภาษาจีนโบราณของขงจื๊อที่ค่อนข้างซับซ้อน) แน่นอนว่าผู้คัด เลือกนักแสดงย่อมคิดแล้วคิดอีกว่า ในเชิงการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพที่สุดแล้วควรจะใช้ใคร เพราะหากเลือกดารานักแสดงในประเทศ ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักในระดับสากลมาสวมบทเป็นขงจื๊อแล้ว คงเป็นเรื่องยาก ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างผลสะเทือนหรือการจดจำ ต่อโลกภายนอกและชาวต่างชาติได้

ประเด็นต่อมา นับจากการหันหลังกลับแบบ 180 ฅงศาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสังคมจีน ที่แต่ไหนแต่ไรมาประณามวัฒนธรรมและคำสอนของขงจื๊อว่าเป็นวัฒนธรรมที่ล้าหลัง เพราะโอนอ่อนให้กับการกดขี่โดยผู้ปกครองในยุคศักดินา ถึงวันนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กลายเป็นผู้ปกครองเสียเอง ดูเหมือนตกผลึกแล้วว่านักปราชญ์เมธีผู้นี้นอกจากจะเป็นตัวแทนด้านจิตวิญญาณของสังคมจีนแล้ว ขงจื๊อก็น่าจะเป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ที่ดูจะสมบูรณ์ พร้อมที่สุดในการปรากฏแก่สายตาชาวโลกได้

นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอีก 2 ศาสนา/ลัทธิที่ฝังรากหยั่งลึกในแผ่นดินจีนคือ ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าแล้ว สิ่งที่ขับให้ "ขงจื๊อ" โดดเด่นขึ้นมา ก็คือลัทธิขงจื๊อเป็นลัทธิ ที่ถือกำเนิดเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินจีน แต่ผิดกับลัทธิเต๋าตรงที่ขงจื๊อไม่ปฏิเสธการดำรงอยู่ร่วมกันของชุมชนของสังคม และประเทศ ชาติ โดยในตอนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถ่ายทอดความเชื่อมโยงของสองลัทธิ โดยระหว่างตกระกำลำบาก ขงจื๊อได้พบและสนทนากับเล่าจื๊อ (เหลาจื่อ ศาสดาของลัทธิเต๋า) โดยขงจื๊อได้ตอบปฏิเสธทัศนคติแบบมุ่งการละวางและแสวงหาหนทางกลับคืนสู่ธรรมชาติของเล่าจื๊อ

ด้วยเหตุนี้ หลักปรัชญาของลัทธิขงจื๊อจึงเน้น เกี่ยวกับการจัดการสังคมให้เป็นระเบียบ เน้นเรื่องศีลธรรมส่วนบุคคลและศีลธรรมในการปกครอง โดยมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและการเมืองในยุคชุนชิว ซึ่งเป็นสภาพสังคมจีนก่อนยุคศักดินาเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว โดยย้ำว่าขุนนางต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง บุตรต้องเชื่อฟังบิดา และภรรยาต้องเชื่อฟังสามี โดยความสัมพันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของสัมพันธภาพ 5 ประการ ได้แก่ มนุษยธรรม เหริน ( ) ทำนองคลองธรรม อี้ ( ) จารีตประเพณี หลี่ ( ) ปัญญาธรรม จื้อ ( ) สัตยธรรม ซิ่น ( ) สังคมและประเทศชาติจึงจะร่มเย็นเป็นสุข

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าปรัชญาของลัทธิขงจื๊อและภาพสะท้อนที่ถ่ายทอดผ่านออกมาทางภาพยนตร์ เรื่องนี้ ส่วนหนึ่งก็อาจจะสามารถตีความได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แม้กาละของเรื่องราวในภาพยนตร์จะแตกต่างจากปัจจุบันยาวนาน กว่าสองพันห้าร้อยปีก็ตามที

หมายเหตุ :
1 ข่าวจาก http://english.sina.com/entertainment/2010/0124/301465.html

2 ข่าวจาก http://ent.sina.com.cn/m/c/2010-02-11/18462874785.shtml

3 บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา, ฐานันดรที่สี่ จากระบบโลกถึงรัฐไทย, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พับลิคบุเคอรี, พ.ศ.2552 หน้า 52-53.

อ่านเพิ่มเติม :

บทความเกี่ยวกับความพยายามสร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศจีนได้ดังนี้
- หลังฉากพิธีเปิด Beijing Olympics (กันยายน 2551)
- อำนาจละมุนของจีน (สิงหาคม 2551)
- ขงจื๊อ+จางจื่ออี๋=? (กุมภาพันธ์ 2550)
- "จีน"กับการขาดดุลวัฒนธรรม (พฤษภาคม 2549)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us