Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
ปลดพนักงาน ได้ไม่คุ้มเสีย             
 


   
search resources

Economics




การลอยแพพนักงานทำร้ายทั้งพนักงานและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงผลกำไรของบริษัทนั้นด้วย

หลังเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ "9//11" เมื่อปี 2001 สายการบินทุกแห่งในอเมริกายกเว้นเพียงแห่งเดียว ต่างทำในสิ่งที่บริษัทในอเมริกาถนัดที่สุด นั่นคือการปลดพนักงานนับหมื่นๆ คน ในวันนี้ สายการบินแห่งเดียวที่ไม่ได้ปลดพนักงานในครั้งนั้นและไม่เคยปลดพนักงานแบบไม่สมัครใจเลย ตลอดประวัติศาสตร์เกือบ 40 ปีของบริษัท คือ Southwest กลายเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีมูลค่าตลาดสูงกว่าสายการบินในประเทศที่เป็นคู่แข่งทั้งหมดรวมกัน อดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของสายการบินนี้เคยกล่าวว่า ถ้าหากว่าคนเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของคุณจริงๆ คุณจะกำจัดพวกเขาไปทำไม

น่าเสียดายที่ผู้บริหารอเมริกันส่วนใหญ่ไม่คิดเช่นนั้น แม้ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มฟื้นตัวจาก "การถดถอยครั้งใหญ่" (Great Recession) แล้ว แต่สหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาการว่างงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบหนึ่งชั่วคน อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ สูงถึง 10% แม้ว่าจะเริ่มลดลงเล็กน้อยในเดือนมกราคม (เหลือ 9.7%) ก็ตาม ขณะนี้มีคนอเมริกันตกงานถึง 14.8 ล้านคน และมีคนที่มีงานทำแบบไม่เต็มเวลาอีก 9.4 ล้านคน ทำให้จำนวนคนตกงาน และว่างงานแฝงในสหรัฐฯ มีมากกว่า 24 ล้านคน

ปกติบริษัทมักลอยแพพนักงานในช่วงที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การปลดพนักงานของบริษัทอเมริกันเกิดขึ้นบ่อยมาก จนคล้ายกับเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งยังเกิดขึ้น ไม่ว่า ในช่วงเศรษฐกิจดีหรือร้ายๆ หรือทั้งๆ ที่บริษัทยังคงมีกำไรดี บางอุตสาหกรรมถึงกับลดขนาดบริษัทตลอดกาล อย่างเช่นอุตสาหกรรม รถยนต์ ที่ปลดพนักงานมาตลอดหลายทศวรรษติดต่อกันแล้ว

การปลดพนักงานจำเป็นเมื่อบริษัทต้องรักษาตัวให้อยู่รอด เช่นในยามที่อุตสาหกรรมกำลังจะตายหรือกำลังหดตัวลงเรื่อยๆ บริษัทจึงจำต้องลดขนาดลงเพื่อปรับตัวตามตลาดที่หดตัวลง อย่างที่เกิดกับอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หรือการที่คู่แข่งรับแรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงถูกกว่า ก็เป็นเหตุผลสมควรสำหรับการลดขนาดบริษัทหรือปลดพนักงาน แต่การปลดพนักงานที่เกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในบริษัทการเงิน ห้างค้าปลีก บริษัทเทคโนโลยี และอื่นๆ กลับไม่ใช่เพื่อความอยู่รอด แต่ด้วยเหตุผลที่คล้ายกับสายการบินต่างๆ ที่ปลดพนักงานหลังเหตุการณ์ "9/11" คือเพียง เพราะความต้องการของผู้บริโภคลดลงชั่วคราว บริษัทส่วนใหญ่ที่ปลดพนักงานในครั้งนี้ ก็เพียงเพื่อไม่ให้กระทบกับผลกำไรเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอด

