Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
จีน VS อเมริกา             
 


   
search resources

International
Political and Government




เหตุใดจีนจึงไม่สนใจที่จะเดินตามสหรัฐฯ อีกต่อไป

ในช่วงทศวรรษ 1980-90 จีนกระตือรือร้นสนใจอเมริกาอย่างมาก ในขณะนั้น ผู้นำจีนกำลังพยายามจะทำให้จีนปรับตัวเพื่อให้เข้ากับระบบโลกที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ และสิ่งที่พวกเขาสนใจใคร่รู้เป็นพิเศษคือ สหรัฐฯ มองจีนอย่างไร แต่ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เลิกให้เงินทุนสนับสนุนนักวิชาการจีนทำการศึกษาวิจัยภาคสนามในสหรัฐฯ แล้ว ส่วนจีนเองนอกจากจะไม่สนใจอเมริกาเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ยังเอาแต่บ่นว่า ข่มขู่และปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในปัญหาของโลก

ความไม่พอใจสหรัฐฯ ล่าสุดของจีนคือการที่ประธานาธิบดี Obama พบกับองค์ดาไลลามะ ผู้นำจิตวิญญาณของทิเบต และการที่สหรัฐฯ ขายอาวุธให้ไต้หวันเป็นมูลค่า 6.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีทั้งขีปนาวุธ Patriot และเฮลิคอปเตอร์ Blackhawk ทำให้จีนสั่งระงับการแลกเปลี่ยนระหว่างกองทัพจีนกับกองทัพอเมริกันทันที เป็นครั้งแรกที่ประกาศลงโทษบริษัทขายอาวุธของสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย แทนที่จะแอบคว่ำบาตรแบบเงียบๆ เหมือนในอดีต และที่สุดของการไม่ไว้หน้าสหรัฐฯ เลยก็คือเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี Wen Jiabao ของจีน กล่าววิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในการประชุม World Economic Forum ที่ Davos เมื่อ 1 ปีก่อน

สื่อทางการจีนบอกว่า อะไรๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว The Global Times (ในเครือของ People's Daily) ซึ่งมักจะวิพากษ์วิจารณ์ชาติตะวันตกบอกว่า มีเหตุผล 2 อย่างที่ทำให้ "น้ำเสียง" ของจีนเมื่อกล่าวถึงสหรัฐฯ เปลี่ยนไป ประการแรกคือ ความคิดเห็นสาธารณะของชาวจีนเปลี่ยนแปลงไป และชาวจีนก็เบื่อหน่าย การเล่นเกมการเมืองของสหรัฐฯ มานานแล้ว ประการที่ 2 คืออำนาจที่เพิ่มขึ้นของจีน

ท่าทีของจีนในระยะหลังอาจทำให้โลกตะวันตกคิดว่า จีนเย่อหยิ่งผยองเพราะความสำเร็จที่ได้รับในระดับโลก แต่แท้ที่จริงอาจเป็นเพราะผู้นำจีนรู้สึกถึงความไร้เสถียรภาพภายในประเทศ หาใช่เป็นเพราะผู้นำจีนเลิกสนใจว่า สหรัฐฯ กำลังคิดอะไรไม่

สิ่งที่กำลังทำให้ผู้นำจีนรู้สึกวิตก มากกว่าความคิดของคน อเมริกันที่มีต่อจีน คือความคิดของคนจีนธรรมดาทั่วไป ที่มีต่อรัฐบาลจีนเอง ความรุ่งเรืองมั่งคั่งของจีน และการที่จีนติดต่อสื่อสาร กับโลกภายนอกมากขึ้น กำลังทำให้รัฐบาลควบคุมประชากรที่มีมากกว่า 1.3 พันล้านคนของจีนได้ยากขึ้นกว่าเดิม ขณะนี้บรรดา แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่างต้องติดตามความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนอย่างใกล้ชิด Wang Jisi ผู้เชี่ยวชาญด้านสหรัฐฯ จากมหาวิทยาลัย Peking ชี้ว่า ทุกวันนี้รัฐบาลจีนจำเป็นต้องใส่ใจความรู้สึกชาตินิยมที่กำลังเพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน และเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า สหรัฐฯ กำลังหมดความสำคัญกับจีน

ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่จีนทุ่มเททั้งเวลาและทรัพยากรจำนวนมากกับการติดตามความรู้สึกนึกคิดของประชาชน มีทั้งการทำผลสำรวจทางสังคม และแม้กระทั่งส่งนักวิจัยแฝงตัวเข้าไปหมู่ประชาชน เพื่อจะรู้ให้ได้ว่า พวกเขาคิดเห็นเรื่องอะไรอย่างไร และแหล่งข้อมูลอันดับ 1 ของรัฐบาลจีนในการที่จะรู้ความรู้สึก นึกคิดที่แท้จริงของชาวจีน ก็คือ อินเทอร์เน็ต

ความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตชาวจีนเขียนลงในอินเทอร์เน็ตถูกรัฐบาลจีนมองว่า เป็นมาตรวัดความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนที่สำคัญมาก เพราะจีนมีประชากร "Netizen" ถึง 384 ล้านคน หรือมากกว่าในอเมริกาถึง 150 ล้านคน บรรดาผู้นำจีนจะติดตามและสนใจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลกำลังจะตัดสินใจเรื่องสำคัญ

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนส่วนใหญ่เป็นคนในเมือง อายุน้อย และเป็นเพศชาย หรือเท่ากับเป็นคนกลุ่มที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ที่พร้อมจะใช้วาจาก้าวร้าวรุนแรง ตำหนิติเตียนความอ่อนแอของรัฐบาลจีน รัฐบาลจีนไม่ผิดที่จะต้องวิตกว่าคนกลุ่มนี้คิดอย่างไร เพราะคนกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่เป็นไปได้มากที่สุด ที่จะออกไปสร้างปัญหายุ่งยากทางการเมืองตามท้องถนน

แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลจีนอาจละเลยความรู้สึกนึกคิดของคนในโลก ที่กำลังไม่พอใจการกระทำของจีนในเวทีระหว่างประเทศ หลายๆ ประเทศนึกอิจฉามากอยู่แล้ว ที่จีนสามารถจะฟื้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้อย่างรวดเร็ว และมีอัตราการเติบโตสูงถึง 10.7% ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งยิ่งทำให้ใครๆ ต่างคาดหวัง ให้จีนเล่นบทบาทที่สร้างสรรค์มากกว่านี้ในเวทีโลก แต่จีนกลับยังคงเป็นประเทศเดียวในหมู่ชาติมหาอำนาจโลกที่ยืนกรานคัดค้านการออกมาตรการลงโทษอิหร่าน และในการประชุมแก้ปัญหาโลกร้อนที่ Copenhagen เมื่อปีก่อน ผู้แทนของจีนถูกตำหนิที่ไม่มีส่วนช่วยอะไรเลย แถมยังแสดงท่าที เป็นเชิงดูหมิ่นประธานาธิบดี Obama และไม่สนใจเสียงเรียกร้องของนานาชาติให้ปรับค่าเงินหยวน ซึ่งจะต้องกลายเป็นประเด็น ร้อนแรงทางการเมืองแน่นอน ในเมื่อปัญหาคนตกงานยังคงเพิ่มขึ้นในชาติตะวันตก

คงไม่มีครั้งใดที่จีนกับสหรัฐฯ จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ กันให้มากกว่านี้ มากไปกว่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้จีนกับสหรัฐฯ เข้าใจกันน้อยลง ก็อาจต้องโทษสหรัฐฯ เองที่เลิกสนับสนุนเงินทุนให้แก่นักวิจัยของจีน เพื่อเข้าไปทำการศึกษาวิจัย เรื่องภายในของสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้จีนเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของคนอเมริกันมากขึ้น ขณะนี้นักวิจัยชาวจีนได้เปลี่ยนไปศึกษาเรื่องของสหรัฐฯ เพียงเฉพาะประเด็น ที่เห็นชัดเจนว่าจะส่งผลกระทบ ต่อผลประโยชน์ของจีนเท่านั้น อย่างเช่น เศรษฐกิจโลก การแก้ ปัญหาโลกร้อนหรือปัญหาพลังงาน

Wang จากมหา วิทยาลัย Peking ชี้ว่าขณะนี้จีน ไม่ค่อยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกัน ทำให้จีนไม่เชื่อว่า Obama จะชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เนื่องจากเขาเป็นคนผิวดำ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จีนอาจไม่ค่อยรู้สึกนับถือ Obama เท่าใดนัก

แม้ว่าจีนจะแสดงท่าทีหยิ่งทรนงในตนเองมากขึ้น แต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอเมริกาในจีน ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เชื่อมั่นว่า จีนไม่อาจตัดขาดจากอเมริกาได้ หากสหรัฐฯ โชคดี และจีนเกิดทำผิดพลาดขึ้นมา สหรัฐฯ ก็จะยังคงอยู่เหนือจีนต่อไป

Sun Zhe ผู้อำนวยการศูนย์จีน-สหรัฐฯ สัมพันธ์ มหาวิทยาลัย Tsinghua เปรียบจีนเหมือนกับ Yao Ming นักบาสเกตบอลร่างยักษ์ชื่อดังของจีน เมื่ออายุ 17 ปี "ร่างกายเขาเติบโตเต็มที่แล้ว แต่เพิ่งได้เริ่มเล่นกับ NBA ของสหรัฐฯ" Sun กล่าว ความแข็งกร้าวครั้งใหม่ของจีน อาจเป็นเพียงการวางโตของมหา อำนาจมือใหม่ที่ยังไม่ถึงขั้น แต่ก็อาจจะเป็นสัญญาณถึงช่วงเวลายุ่งยากที่กำลังจะมาถึงก็เป็นได้

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us