Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2529
เกมส์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ ของเล่นประเทืองความรู้ชิ้นใหม่ของคุณหมอ             
 


   
search resources

Software




"รูมาโตโลยี ชาเรนจ์" (Rheumatology Challenge) เป็นหนึ่งในบรรดาเกมส์คอมพิวเตอร์จำนวน 4 เกมส์ ที่ถูกนำมาสาธิตให้ดูกันเมื่อไม่นานมานี้ โดยทางแผนกเวชภัณฑ์ บริษัทไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และจัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสนับสนุนการศึกษาแก่บุคลากรด้านการแพทย์ โดยเฉพาะไม่ได้มุ่งเน้นในด้านผลประโยชน์การตลาดแต่ประการใด

"รูมาโตโลยี ชาเรนจ์" หนึ่งในความหลากหลาย ของผลิตผลทางคอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาในวงการแพทย์ปัจจุบันเป็นเทคนิคการนำเสนอข้อมูลสมัยใหม่ ซึ่งในขณะนี้ทางไฟเซอร์เองมีโปรแกรมทั้งหมด 4 ชุด เป็นการรวบรวมข้อมูลโรคต่าง ๆ เข้าโปรแกรม ประกอบด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคทางกระดูกและข้อ และโรครูมาติซึม

สำหรับเกมส์ "รูมาโตโลยี ชาเรนจ์" นี้เป็นโปรแกรมที่เก็บรวมรวมข้อมูลคนไข้ชาวต่างประเทศที่ป่วยเป็นโรครูมาติซึมโปรแกรมนี้รวบรวมและจัดทำโดยนายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อนายแพทย์ HUSKISSON ซึ่งเป็นนายแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดีทางด้านรูมาติซึม

เกมส์คอมพิวเตอร์ชุดนี้มีจุดเด่นคือเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องฉายสไลด์ประกอบเสียง (ซาวด์ สไลด์) ทั้งสองเครื่องจะทำงานสัมพันธ์กัน ราคาทั้งสองเครื่องนี้ประมาณสองแสนบาทไม่รวมราคาของโปรแกรมของแต่ละโปรแกรมลักษณะพิเศษของเกมส์คอมพิวเตอร์ชุดนี้ก็คือ เมื่อเราเรียกข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเรายังสามารถเรียกภาพดูได้จากซาวด์สไลด์ซึ่งทั้งสองเครื่องคอมพิวเตอร์และซาวด์สไลด์จะให้ข้อมูลและภาพที่ตรงกัน การเล่นเกมส์นั้นจะตั้งเวลาไว้ 5 นาทีในช่วงที่เล่นอยู่นั้นจะมีคะแนนบอกอยู่ตลอดเวลา ความยากง่ายของแต่ละ case ก็จะแตกต่างกันออกไปอย่างเช่นเราเลือกโปรแกรมคนไข้รายที่ 1 ข้อมูลจะบอกกับเราว่าคนไข้เดินมาหาแพทย์และบอกว่าปวดข้อ เป็นหญิงอายุ 50 ปี นายแพทย์ที่เล่นเกมส์จะวิเคราะห์คนไข้ โดยอาจจะเลือกจากโปรแกรมที่ตั้งไว้ สมมุติว่าแพทย์เลือกเอกซเรย์ปรากฎอยู่บนจอเครื่องซาวด์สไลด์เครื่องก็จะถามต่อไปว่า ข้อมูลแค่นี้จะวิเคราะห์ออกมาได้หรือยังถ้ายังไม่ได้ก็ขอข้อมูลเพิ่มเติมเช่นต้องการดูว่าเดิมทีเขาเคยหาหมอมาก่อนเคยกินยาอะไรมาบ้าง โปรแกรมจะบอกว่าไม่เคยกินอะไรมาก่อน ถ้ายังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ก็ยังขอข้อมูลเพิ่มเติม จนเมื่อแน่ใจแล้วก็ขอตอบ โปรแกรมก็จะตั้งไว้อีกว่าถ้าท่านเป็นแพทย์รายนี้ท่านจะสรุปว่าคนไข้เป็นโรคอะไรมี 5 โรคให้เลือก เมื่อเลือกแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะบอกว่าคำตอบที่เลือกนั้นถูกหรือผิด คะแนนก็จะขึ้นมาด้วย วิเคราะห์ได้เร็วมากเท่าไหร่คะแนนก็จะขึ้นมากเท่านั้น แต่ถ้าวิเคราะห์ผิดคะแนนก็จะติดลบ