การลดขนาด (downsizing) การปรับขนาด (right-sizing) หรือการปรับโครงสร้าง (restructuring) แล้วแต่ใครจะเรียกให้ไพเราะเพราะพริ้งอย่างไรก็ได้ กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไป ในหลักการบริหารจัดการสมัยใหม่ แต่ขณะนี้มีผลการศึกษาวิจัยทางวิชาการมากมายที่ชี้ว่า บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลไปกับการ ปลดพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงอย่างการจ่ายเงินชดเชย การเลิกจ้าง การจ่ายเงินช่วยพนักงานหางานใหม่ และทางอ้อมอย่างขวัญกำลังใจและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ลดลง เนื่องจากความกลัวว่าจะถูกลอยแพเป็นรายต่อไป ผลการศึกษายังพบอีกว่า ความเชื่อที่ว่า การลดขนาดจะทำให้ราคาหุ้นของบริษัท ดีขึ้นหรือเพิ่มผลกำไร เป็นความเชื่อที่ผิด การถูกปลดออกจากงานยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานที่ถูกปลด และยังกระทบต่อไปถึงเศรษฐกิจของประเทศ

ผลการศึกษาใน 20 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) พบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของประสิทธิภาพแรงงาน สูงกว่า ในประเทศที่มีระบบการควบคุมอุตสาหกรรมสัมพันธ์ที่เข้มงวดกว่า ซึ่งหมายถึงประเทศที่มีข้อห้ามไม่ให้อุตสาหกรรมปลด พนักงานได้ง่ายๆ

แต่ในช่วง 10 ปีมานี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างเดินตามรอยอเมริกาและนิยมปลดพนักงาน ผู้บริหารในสวีเดนกล่าวว่า สวีเดนควรจะทำให้บริษัทปลดพนักงานได้ง่ายขึ้น ในญี่ปุ่น มีการโจมตีแนวคิดการจ้างงานตลอดชีพ มีเสียงเรียกร้องรายวันในหลายประเทศยุโรป ให้ทำตามอย่างอเมริกา และทำให้ตลาดแรงงาน "ยืดหยุ่น" มากกว่านี้

แต่ผลการศึกษาวิจัยมากมายกำลังชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า การปลดพนักงานอาจไม่ใช่วิธีที่ได้ผล ศาสตราจารย์ Wayne Cascio แห่งมหาวิทยาลัย Colorado แจกแจงค่าใช้จ่ายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่เกิดจากการปลดพนักงาน ได้แก่ การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างในวันลาต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการช่วยหางานใหม่ การเสียภาษีประกันการว่างงานในอัตราที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการจ้างกลับเมื่อธุรกิจดีขึ้น ขวัญกำลังใจพนักงานที่เหลืออยู่ลดลงและอาจต่อต้านบริษัท ความเสี่ยงจากการถูกพนักงานที่ถูกปลดฟ้องร้อง หรือพนักงานที่ถูกปลดอาจก่อเหตุร้ายหรือก่อความรุนแรงในที่ทำงาน การสูญเสียความจำและความรู้ที่เกี่ยวกับบริษัท การเสื่อมศรัทธาในฝ่ายบริหาร และประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง

ผลการศึกษาการลอยแพพนักงาน 141 ครั้งระหว่างปี 1979-1997 ในสหรัฐฯ และอีก 1,445 ครั้ง ระหว่างปี 1990-1998 พบว่านอกจากจะไม่ช่วยให้ราคาหุ้นของบริษัท ดีขึ้นอย่างที่เชื่อกันแล้ว ยังกลับส่งผลลบและยิ่งลอยแพพนักงานมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลลบมากเท่านั้น ผลการศึกษาเปรียบเทียบการปลดพนักงาน 300 ครั้งในสหรัฐฯ และ 73 ครั้งในญี่ปุ่นพบว่า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นมากผิดปกติกว่าประเทศอื่น

ผลการศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท ระหว่างปี 1977-1987 ในบริษัทอเมริกันกว่า 140,000 แห่งพบว่า การเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตในช่วงทศวรรษ 1980 นั้น ไม่ได้เป็นผล มาจากการลดขนาดบริษัท ศาสตราจารย์ Peter Cappelli แห่งมหาวิทยาลัย Wharton ศึกษาพบว่า แม้ต้นทุนแรงงานต่อพนักงานจะลดลงเมื่อบริษัทลดขนาด แต่ยอดขายต่อพนักงานก็ลดลงเช่นกัน

