|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยพบว่า จีดีพีของไทย ในไตรมาสที่ 4/2552 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ขณะที่มูลค่าจีดีพีที่ปรับฤดูกาลก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (Seasonal Adjusted Quarter-on-Quarter) สูงกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
การปรับตัวขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากการเติบโตของการใช้จ่ายของรัฐบาล การผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ซึ่งทิศทางดังกล่าวสะท้อนถึงความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2552 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าสถานการณ์ข้าง หน้ายังมีความไม่แน่นอนในหลายด้าน โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจ ที่ส่งสัญญาณบวกชัดเจนนี้ อาจเพิ่มความมั่นใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านนโยบายเศรษฐกิจ และเป็นตัวแปรสำคัญต่อการ กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะการเริ่มทยอยถอนมาตรการพิเศษเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจได้ เพราะปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศยังมีความอ่อนไหวและมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่สถานการณ์ไม่พึงประสงค์ได้
ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2553 อาจมีการเติบโตที่ชะลอลงเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ, SA) แต่อัตราการขยายตัวที่เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีโอกาส ที่จะขึ้นไปอยู่ในระดับสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 จากฐานของมูลค่า จีดีพีที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาด ประกอบกับเป็นการเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1/2552 ซึ่งเป็นช่วงต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ ถดถอยของไทยในรอบที่แล้วที่จีดีพีหดตัวลงถึงร้อยละ 7.1 (YoY)
ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีขึ้นดังกล่าวจะเป็นฐานสำหรับ การเติบโตในไตรมาสถัดๆ ไป ที่น่าจะสูงขึ้นกว่าระดับที่เคยคาดการณ์ไว้และจะส่งผลให้กรอบประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ที่ สศช.ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 3.5-4.5 มีความเป็นไปได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สถานการณ์ทางการเมืองไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
นอกเหนือจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในประเทศ แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่ที่ทิศทางเศรษฐกิจ จีน ซึ่งหลายฝ่ายคาดหวังให้เป็นการชะลอตัวลงอย่างนุ่มนวล (Soft Landing) หลังจากจีนเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาฟองสบู่และทางการจีนออกมาตรการควบคุมสินเชื่อมาเป็นระยะ แต่ยังคง ต้องติดตามว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ และฐานะของสถาบันการเงินในจีนเช่นใด
ขณะเดียวกันปัจจัยว่าด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด อาจมีผล ต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนของภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทของไทย
ทั้งนี้ การส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟด จากร้อยละ 0.50 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 0.75 นั้น สะท้อนว่าเฟด มีความมั่นใจพอสมควรว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแรง เพียงพอที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ภายใต้กลไกปกติ
ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศในยุโรป ซึ่งหลายฝ่าย กังวลว่าแผนการควบคุมการขาดดุลการคลังและระดับหนี้สาธารณะของกรีซ สเปน โปรตุเกส และประเทศอื่นที่มีระดับสูงจนน่าวิตก อาจจำกัดศักยภาพในการฟื้นตัวของภูมิภาคยุโรปโดยรวม และอาจมีผลกระทบกลับมาที่ธนาคารและสถาบันการเงินในเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ประเทศดังกล่าว
นอกจากนี้ ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ในตลาดโลกและปัจจัยด้านสภาพอากาศ โดยเฉพาะภาวะแล้งในประเทศที่อาจส่งผลให้ราคาสินค้า เกษตรพุ่งสูงขึ้น และเร่งภาวะเงินเฟ้อของไทย ซึ่งจะกลายเป็นแรงกดดันต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่การคาดการณ์ว่า GDP ไทยจะเติบโตถึง 6% ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ควบคุมได้บ้างไม่ได้บ้างมากมายเหลือเกิน ซึ่งถึงที่สุดแล้วเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นอย่างแท้จริงหรือเป็นเพียงมายาภาพจากมาตรการชั่วคราวคงได้พิสูจน์กันในไม่ช้า
|
|
|
|
|