Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2529
ไชย ณ ศีลวันต์ คนหนุ่มที่ถูกกล่าวหา             
 


   
search resources

อำนวย วีรวรรณ
ไชย ณ ศีลวันต์




ไชย ณ ศีลวันต์ ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะต้องมาทำงานธนาคารกรุงเทพ และยิ่งไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้เป็นลูกเขยของ ดร. อำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพ เสียด้วย

ไชยฯ ปีนี้อายุ 28 ปี เมื่อเด็ก ๆ เป็นคนไม่มีวินัยในการเรียนเท่าไหร่นัก เลยถูกพ่อจับให้ออกจากสาธิตจุฬา ตอน ป. 5 และไปเข้าเรียนต่อที่วชิราวุธวิทยาลัย จนจบมัธยมปลาย

"ผมเป็นคนไม่ค่อยมีวินัยในการเรียนอยู่สาธิตจุฬา เพราะระบบเขาเปิดโอกาสให้รับผิดชอบเองก็เลยเละ คุณพ่อเลยต้องจับให้เข้าไปอยู่โรงเรียนประจำ" ไชยเล่าให้ฟัง

ไชยจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาฯ รั้วสีเดียวกับ ดร. เชาวน์ ณ ศีลวันต์ ผู้พ่อ เพียงแต่ว่าพ่อจบสองสาขาคือ เครื่องกลและไฟฟ้า ส่วนไชยจบแค่ไฟฟ้าเท่านั้น

"จริง ๆ แล้วตอนนั้น ผมเรียนวิศวฯ เพราะต้องการตามรอยเท้าของพ่อเท่านั้น พอเรียนไปได้แค่ 2 ปี ผมก็รู้ว่าไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ เพราะเผอิญผมได้มีโอกาสไปร่วมจัดทำเทปสายใจไทยให้กับทูลกระหม่อมท่านก็เลยรู้สึกว่าธุรกิจการค้านี้สนุกก็เลยอยากเรียน MBA" ไชยสาธยายต่อให้ฟัง

ไชยเคยฝึกงานกับ ดร. โอฬาร ไชยประวัติที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงที่จบวิศวฯ มาใหม่ ๆ พอคุณแม่เสียชีวิตก็บวชเกือบปีที่วัดป่าบ้านตาด จ.ว. อุดรธานี อยู่กับท่านอาจารย์มหาบัว

ในขณะนั้น Wharton School of Finance&Business แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้รับไชยเข้าไปเป็นนักศึกษาโครงการ MBA

ไชยตกลงใจเรียนที่ Wharton และในช่วงปิดภาคฤดูร้อนก็ทำงานที่ธนาคาร Chase Manhatton ที่นิวยอร์ค เป็นผู้วิเคราะห์และสร้างระบบวิเคราะห์กำไรของลูกค้าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค

พอเปิดเทอมไชยก็ยังทำต่อเพราะเขาจ้างเป็นรายวัน ๆ ละ 127 เหรียญ

"ผมไปทำเฉพาะวันที่ไม่ต้องเรียน นั่งรถไฟจากเพนซิลเวเนียไปนิวยอร์คใช้เวลา 1 ชั่วโมง 50 นาที" ไชยเล่าให้ฟังถึงช่วงชีวิตขณะนั้นอย่างไม่มีวันลืมเลือน

ก่อนจะเรียนจบ ไชยได้รับการเสนองานจาก Citi Bank และ Chase ที่กรุงเทพฯ แต่เผอิญ ดร.อำนวย วีรวรรณ ซึ่งสนิทกับ ดร. เชาวน์ ณ ศีลวันต์ ได้บอกผ่าน ดร. เชาวน์มาว่าให้กลับมาดูที่เมืองไทยก่อนตัดสินใจ

พอกลับมาถึงไชยได้รับการทาบทามทั้งธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงเทพ เพราะ "ผมประทับใจในตัว ดร. อำนวย และ ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัยมาก และอีกอย่างการได้มาทำงานกับ ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัยนั้นเป็นโอกาสที่หาไม่ค่อยได้"

ไชยอยู่สำนักจัดสรรเงินอยู่ 8 เดือน ก็โดนย้ายไปช่วยวิชิต สุรพงษ์ชัยสายกิจการต่างประเทศสาม ซึ่งเป็นตำแหน่ง country officer ของมาเลเซีย ระหว่างนั้นก็ยังได้รับ Assignment ให้ทำเรื่องปุ๋ยและสัมปทานเจาะน้ำมันที่พิษณุโลก ซึ่งรายการหลังนี้ ชาตรี โสภณพนิช เป็นคนมอบงาน

"คุณไชยเขาทำงานอยู่หน้าห้อง ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย บนชั้น 26 ของธนาคารและเขารายงานโดยตรงกับคนสั่งงานสุดแล้วแต่ใครสั่ง เช่น คุณชาตรี หรือ ดร. วิชิต หรือ ดร. อำนวย โดยไม่ต้องไปผ่านใคร" เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของธนาคารกรุงเทพพูดให้ฟัง

คงจะเป็นด้วยลักษณะงานเช่นนี้ก็เลยทำให้มีน้อยคนที่จะรู้ว่าไชยได้ทำอะไรและมีความสามารถเช่นไร?