การปลดพนักงานไม่ช่วยให้ผลกำไรของบริษัทดีขึ้นเสมอไป โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องพึ่งพาการวิจัยและพัฒนาอย่างมาก รวมถึงบริษัทที่การเติบโตต้องอาศัยยอดขาย การศึกษาบริษัทที่อยู่ในดัชนี S&P 500 พบว่า บริษัทที่ลดขนาดยังคงมีผลกำไรน้อยกว่าบริษัทที่ไม่ได้ลดขนาด ผลการสำรวจของสมาคมบริหารจัดการอเมริกัน (AMA) ต่อบริษัทที่ปลดพนักงานว่า รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับผลของการปลดพนักงานพบว่า มีเพียงครึ่งเดียวที่บอกว่า การลดขนาดทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น และมีเพียง 1 ใน 3 ของบริษัทเหล่านั้นที่บอกว่า ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น

แม้กระทั่งการเชื่อว่า การปลดพนักงานจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัท ก็ยังไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะเมื่อประกาศปลดพนักงาน สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ พนักงานจะลาออก และส่วนใหญ่มักจะเป็นพนักงานที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นพนักงานที่ไม่ถูกปลด และเป็นคนที่หางานใหม่ได้ง่ายกว่า ผลก็คือ บริษัทกลับต้องสูญเสียคนงาน ที่ไม่ต้องการจะสูญเสียไป ผลสำรวจของ AMA พบว่า 1 ใน 3 ของบริษัทที่ปลดพนักงาน มักต้องจ้างพนักงานที่ถูกปลดกลับไปทำงาน ใหม่ แม้จะไม่ใช่ในฐานะพนักงานประจำ เพราะความสามารถของพวกเขายังเป็นที่ต้องการของบริษัท

AMA ยังศึกษาพบว่า 88% ของบริษัทที่ลดขนาดยอมรับว่า การลดขนาดส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน และทำให้พนักงาน รู้สึกกลัว เพราะรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในบริษัทที่ไม่เห็นคุณค่าของพนักงาน พนักงานจะต่อต้านและเลิกไว้ใจฝ่ายบริหาร บางครั้งมีพฤติกรรม ที่บ่อนทำลายบริษัท โดยพบว่าพนักงานในห้างค้าปลีกขโมยสินค้า เสียเอง มากกว่าลูกค้าเสียอีก

ผู้บริหารที่นิยมการปลดพนักงานมักชอบเปรียบว่า เป็นการ สละบางส่วนเพื่อรักษาส่วนใหญ่ แต่อันที่จริง การปลดพนักงานเปรียบเหมือนการเสียเลือดมากกว่า ซึ่งจะทำให้ส่วนรวมอ่อนแอลง เพราะการปลดพนักงานจะก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์คือ เมื่อบริษัทปลด พนักงาน การบริการลูกค้า การสร้างสรรค์นวัตกรรม และประสิทธิ ภาพการทำงานจะลดลง เนื่องจากพนักงานมีจำนวนน้อยลงและเกิดความท้อใจ ทำให้บริษัทยิ่งสูญเสียลูกค้า ก็ยิ่งปลดพนักงาน กลายเป็นวงจรอุบาทว์ต่อไป อย่างเช่นที่เกิดกับ Circuit City ห้างขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปลดพนักงานที่ได้รับค่าจ้างสูงสุด 3,400 คน ซึ่งเกือบจะแน่นอนว่า เป็นพนักงานที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุดด้วย โดยหวังว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้ การเหลือพนักงานน้อยลง แถมยังมีประสิทธิภาพด้อยลง เป็นโอกาสให้คู่แข่งอย่าง Best Buy ได้เปรียบ วงจรอุบาทว์จึงได้เกิดกับ Circuit City จนในที่สุด บริษัทก็ล้มละลายในปี 2008 และต้องปิดตัวสิ้นชื่อในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว

การปลดพนักงานยังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ John Maynard Keynes ปรมาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ บอกเราไว้ตั้งแต่หลายทศวรรษก่อนแล้ว เมื่อคนตกงานก็ไม่มีรายได้ ก็ต้องใช้เงินน้อยลง และแม้กระทั่งพนักงานที่ไม่ถูกปลด ก็ไม่กล้าใช้เงิน เพราะไม่รู้ว่าจะถูกปลดในคราวต่อไปหรือไม่ เมื่อความต้องการซื้อสินค้าน้อยลง การขายก็ลดลง ทำให้บริษัทต้องปลดพนักงานต่อไปอีก และวงจรอุบาทว์ก็ระบาดไปถึงเศรษฐกิจโดยรวม นี่คือเหตุผลที่ทำให้ประเทศที่มีการควบคุมเรื่องการปลดพนักงานที่เข้มงวดกว่า อย่างเช่นฝรั่งเศส กลับสามารถยืนหยัดต้านวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีกว่า เพราะพนักงานในฝรั่งเศสมีความเชื่อมั่นว่า พวกเขาจะไม่ถูกปลดง่ายๆ จึงไม่จำเป็นต้องลดการใช้จ่ายมากนัก

อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่บริษัทจะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา สำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อประกาศปลดพนักงาน เช่น อย่าประกาศว่าจะปลดพนักงานโดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า ใครบ้างที่จะถูกปลด เพราะจะทำให้พนักงานทุกคนกลัว และจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง บริษัทที่ปฏิบัติต่อพนักงานที่ถูกปลดอย่างมีมนุษยธรรม ด้วยการให้เงินชดเชยการถูกเลิกจ้างที่เหมาะสม ให้โอกาสได้ล่ำลาเพื่อน จะช่วยลดผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของพนักงานที่เหลือ บริษัทควรจะเปิดเผยให้ชัดเจน ถึงเหตุผลที่ต้องปลดพนักงาน และควรปลดผู้บริหารบางส่วนด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการเฉลี่ยความเจ็บปวด

การปลดพนักงานไม่เพียงทำร้ายบริษัทและเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ถูกทำร้ายมากที่สุดคือตัวพนักงานเอง ในหลายกรณี สิ่งที่พวกเขาต้องสูญเสียอาจหมายถึงชีวิต ในสหรัฐฯ การตกงานหมายถึงการสูญเสียการประกันสุขภาพด้วย ผลการศึกษาพบว่า การไม่มีประกันสุขภาพ สัมพันธ์กับอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น พนักงาน ที่โกรธแค้นและเสียใจที่ถูกปลด และรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม อาจสูญเสียการควบคุมตัวเองและแก้แค้นคนที่เขาคิดว่า เป็นต้นเหตุ ด้วยการทำร้ายหรือฆ่า ผลการศึกษาพบว่า คนที่ไม่เคย มีประวัติว่ามีพฤติกรรมรุนแรง สามารถจะแสดงพฤติกรรมที่รุนแรง ได้สูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า หากถูกปลดออกจากงาน

ผลการศึกษาในนิวซีแลนด์พบว่า คนที่มีอายุระหว่าง 25-64 ปีที่ตกงาน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงขึ้น 2.5 เท่า และพบว่า การทำร้ายตัวเอง และการป่วยทางจิต เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในคนที่ถูกปลดออกจากงาน ส่วนในสหรัฐฯ ผลวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจ แห่งชาติพบว่า การปลดพนักงานทำให้อัตราการตายเพิ่มขึ้น 15-20% หรือเท่ากับอายุขัยของพนักงานที่ถูกปลด สั้นลง 1.5 ปี แม้แต่ประเทศที่รัฐบาลมีสวัสดิการที่ดีมากแก่ประชาชนอย่างสวีเดน ก็ยังพบว่า อัตราการตายเพิ่มขึ้น 44% ในช่วง 4 ปีแรกหลังถูกปลด ออกจากงาน

นอกจากนี้ยังพบอัตราการติดสุรา บุหรี่ การใช้ยาเกินขนาด และโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงทำร้ายสุขภาพของตัวพนักงานเอง แต่ยังกลายเป็นภาระที่ตกหนักอยู่กับสังคมด้วย

แม้จะมีหลักฐานมากมายขนาดนี้ที่ยืนยันว่า การลดขนาดส่งผลในด้านลบมากกว่าด้านดี แต่ผู้บริหารก็ยังคงไม่หยุดปลดพนักงาน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผลการศึกษาเรื่องการลดขนาดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาพบว่า เกิดพฤติกรรม "เลียนแบบ" ในหมู่บริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังอาจเป็นเพราะแรงกดดันที่ผู้บริหารได้รับจากสื่อ จากนักวิเคราะห์ และจากบริษัทอื่นๆ จึงต้องทำตามๆ กันไป

ความเสียหายที่เกิดจากการลดขนาดอย่างพร่ำเพรื่อจะยังคงไม่จางหายไปง่ายๆ แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะกำลังฟื้นตัวแล้ว และเมื่อนั้นบรรดาผู้บริหารอาจจะได้เรียนรู้บทเรียนจากความผิดพลาดของตัวเอง

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us