เกือบ 2 ปีที่แล้ว ชินคอร์ปใช้เงินเกือบ 400 ล้านบาท ไปกับการกว้านซื้อเว็บไซต์
แต่มาถึงวันนี้ สิ่งที่พวกเขากำลังทำ คือการสร้างบริการขั้นพื้นฐาน
หลังจากใช้เวลาในการหาพันธมิตรมา ร่วมธุรกิจพักใหญ่ ในที่สุดเอดีเวนเจอร์ของชินคอร์ปก็ได้
เอ็นทีที เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด มาเป็นพันธมิตรร่วมทุน
การได้เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์มาร่วมทุนในครั้งนี้ นับว่าได้ช่วยทำให้สถาน
การณ์ของเอดีเวนเจอร์ คลี่คลายลงไปได้มาก
ธุรกิจดอทคอมของเมืองไทยเวลานี้อยู่ในช่วงขาลง การตกต่ำของตลาดหุ้นแนส
แดคทำให้ดีกรีความร้อนแรงของธุรกิจดอทคอมลดลงไปอย่างมาก จากที่ดูกันแค่การคาดการณ์ของตลาด
จำนวนคนดูเว็บ ต้องมาถึงบทพิสูจน์ของธุรกิจที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานจริงๆ มีรายได้
มีกำไร ไม่ใช่วัดกันที่จำนวนยอดผู้เข้าชมอีกต่อไป
แม้กระทั่งรายใหญ่อย่างกลุ่มชินคอร์ ปอเรชั่น ที่มีฐานธุรกิจสื่อสาร มีกำลังเงินทุน
จำนวนมาก ที่จะใช้สำหรับการเรียนรู้เพื่อการก้าวเข้าสู่ New economy ก็ตาม
พวกเขายังต้องการให้ธุรกิจอินเทอร์เน็ต บรรดาเว็บไซต์ที่เขาพยายามสร้างขึ้น
ยืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
ชินคอร์ป ก้าวเข้าสู่ธุรกิจดอทคอมใน ช่วงที่ธุรกิจนี้กำลังเริ่มใหม่ เป็นช่วงที่กระแส
เว็บไซต์ sanook.com กำลังตื่นตัว ชินคอร์ปวางบทบาทของตัวเองในฐานะของผู้ลงทุน
ที่ใช้เม็ดเงินอัดฉีดการลงทุนให้กับบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ หวังว่า เจ้าของไอเดีย
เหล่านี้ จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในโลกใหม่ ของธุรกิจที่ชินคอร์ปไม่เคยมีมาก่อน
แต่ภายหลังจากการตกต่ำของตลาดหุ้นแนสแดค พวกเขารู้แล้วว่า การหวังรายได้
จากค่าโฆษณาบนแบนเนอร์ ที่ต้องเริ่มต้นจากการสร้างเนื้อหา เพื่อดึงดูดจำนวนผู้เข้าชม
เป็นไปไม่ได้สำหรับโลกธุรกิจที่แท้จริง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการซื้อขายสินค้า
บนเว็บไซต์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ ที่ยังเป็นเรื่องของอนาคต ที่ต้องใช้เวลาพักใหญ่
ผู้บริหารของชินคอร์ปอเรชั่นเอง ก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจของเอดีเวนเจอร์มาเป็นระลอก
เพื่อหาทางออกใหม่ๆ ที่จะอยู่บนพื้นฐานของรายได้ ที่แท้จริง ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาซอฟต์แวร์
ลด การลงทุนในเว็บไซต์หลายแห่ง การลดต้นทุนการตลาด ด้วยการยุบรวม เว็บไซต์
ทั้งหมดมาโปรโมตรวมในนาม shinee.com โดยหันไปหาลูกค้าประเภทองค์กร ทำเว็บไซต์ที่จะรองรับการใช้งานสำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลาง
และขนาด ย่อม การจับมือกับดาต้าแมท เพื่อขยายไปยังฐานลูกค้าองค์กร
การปรับโครงสร้างของชินคอร์ปล่าสุด เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ปัญหาเอดีเวนเจอร์
ด้วยการเปลี่ยนเอาผู้บริหารมือ อาชีพเก่าแก่ของชินคอร์ป อารักษ์ ชลธานนท์
เข้ามารับตำแหน่งประธานกลุ่ม E-business
อารักษ์ ทำงานร่วมกับกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ตั้งแต่ในยุคเริ่มต้นธุรกิจ
จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยผ่านงานขายระบบคอมพิวเตอร์
ธุรกิจวิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ การขยายธุรกิจในต่างประเทศ และล่าสุด
ก็คือการเข้ามารับผิดชอบธุรกิจ E-business
ภาระหน้าที่ของอารักษ์ คือ ใช้ประโยชน์จากเงินทุนที่เหลืออยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
และหาทางออกใหม่ให้กับธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่จะถูกเปลี่ยนจากการสร้างเว็บไซต์
