|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง แต่สำหรับเฟรดเดอริค นิวแมนน์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก HSBC เขาวิเคราะห์และประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ว่าสดใสและมีโอกาสที่จะเติบโตสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้
"การเติบโตของเศรษฐกิจไทยอาจสูงถึงร้อยละ 4.6 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดโดยรวม จากผลของการบริโภคภาย ในประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ได้มาจาก การส่งออกอย่างที่เข้าใจ เนื่องจากภาคการส่งออกของไทยยังมีผลงานอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค"
เขาเชื่อว่า การบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ
ขณะเดียวกัน การปรับตัวดีขึ้นครั้งสำคัญของประเทศไทย ในปีนี้ อาจเป็นเรื่องของการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคส่งออก อันเนื่องมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน และราคาผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น
"เอชเอสบีซีประเมินว่าการบริโภคภายในประเทศจะเร่งตัว ขึ้นอีก โดยได้รับอานิสงส์จากปริมาณนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกือบจะแตะระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าปัญหาทางการเมืองจะยังไม่คลี่คลายก็ตาม"
ทัศนะดังกล่าวสะท้อนมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในมิติที่ต้องพึ่งพาความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งกลายเป็นตัวแปรที่อยู่เกินกว่าความสามารถในการควบคุมของรัฐไทยไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างมากย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยง ดังเช่นประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ความเสี่ยงจากภาวะ เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยในไตรมาส 2 ของปีนี้
"ไม่บ่อยครั้งนักที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยก่อนที่เฟดจะประกาศปรับดอกเบี้ย แต่ในปีนี้การปรับอัตราดอกเบี้ยของไทยอาจเกิดขึ้นก่อน เนื่องจากคาดว่าธนาคาร กลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนครึ่งหลังของปี 2554" เฟรดเดอริค นิวแมนน์ระบุ
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากต่อการตัดสินใจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นและการส่งออกที่ฟื้นตัวจะส่งผลให้ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเริ่มแข็งค่าอีกครั้ง และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจที่ร้อนแรงของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเข้าแทรกแซงด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐเพิ่ม เพื่อทำให้ค่าเงิน อ่อนค่าลง
"ความกดดันต่อเงินบาทและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับภูมิภาค ควรจะผ่อนคลายลงเมื่อค่าเงินหยวน เริ่มแข็งค่าขึ้นในราวกลางปี 2553"
หากประเมินในมิติที่ว่านี้ ดูเหมือนอนาคตเศรษฐกิจไทยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกมากกว่าความเป็นไปภายในเสียแล้ว
|
|
|
|
|