"เกมส์คอมพิวเตอร์ชุดนี้สำหรับคนทั่วไปแล้วถ้ามาเล่นจะมีคะแนนติดลบเหมือนกันทุกราย เพราะเป็นเกมส์ที่ทำขึ้นมาให้แพทย์หรือพวกเกี่ยวข้องทางวงการแพทย์ใช้เล่นโดยเฉพาะ คำที่ใช้ในโปรแกรมก็เป็นศัพท์ทางการแพทย์ ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ เกมส์ทั้ง 4 ชุดนี้แต่ละ case นับเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์มากอย่างบาง case แพทย์ที่มาเล่นก็ยังยอมรับว่าไม่เคยพบในเมืองไทย เลย" เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในไฟเซอร์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

"จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากของเล่นชิ้นนี้นั้นคงตกอยู่กับนายแพทย์และบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการทบทวนทางด้านวิชาการแพทย์ ทำให้วิเคราะห์โรคได้เร็วขึ้น และยังสามารถทำให้แพทย์นึกถึงจุดที่จะนำมาวิเคราะห์โรคได้กว้างขึ้นโดยเฉพาะลักษณะของโรคบางชนิดซึ่งยังไม่เคยปรากฏในคนไข้บ้านเราเลย

นอกจากจากทางไฟเซอร์แล้วเกมส์คอมพิวเตอร์นี้ยังไม่มีที่ไหนอีก ซึ่งในขณะนี้ทางไฟเซอร์มีเพียงเครื่องเดียวและโปรแกรมก็มีเพียง 4 ชุดและไม่มีนโยบายที่จะนำออกจำหน่ายเพียงแต่นำมาเป็นโครงการสนับสนุนสำหรับผู้ที่สนใจและต้องการจะชมการสาธิตการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์นี้ ทางไฟเซอร์ก็ยินดีที่จะนำไปสาธิตให้ดูกันโดยไม่คิดค่าบริการแต่อย่างใด

พยุรี สรสุชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด แผนกเวชภัณฑ์บริษัทไฟเซอร์ กล่าวกับผู้จัดการว่า "โครงการในเรื่องนี้เราไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้เท่านั้นในขณะนี้เรายังต้องนำโปรแกรมที่ผลิตจากต่างประเทศมาใช้ แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างมีความพร้อม มีการประสานงานกันแล้วเราจะสร้างโปรแกรมที่รวบรวมข้อมูลและเขียนโปรแกรมขึ้นโดยคนไทย เพื่อให้มีโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น"

"ผมว่าถ้าเกมส์คอมพิวเตอร์นี้ นำมาเป็นสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ จะทำให้นักศึกษาแพทย์ได้รู้จักคิดวิเคราะห์โรคต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล ซึ่งในขณะนี้ลักษณะการสอนยังคงเป็นเพียงการให้เพียงอย่างเดียวไม่มีการถาม เมื่อเล่นเกมส์นี้จะทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับคนเล่นและท้ายสุดก็จะรู้ว่าสิ่งที่เขาวิเคราะห์นั้นถูกหรือผิด แต่โปรแกรมจะต้องมีมากกว่านี้และง่ายกว่าที่ไฟเวอร์มีอยู่" ดร.ยงยุทธ วัชรดุลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

สำหรับผู้ที่สนใจ ในตอนนี้ถ้าสถาบัน, องค์กรจะสั่งเข้ามาใช้คงจะเป็นการลงทุนไม่คุ้มทุนเพราะความก้าวหน้าของเกมส์คอมพิวเตอร์นี้ยังอยู่ในวงแคบมาก โปรแกรมที่ผลิตออกมาก็ยังมีจำนวนน้อยเพียง 4 ชุดเท่านั้นเอง เมื่อเล่นแล้วรู้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้อีกเมืองไทยเราก็ยังไม่สามารถผลิตโปรแกรมออกมาได้เอง นอกจากนี้โปรแกรมเกี่ยวกับโรคยังค่อนข้างจำกัดอยู่เพียงไม่กี่โรคเท่านั้น

ภายในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะมีบริษัทผลิตโปรแกรมออกมาจำหน่ายกัน ซึ่งจะต้องอาศัยเวลาและเงินลงทุนมหาศาล และถ้ามีการประสานงานที่ดีระหว่างแพทย์ที่รวบรวมข้อมูลกับโปรแกรมเมอร์ที่ป้อนข้อมูลออกมาเป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ เมื่อถึงเวลานั้นการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์กับซาวด์สไลด์มาใช้คงคุ้มกับเงินที่จ่ายไป แพทย์ก็มีโอกาสศึกษาและทบทวนวิชาการทางด้านการแพทย์ และผลประโยชน์ท้ายสุดคงตกอยู่กับประชาชนเพราะแพทย์จะได้วิเคราะห์โรคต่างๆ ได้กว้างขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us