มาสู่การเป็น ผู้ให้บริการด้าน E-business
ปัญหาของเอดีเวนเจอร์ที่แล้วมาคือ การขาดรากฐานของธุรกิจที่แท้จริง ที่จำเป็นต้องหาธุรกิจที่จะมาเป็นแกนหลักในการทำรายได้
การร่วมมือกับเอ็น ทีที เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ ก็เพื่อสิ่งเหล่านี้ และยังจะทำให้ชินคอร์ปสามารถนำประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์เดิมมาใช้กับธุรกิจได้มากขึ้น
แทนที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
สิ่งที่เกิดขึ้นกับธุรกิจดอทคอมในเวลานี้ ก็คือ การที่เว็บไซต์จำนวนมาก
ต้องปิดตัวไปอย่างเงียบๆ เว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่อยู่รอดเวลานี้ ก็เป็นเพราะสายป่านที่ยาวพอ
ยังไม่มีรายไหนจะทำรายได้จากโฆษณา มากพอที่จะหล่อเลี้ยง ธุรกิจให้เดินได้ด้วยผลกำไรและขาดทุนที่แท้จริง
ตรงกันข้ามกับสภาพขององค์กรธุรกิจทั่วไป ที่เริ่มตื่นตัวและมองเห็นประโยชน์ในการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ
ซึ่งหลายคนมองว่านี่คือ มูลค่าที่แท้จริงของอินเทอร์เน็ต
"ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องของ click and mortar แต่ต้องเป็น brick
and click and mortar เป็นเรื่องของการที่องค์กรธุรกิจเดิมจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
ไม่ใช่การแสวงหารายได้จากการสร้างเว็บไซต์" ผู้ประกอบธุรกิจดอทคอมบอก
กรณีของเครือซิเมนต์ไทย ปูนซีเมนต์นครหลวง ที่นำอินเทอร์เน็ตมาให้ดีลเลอร์ใช้ในการสั่งซื้อปูนซิเมนต์
ก็คือ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในโลกใบ เก่า ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
ในการ สร้างประสิทธิภาพให้กับการทำธุรกิจ
การได้บริษัทเอ็นทีที คอมมิวนิเค ชั่นส์ เข้ามาเป็นพันธมิตร ก็เป็นเพราะเอดี
เวนเจอร์ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ จากธุรกิจเว็บไซต์ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์
ซึ่งเป็นธุรกิจบริการขั้นพื้นฐานของการให้ บริการด้านอินเทอร์เน็ต ที่จะเป็นธุรกิจที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าการหารายได้จากค่าโฆษณา
บริการของอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (IDC) เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ต
และอีบิซิเนส ที่จะมุ่งเน้นสำหรับ ลูกค้าองค์กร การให้บริการจะต้องทำแบบครบวงจร
ตั้งแต่การให้บริการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือ access นั่นก็คือ การเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet service provider) มีสถานที่สำหรับการให้บริการเช่าเนื้อที่ สำหรับการวางเครื่องแม่ข่าย
(server) ที่จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดี บริการให้เช่าแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์
สำหรับองค์กรธุรกิจ (Application service provider) เพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์
บริการเปย์เมนต์เกตเวย์ มีระบบขนส่งสินค้า (logistic) โดย ที่ผู้ให้บริการสามารถหารายได้จริงจากค่าบริการที่จะจัดเก็บจากลูกค้าประเภทองค์กร
ที่ต้องการนำอินเทอร์ เน็ตไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจ
"ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็น เตอร์ มันเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในไทย
ที่ทุกคนกำลังมุ่งไปสู่บริการที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้" ตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัดการ
บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทยกล่าว
ข้อตกลงของการร่วมลงทุนระหว่างเอดีเวนเจอร์ และเอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์
