|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เหตุใดจีนจึงไม่ใช่คู่ต่อสู้ของ Internet
Internet เป็นสิ่งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมาในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เป็นคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงลูกใหญ่ ที่สุดและทรงพลังมหาศาลที่สุด จนมีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถรับมือกับมันได้ นั่นคือกระโดดเข้าร่วมวงด้วย และหวังเพียงว่าจะสามารถทำเงินได้จากการร่วมสร้างโลกใหม่
แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เข้าใจพลังของ Internet ก็จะพยายามต่อต้านคลื่นยักษ์แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้และมีหลายอุตสาหกรรม ที่พยายามทำเช่นนั้น เช่น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดนตรี หนังสือ อสังหาริมทรัพย์ เคเบิลทีวี ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอีกมากมาย
ดูเหมือนว่า หัวขบวนตัวเป้งของกลุ่มที่พยายามจะโต้คลื่น Internet ก็คือจีน
นั่นคือสารที่ Google กำลังส่งออกมา จู่ๆ จีนก็ถูกกล่าวหาว่า ทำผิดและยังถูกประณามว่าล้าหลัง และโง่เขลา แม้ว่าจีนจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีล้ำยุคที่แสนจะก้าวหน้าและสลับซับซ้อน ตั้งแต่แผงเซลล์สุริยะไปจนถึงรถไฟความเร็วสูง แต่เมื่อมาถึงเรื่อง Internet จีนกลับทำเป็นไม่เข้าใจ จีนเก่งในเรื่องการเจาะข้อมูล และใช้ Internet เป็นเครื่องมือขโมยข้อมูล แต่กลับปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และเซ็นเซอร์เว็บ search engine
จีนกำลังหาญสู้กับ Internet และจีนก็จะเหมือนทุกคนที่หาญต่อกรกับ Internet นั่นคือ จีนจะพ่ายแพ้
คนที่อยู่ในจีนสามารถจะอ้อมผ่าน "Great Firewall" โปรแกรมเซ็นเซอร์การใช้ Internet ในจีน ด้วยการใช้โปรแกรม anonymizers อย่างเช่น Tor ซึ่งสามารถสร้างอุโมงค์ "เสมือน" เพื่อเลี่ยงตัวกรองต่างๆ ได้ และสามารถติดต่อสื่อสารผ่าน Internet ได้แบบนิรนาม การที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถต่อเข้า Internet ได้ ยิ่งทำให้มีเสรีภาพมากขึ้น ชาวจีนจำนวนมากยังเป็นเจ้าของ smart phone ซึ่งหมายความว่า ทุกคนมีกล้องวิดีโอและดาวเทียมสื่อสาร อยู่ในกระเป๋า แม้รัฐบาลอิหร่านจะสั่งปิดสื่อหลัก แต่ข่าวและภาพ ต่างๆ ก็ยังคงหลั่งไหลผ่าน Twitter รัฐบาลอาจตามไปปิด server ซึ่งเป็นตัวส่งผ่านข้อมูลใน Twitter แต่นักเจาะระบบก็สามารถจะอ้อมผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้ ด้วยการตั้ง proxy server
ดังนั้น ในทางทฤษฎีรัฐบาลอาจสามารถสั่งปิดเครือข่ายโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งเครือข่าย Internet ได้ทั้งหมด แต่รัฐบาลจะยอมเสี่ยงกับความไม่พอใจของประชาชนหรือไม่
ความจริง Google ไม่ควรจะยอมอยู่ภายใต้ระบบเซ็นเซอร์ของจีนมาตั้งแต่แรก แต่ Google ก็อ้างว่าให้ผู้ใช้ชาวจีนได้เล่นเว็บ Google อย่างจำกัด ก็ยังดีกว่าที่จะไม่มี Google ให้เล่นเลย แต่ 4 ปีให้หลัง Google แทบจะไม่รุ่งเลยในจีน บางคนมองว่า บางที Google อาจจะกำลังคิดจะถอนตัวออกจากจีนอยู่แล้ว ก่อนที่จะต้องขาดทุนมหาศาลก็เป็นได้ แต่อ้างเรื่องระบบเซ็นเซอร์ของจีนมาบังหน้า แต่โฆษกของ Google ปฏิเสธข้อสงสัยนี้ Google อาจไม่ได้ตกใจกับการตรวจพบการเจาะระบบล้วงข้อมูลในจีน เพราะทุกๆ ประเทศต่างก็มีปัญหานี้กันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐฯ ซึ่งแหล่งกำเนิดของ Google เอง การเจาะล้วงข้อมูลคนอื่นๆ บน Internet เกิดขึ้นอยู่แล้วตลอดเวลา ไม่ว่าเหตุผลที่แท้จริงของ Google จะเป็นอะไร แต่สิ่งที่แน่ๆ คือ Internet ใหญ่เกินกว่าที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แม้กระทั่งประเทศที่ใหญ่มากๆ อย่างจีนจะสามารถต่อต้านได้ การเล่นงาน จีนว่าไม่เข้าใจในเรื่องนี้ จึงดูจะมีนัยเป็นการเตือนกลายๆ ไปถึงประเทศอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด มิให้เอาจีนเป็นเยี่ยงอย่าง
แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค
|
|
|
|
|