Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
นิปปอน เทเลกราฟ แอนด์ เทเลโฟน คอร์ปอเรชั่น (เอ็นทีที)             
 


   
search resources

NTT Communications
NTT - Nippon Telegraph & Telephone
NTT DoCoMo
Telephone




นิปปอน เทเลกราฟ แอนด์ เทเลโฟน คอร์ปอเรชั่น (เอ็นทีที) เป็นกิจการที่ก่อตั้งก่อนที่กระแสการยกเลิกการผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคมจะแพร่กระจายไปทั่วโลก เอ็นทีทีเติบโตเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้ผูกขาดกิจการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นมาตลอด นอกจากนั้นยังเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางไกล และเป็น ไอเอสพีรายใหญ่อีกด้วย ปัจจุบันเอ็นทีทีได้เสนอบริการใหม่ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อคู่สาย อุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบข้อมูล

รัฐบาลญี่ปุ่น (ซึ่งถือหุ้นกิจการเอ็นทีทีอยู่ 53%) ได้ปรับโครงสร้างกิจการโดยแยกกิจการออกเป็นสามบริษัท โดยสองบริษัทแรกดูแลโทรศัพท์ในประเทศและแบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ "เอ็นทีที อีสต์" (NTT East) และ "เอ็นทีที เวสต์" (NTT West) ส่วนบริการโทรศัพท์ทางไกลอยู่ในความดูแลของ "เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์" (NTT Communi-cations) นอกจากนั้นเอ็นทีทียังได้แตกธุรกิจในส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงออกไปเป็นธุรกิจต่างหากในชื่อ "เอ็นทีที โมบาย คอมมิวนิเคชั่นส์ เน็ตเวิร์ค" (หรือที่รู้จักกันในชื่อ DoCoMo) โดยเอ็นทีทีถือหุ้นอยู่ 67%

ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ยังติดตามมาพร้อมกับภาวะตลาดด้วย ยอดขายรวมจากธุรกิจรับส่งข้อมูล บริการอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้แซงหน้ารายได้จากธุรกิจโทรศัพท์แต่เดิม โดยในขณะที่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตอย่างสูง ธุรกิจโทรศัพท์แบบติดตั้งคู่สายกลับมีแนวโน้มลดลง(จากที่ให้บริการอยู่เดิม 57 ล้านคู่สาย) เอ็นทีทีได้เริ่มทดลองบริการโทรศัพท์ดิจิตอลแบบดีเอสแอลความเร็วสูง (high speed digital subscriber line) อีกทั้งยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่ยังสานต่อบริการไอเอส ดีเอ็นรุ่นล่าสุดเพื่อปูทางเข้าสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วย

เอ็นทีทียังได้วางรากฐานสำหรับตลาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้อย่างดี โดยการลงทุนร่วมกับกิจการโทรศัพท์ในหลายประเทศ เช่น เข้าถือหุ้น 49% ใน "เอชเค เน็ต" ของฮ่องกง และถือหุ้น 15% ของกิจการโทรศัพท์ทางไกลของฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังเข้าถือหุ้น 49% ในกิจการ "เดฟเน็ต เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์" ของออสเตรเลีย ส่วนในสหรัฐฯ เอ็นทีทีเป็นเจ้าของธุรกิจด้านเว็บชื่อ "เวริโอ" และถือหุ้นอีก 10% ในบริษัท "เทลลิเจนท์" ความเป็นมา

ปี 1889 กระทรวงการสื่อสารของญี่ปุ่น เริ่มให้บริการโทรศัพท์ และผูกขาดธุรกิจไว้ในมือตั้งแต่ปี 1900 เป็นต้นมา ต่อมาในปี 1952 กระทรวงสื่อสารญี่ปุ่นได้จัดตั้งบริษัทนิปปอน เทเลกราฟ แอนด์ เทเลโฟน พับลิค คอร์ปอเรชั่น (เอ็นทีที) และบริษัทได้เป็นผู้ปรับปรุงซ่อมแซมระบบโทรศัพท์ในประเทศหลังสงครามด้วย

ต่อมาในปี 1953 บริษัทโทรศัพท์อีกแห่งหนึ่งคือ "โคคุไซ เดนชิน เดนวา" (เคดีดี ในปัจจุบัน) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นได้วางแนวทางภาพลักษณ์ของเอ็นทีทีให้เป็นไปในทำนองเดียวกับเอทีแอนด์ทีของสหรัฐฯ โดยได้ห้ามเอ็นทีทีทำการผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในกลุ่มซัปพลายเออร์ด้านอุปกรณ์โทรศัพท์ แต่กระนั้นเอ็นทีทีก็ซื้ออุปกรณ์โทรศัพท์ส่วนใหญ่จาก ซัปพลายเออร์ญี่ปุ่นกันเอง ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เอ็นทีทีกลายเป็นหน่วยงานราชการที่ใหญ่เทอะทะ ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพและปัญหาการคอร์รัปชั่นตามมา กรรมการผู้จัดการใหญ่ของเอ็นทีทีเคยกล่าวติดตลกด้วยว่า อุปกรณ์ที่บริษัทจะซื้อหาจากต่างประเทศนั้น มีเพียงเสาโทรศัพท์เท่านั้น ในปี 1981 เอ็นทีทีถูกกดดันให้ยอมรับการประมูลจากบริษัทสหรัฐฯ ช่วงทศวรรษต่อมาบริษัททุ่มลงทุนอย่างหนักทางด้านการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก และสายโทรศัพท์แบบไอเอสดีเอ็นความเร็วสูง