ก็เพื่อการสร้างสิ่งเหล่านี้ โดยเอดีเวนเจอร์ และเอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์
(ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอ็นทีที จะลงทุนถือหุ้นเท่ากันฝ่ายละ 47.5%
หรือ คิดเป็นเงินทุนฝ่ายละ 300 ล้านบาท และยังมีผู้ร่วมทุนของไทย คือ กลุ่ม
บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง เข้าร่วมลงทุนด้วยในสัดส่วน 5% (ตามตาราง)
หรือ 30 ล้านบาท ร่วมกันจัดตั้ง บริษัททำธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็น เตอร์
เงินทุน 630 ล้านบาท
นอกจากนี้ เอ็นทีที คอมมิวนิเค ชั่น (ประเทศไทย) จะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทชินนี่ดอทคอม
ในสัดส่วน 40% ใช้ เงินทุน ราว 200 ล้านบาท ในขณะที่เอดี เวนเจอร์จะถือหุ้น
59.17% โดยจะมีการ ปรับจากธุรกิจเว็บไซต์ ไปเป็นธุรกิจพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์
เพื่อให้รอง รับกับธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็น เตอร์ให้ครอบคลุมแบบครบวงจรมากขึ้น
"โดยหลักๆ แล้วต่อไปเราจะต้อง มีบริการรับฝากเว็บ หรือ web hosting ชินนี่ดอทคอม
จะเป็นเหมือนกับโชว์รูมที่จะแนะนำบริการให้ลูกค้า ที่ต้องการมีเว็บไซต์ส่วนตัว"
เจ้าหน้าที่ของเอดีเวนเจอร์กล่าวถึงบทบาทของชินนี่ดอทคอม ที่จะมาเสริมให้กับธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาต้า
เซ็นเตอร์มีความครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการผสมผสานระหว่างลูกค้าทั่วไปกับธุรกิจ
เท่ากับว่า โครงสร้างทางธุรกิจของเอดีเวนเจอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ ที่จะอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น
และส่วนของบริษัทชินนี่ดอทคอม ที่จะผันตัวเองไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์
ออกแบบเว็บไซต์ ที่จะเป็นส่วนเสริมธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็น เตอร์
งานนี้นอกจากอีดีเวนเจอร์จะได้เงินอัดฉีดจากพันธมิตรข้ามชาติ เข้ามาลงทุน
800 ล้านบาท ในการบุกเบิกธุรกิจ ใหม่ ประสบการณ์และเครือข่ายจะเป็นประโยชน์มากๆ
สำหรับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์
ล่าสุด เอ็นทีทีได้เข้าซื้อกิจการของ Verio Inc. ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง
ในสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ให้บริการ Global Internet Data Center ซึ่งครอบคลุมเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า
100 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ในการร่วมมือกับกลุ่มชิน เอ็น
ทีที จะช่วยสนับสนุนการให้บริการ ISP และดาต้าเซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ
การเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย Bandwidth ระดับโลกของกลุ่มเอ็นทีที
ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ฐานลูกค้าองค์กร ที่เป็นบริษัทข้ามชาติจากญี่ปุ่นที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
และเป็นฐาน ลูกค้าที่เอดีเวนเจอร์ไม่มี ซึ่งการได้กลุ่มสหพัฒนพิบูลเข้ามาถือหุ้น
5% ในกิจการ นี้ ก็มาจากสายสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทีที และกลุ่มสหพัฒน์
"ถ้าถามผม สิ่งที่เราอยากได้นอก เหนือจากประสบการณ์ และความเชี่ยว ชาญแล้ว
ก็คือ กลุ่มลูกค้าองค์กรที่เอ็นทีที มีลูกค้าที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นอยู่ในไทยเยอะมาก
ซึ่งเป็นสิ่งที่ชินไม่มี เพราะลูกค้า ส่วนใหญ่ของเราเป็นรายย่อย" อารักษ์
ชลธานนท์ president กลุ่ม E-business บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด
