Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
ตั้งเป้าแฟชั่นไทยเติบโตร้อยละ 9             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมส่งเสริมการส่งออก

   
search resources

กรมส่งเสริมการส่งออก
Garment, Textile and Fashion




กรมส่งเสริมการส่งออกวางเป้าหวังมูลค่าการส่งออกสินค้าแฟชั่นไทยในปี 2553 ทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 9-13 ขณะที่ภาครัฐและเอกชนเตรียมผนึกพลังกระตุ้นขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมก้าวเป็นศูนย์กลางแฟชั่นและเครื่องหนังแห่งอาเซียน

ศรีรัตน์ รัษฐปานะอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าในปี 2552 การส่งออกสินค้าแฟชั่นไทย ได้แก่ สินค้าสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่ารวม 17,628 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2551 เพียงร้อยละ 2.24 โดยกลุ่มสินค้าสิ่งทอมีมูลค่ารวม 6,443 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวลดลงร้อยละ 10.5 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม 2,961 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวลดลงร้อยละ 15.53 ส่วนสินค้าเครื่องหนังเครื่องใช้ในการ เดินทางและรองเท้า มีมูลค่ารวม 1,422 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวลดลงร้อยละ 19.7 ขณะที่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่า 9,761 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 18

แม้ว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกในปี 2552 จะชะลอตัวเนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อที่ถดถอยในประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่ในปี 2553 ประเมินกันว่าการส่งออกสินค้าแฟชั่นของไทยมีแนวโน้มขยายตัวสูง เนื่องจากเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่ว โลก โดยตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าแฟชั่นโดยรวมไว้ที่ 20,315-20,999 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 9-13 แบ่งเป็นสินค้าสิ่งทอ 7,058-7,205 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-12 เครื่องนุ่งห่ม 3,238-3,386 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ผ้าผืนและเส้นด้าย 3,819.88 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 สินค้าเครื่องหนัง 1,429 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.98 ส่วนสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ 11,826-12,364 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15

"ภาครัฐและสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้หารือเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะผลักดัน ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและผู้นำสินค้าแฟชั่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องหนังในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ผ่าน กิจกรรมหลากหลาย โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าแฟชั่นและงานแสดงสินค้าเครื่องหนัง (BIFF & BIL) ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี"

กลยุทธ์หลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มก็คือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยเน้นการผลิตสิ่งทอมูลค่าสูง เช่น สิ่ง ทอประเภท functional/technical textile และสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงประสิทธิภาพการกระจายสินค้า ส่งเสริม การเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มสัดส่วนการ ใช้วัตถุดิบในประเทศ (local content) และการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น ฟอกย้อม วัสดุตกแต่งสำเร็จ และโลจิสติกส์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร โดยจัดตั้ง Thailand Designer Club และ Asian Designer Club เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักออกแบบไทยสู่เวทีระดับโลก

สำหรับกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับจะเน้นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแหล่งวัตถุดิบ ใหม่ๆ พัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะด้านอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มเติม และการผลักดันให้สถาบันวิจัย และพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติให้เป็นศูนย์กลางออกใบรับรองมาตรฐานของภูมิภาคเอเชียและมาตรฐานสมาพันธ์ อัญมณีโลก (EIBJO) จัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems Bank) ขณะที่กลยุทธ์สำหรับสินค้าแฟชั่นเครื่องหนังจะพยายามผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Thailand's Leather Goods: Italy of the East โดยให้ความสำคัญด้านการ วิจัยและพัฒนา ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทยต่อไป

"นอกจากนี้ คณะทำงานยังเร่งศึกษาการใช้ประโยชน์จาก ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เกี่ยวข้อง เช่น AFTA, FTA อาเซียน-จีน, FTA ไทย-อินเดีย, FTA อาเซียน-อินเดีย, FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น และ FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ รวมถึงข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) พร้อมปรับปรุงกฎระเบียบและลดอุปสรรคทางการค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดที่มีโอกาสสดใส โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งหนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตสิ่งทอของอาเซียน" ศรีรัตน์ย้ำ

ในส่วนของงาน BIFF & BIL 2010 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน 2553 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ถือเป็นอีกเวทีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ผลิตที่เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานและผู้ซื้อจากตลาดสำคัญๆ อย่างญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี จีน ไต้หวัน ตะวันออกกลาง รวมทั้งอเมริกาและยุโรป ได้มีโอกาสแสวงหาความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน เนื่องจากเป็นงานแสดงสินค้าหนึ่ง เดียวที่รวมสินค้า บริการ และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมทุกสาขา ที่เกี่ยวข้องจากผู้ผลิตชั้นนำในอาเซียนไว้อย่างครบครันที่สุด

โดยในปีนี้ BIFF & BIL 2010 จะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Look East" เพื่อแสดงถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมแฟชั่นของอาเซียน ครบครันตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ไปถึงปลายน้ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการผสานความเชี่ยวชาญ เฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้ากับความร่วมมือระดับภูมิภาค หรือ ASEAN INTEGRATION กิจกรรมเด่นในงาน ได้แก่ การประชุม-สัมมนา Asian Designer Congress แฟชั่นโชว์ 48 โชว์ การประกวด Thailand Designer Contest และพื้นที่จัดแสดงพิเศษ อาทิ ASEAN Pavilion และ Japan Pavilion

เป้าหมายที่ตั้งไว้จะสามารถสำเร็จลุล่วงหรือไม่ คงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us