ปี 1985 เอ็นทีทีต้องแปรรูปกิจการตามนโยบายยกเลิกการผูกขาดธุรกิจ บริษัทกลายเป็นกิจการในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด นอกจากนั้นยังได้มีการจัดตั้งบริษัท "เอ็นทีที อินเตอร์เนชั่นแนล" ขึ้นเมื่อปี 1988 เพื่อดำเนินการด้านงานวิศวกรรมโทรคมนาคมในต่างประเทศ และจัดตั้ง "เอ็นทีที เดต้า คอมมิวนิเคชั่นส์ ซิสเต็มส์" ขึ้นเป็นกิจการดูแลการประสานรวมระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วย

เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในตลาด หลักทรัพย์ญี่ปุ่นเมื่อปี 1990 เอ็นทีทีได้เลือกเอทีแอนด์ที โมโตโรล่า และอีริคสันให้เป็นผู้พัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล และปีถัดมาจึงได้ตั้งบริษัท "โดโคโม" ให้เป็นผู้ดำเนินการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่บ้าง เอ็นทีทียังดำเนินการตามนโยบายยกเลิกการผูกขาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยการเปิดบริการ "เพอร์ซันนัล แฮนดี้ โฟน (Personal Handy Phone Service-PHS) เมื่อปี 1995

รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนการแยกกิจการเอ็นทีทีใน ปี 1996 ก่อนหน้าที่องค์การการค้าโลก (WTO) จะดำเนินการตามข้อตกลงให้เปิดเสรีตลาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้กดดันให้เอ็นทีทียอมให้คู่แข่งสามารถเชื่อมต่อกับระบบดิจิตอลใหม่ได้ ในตลาดต่างประเทศ เอ็นทีทีซื้อหุ้น 12.5% ในกิจการ เลลิเจนท์ซึ่งดำเนินการโทรศัพท์ท้องถิ่นในสหรัฐฯ และนับเป็นการลงทุนครั้งสำคัญครั้งแรกของเอ็นทีทีในสหรัฐฯ

ปี 1998 กิจการหน้าใหม่ชื่อ "โตเกียว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ เน็ต" (ซึ่งเป็นกิจการพันธมิตรของโตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์) ได้เสนอลดราคาค่าบริการโทรศัพท์ลง ทำให้เอ็นทีทีต้องดำเนินการตามอย่าง ในขณะที่เอ็นทีทีก็แยกกิจการ "โดโคโม" ออกไปเป็นไอพีโอรายใหญ่ที่สุดในโลก

ปี 1999 เอ็นทีทีพ่ายแพ้ต่อบริษัทเคเบิลแอนด์ไวร์เลสของอังกฤษในการประมูลซื้อ "อินเตอร์เนชั่นแนล ดิจิตอล คอมมิวนิเคชั่นส์" แต่ปีเดียวกันนั้นเองบริษัทได้แตกกิจการออกเป็น 3 บริษัท คือ"เอ็นทีที อีสต์" และ "เอ็นทีที เวสต์" ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศ ส่วนบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับ "เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์" ทว่า การแตกกิจการครั้งนี้ไม่เหมือนกับกรณีของ เอทีแอนด์ทีในปี 1984 เพราะเอ็นทีทีดำเนินการโดยยังคงรูปของโฮลดิ้งคอมปะนี อยู่ กล่าวคือ เอ็นทีทีเป็นบริษัทแม่ของบริษัททั้งสามแห่ง เอ็นทีทียังได้ประกาศปลดพนักงาน 21,000 คนภายใน 3 ปีในบริษัทเอ็นทีทีเวสต์ และเอ็นทีทีอีสต์ ด้วย

ในขณะเดียวกันเอ็นทีทีได้รุกหนักทางด้านการลงทุนในต่างประเทศ โดยเข้าซื้อหุ้น 49% ในกิจการเอชเคเน็ตของฮ่องกง และตกลงซื้อหุ้น 49% ในเดฟเน็ต เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ ซึ่งเป็นสาขาของบริษัทเดฟเน็ตแห่งออสเตรเลีย ปีที่แล้ว เอ็นทีที ลงทุนถึง 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อหุ้น 90% ของบริษัทเวริโอซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจเว็บในสหรัฐฯ ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us