หลังจากได้เอ็นทีทีมาเป็นพันธ มิตร ชินคอร์ปอเรชั่นได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทดาต้าลายไทย
ผู้ให้บริการอินเทอร์ เน็ต (ISP) จากบริษัทดาต้าแมท โดยชินคอร์ปได้จัดตั้งบริษัทแอดไซเบอร์
ถือ หุ้นโดยชินนี่ดอทคอม 40% และ เอดีเวนเจอร์ 60% เพื่อเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดของดาต้าแมทที่ถืออยู่ในบริษัทดาต้าลายไทยทั้งหมด
ในสัดส่วน 65% ส่วนที่ เหลือยังเป็นของ กสท.และพนักงาน 35% ทั้งนี้ธุรกิจ
ISP จะเป็นส่วนที่จะมาเสริมบริการอินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความครบถ้วน
จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจ IDC เวลานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทข้ามชาติที่มีประสบการณ์
และเครือข่ายธุรกิจ IDC อยู่ในภูมิภาคนี้อยู่แล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เคเบิลแอนด์ไวร์เลส
ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น แปซิฟิก เซ็นจูรีไซเบอร์เวิร์ค (PCCW)
ผู้ประกอบธุรกิจ โทรคมนาคมรายใหญ่จากเกาะฮ่องกง ที่ เข้ามาเปิดให้บริการอยู่บนอาคารเทเลคอมทาวเวอร์ของการสื่อสารแห่งประเทศ
ไทย ซึ่งการมาลงทุนในไทย เป็น 1 ในการให้บริการระดับภูมิภาคของ PCCW ที่จะเปิดให้บริการใน
10 ประเทศ
บริษัทดาต้าวัน จากประเทศสิงคโปร์ ที่มีเครือข่ายธุรกิจในหลายประเทศ การมาบุกตลาดในไทยของดาต้าวัน
ที่มีพันธมิตรอย่างกลุ่มเออาร์ อินฟอร์เมชั่น ของแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ เป็นฐานกำลังที่สำคัญ
ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มชินคอร์ปอ เรชั่น ที่มีทั้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
บริการโทรคมนาคม ธุรกิจโทรทัศน์ คือสิ่งที่เอ็นทีที เทเลคอมมิวนิเคชั่น ต้องการ
เช่นเดียวกับการที่เอ็นทีทีมีธุรกิจเอ็นทีที โดโคโม ทำธุรกิจไร้สาย i-mode
ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นเรื่องของอนาคตที่จะมองเห็นประโยชน์ร่วมในอนาคต
สิ่งที่เอดีเวนเจอร์ ต้องทำต่อจากนี้ ก็คือ การจัดสรรบุคลากรที่มีอยู่
ให้สอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจใหม่ให้ลง ตัวมากที่สุด และการแข่งขันในสมรภูมิใหม่
ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ ที่จะมีความเข้มข้นไม่แพ้กับธุรกิจอื่นๆ
และไม่ใช่การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการของไทยเท่านั้น แต่เป็น การแข่งขันระหว่างบริษัทข้ามชาติ
ที่มีเครือข่าย และประสบการณ์ทางธุรกิจไม่แพ้กัน
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับธุรกิจ IDC ในเวลานี้ก็คือรูปแบบของบริการ ที่จะต้องมีความเข้าใจธุรกิจ
และเป็น ธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง "ไม่ใช่การให้เช่าเนื้อที่เหมือนกับอสังหา
ริมทรัพย์ แต่นี่เป็นการบริการที่ต้องคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงบริการด้านอื่นๆ
ที่สำคัญ ก็คือ ลูกค้าองค์กรที่จะมาใช้บริการ
ชินคอร์ป ก็เหมือนกับธุรกิจในโลกใบเก่าที่ต้องการก้าวเข้าสู่ new economy
เปลี่ยนจากองค์กรที่เป็น brick and mortar มาเป็น click and mortar คือ การเรียนรู้การทำเงินจากธุรกิจอินเทอร์เน็ต
การลองผิดลองถูกที่แล้วมา ทำให้ชินคอร์ปต้องกลับไปสู่การผสมผสานระหว่างธุรกิจที่มีอยู่เดิม
กับอินเทอร์เน็ตให้ลงตัวมากที่สุด
"ธุรกิจอินเทอร์เน็ตเวลานี้ มันเป็น down trend ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเติบโตมากขึ้น
แต่คุณจะต้องให้อยู่รอด ด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่จำกัด รอจนกว่าโอกาสของธุรกิจมันเปิด
ที่จะกลับมาในธุรกิจนี้อีกครั้ง" อารักษ์ กล่าว