"ไชยเขาเป็นคนเก่ง และผมเองก็เป็นคนเสนอชื่อเขาเข้าบอร์ดให้เป็น AVP (ผู้ช่วยผู้จัดการ) ตอนผมคิดเสนอเข้าไป ดร. อำนวยยังไม่รู้เลย ผมมาบอกท่านตอนจะเข้าบอร์ด" ชาตรี โสภณพนิช พูดกับ "ผู้จัดการ"

ความจริงไชยจะได้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการหรือเปล่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ควรจะมากวนใจ ดร. อำนวย แต่ประการใด!

แต่ที่ต้องเป็นเรื่องกวนใจในภายหลังเพราะไชย ณ ศีลวันต์ในเวลานั้นกำลังจะแต่งภรรยาที่ชื่อรศนาภรณ์ ซึ่งเผอิญเป็นลูกสาวคนโตของอำนวยและ สมรศรี วีรวรรณ

"ไชยก็เลยถูกเพ่งเล็งหนักจากคนแบงก์และสหภาพแรงงานก็ออกข่าวโจมตี ดร. อำนวยว่าส่งเสริมราชบุตรเขย ซึ่งผิดหมดเพราะคนอย่างไชยออกจากที่นี่เมื่อไหร่ก็มีคนอ้าแขนรับทันทีและการที่โจมตีไชยว่ามาอยู่ได้ไม่นานก็เป็น AVP นั้นก็ผิดเพราะมีคนในแบงก์หลายคนที่ทำงานไม่ถึงเท่าไชยแต่ก็ได้ AVP ไป" ชาตรีพูดถึงเรื่องให้ฟังอย่างเซ็ง ๆ

ไชยอยู่ธนาคารกรุงเทพมาสองปีกว่าก็ได้รับแต่งตั้งเป็น AVP ซึ่งในประวัติแล้วมีคนอยู่หลายคนที่อายุงานบางทีแค่ปีกว่า ๆ ก็ได้เป็นแล้ว เช่น บันลือ ฉันทาดิศัย ซึ่งจบวิศวฯ จุฬาฯ และ MBA จาก U. of Chicago ได้เป็น AVP เมื่ออายุ 28 ทำงานมาเพียงปีครึ่งเท่านั้นเอง หรือชาญศักดิ์ เฟื่องฟู ที่ปัจจุบันอยู่นิวยอร์คและกำลังจะถูกเรียกตัวกลับมาแทนวิเศษ ศรีจันทร์ที่เสียชีวิตไป ก็จบเศรษฐศาสตร์จากธรรมศาสตร์และได้ MBA จาก AIM เข้าทำงานเพียงเกือบ 2 ปี ก็ได้เป็น หรือจิต จิตตวรานนท์ หรือกุลธิดา ศิวยาธร แม้แต่วิชิต สุรพงษ์ชัย ก็ได้เป็น AVP ทันทีที่เข้าทำงานกับธนาคาร

นี่ถ้าไชยไม่ได้มาแต่งงานกับรศนาภรณ์ ลูกสาว ดร. อำนวย ก็คงจะไม่โดนหวยเช่นนี้หรอก!

"จริง ๆ แล้วผมไม่รู้สึกอะไรหรอก เพราะรู้ว่าเป็นการแกล้งหาเรื่องโจมตีท่านประธาน (ดร. อำนวย) โดยเอาผมเป็นหางเครื่อง" ไชยพูดอย่างอารมณ์ดีเมื่อถูกถามเรื่องนี้

ไชยอยู่สายต่างประเทศได้สักปีก็ถูกดึงตัวมาด้านวานิชธนกิจ (Merchant Banking) มีหน้าที่ดูแลโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปุ๋ยแห่งชาติ โครงการเปโตรเคมิคอล โครงการชายฝั่งทะเลตะวันออก ฟินิกซ์พัลพ์ และหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐบาล

"ในหลายโอกาสผมจะต้องทำงานด่วนที่ถูกสั่งตรงจาก ดร. อำนวย คุณชาตรี และ ดร. วิชิต เสมอ ก็คงจะเช่นนี้มั้ง เลยไม่ค่อยมีใครรู้ว่าผมทำอะไรบ้าง" ไชยพูดต่อให้ฟัง

ก็น่าเห็นใจที่เกิดเป็นลูกคนใหญ่โตแล้วไปแต่งงานกับลูกคนใหญ่คนโตก็มักจะมีคนเข้าใจผิดเสมอ ถ้าตัวเองเกิดก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเองด้วยฝีมือตนเอง

เหมือนอย่างที่พูด คนไม่ผิด ผิดที่มีหยกอยู่ในครอบครอง!

รศนาภรณ์หรือเจี๊ยบนั้นก็จบอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แล้วไปจบปริญญาโททางด้านภาษาจาก U. of Oregon ขณะนี้สอนอยู่คณะอักษรศาสตร์ ที่จุฬาฯ

ไชยกับรศนาภรณ์รู้จักกันเพียงเพราะไชยเคยเห็นรูปรศนาภรณ์ที่บ้าน ดร. อำนวย "ผมรู้สึกว่าผู้หญิงคนนี้ดูแล้วเย็นตาเย็นใจดูแล้วลักษณะมีคุณธรรมสูง" ไชยเล่าให้ฟังอย่างเปิดเผย

อีกหนึ่ง Summer ที่ทั้งสองได้เจอกันตอนหยุดเทอม ไชยก็มั่นใจว่ารศนาภรณ์คนนี้คนที่เขาต้องเอามาใช้นามสกุล ณ ศีลวันต์ให้ได้

ทั้งคู่ได้รับพระราชทานสมรสจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ทำพิธีเลี้ยงฉลองสมรสไปเมื่อ 11 สิงหาคม 2529 ที่ผ่านไปแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us