Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์1 มีนาคม 2553
เซ็นทรัลปรับโครงสร้าง ชู M&A รุกตลาดก้าวกระโดด             
 


   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป




เซ็นทรัลปรับโครงสร้างการบริหาร ผุดบอร์ดเล็กลุยงานโอเปอเรชั่น เพื่อส่งไม้ต่อให้บอร์ดใหญ่อนุมัติ สร้างความคล่องตัวและรวดเร็วในการบริหาร ชูแผนควบรวมกิจการ และการรุกตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด

เซ็นทรัลกรุ๊ปประกาศรุกธุรกิจปี 2553 ภายใต้กลยุทธ์ M&A (Merge & Acquisition) หรือการควบรวมกิจการซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยสร้างการเติบโตแบบก้าว กระโดดให้กับทางกลุ่มเซ็นทรัล โดยการใช้กลยุทธ์ M&A จะอยู่ภายใต้กรอบของ Synergy การประสานประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการสร้าง Value Added ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องหลังจากทำการ M&A โดยใช้สรรพกำลังจากกลุ่มธุรกิจต่างๆในการสร้างทราฟฟิกดึงดูดกำลังซื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการต่างๆที่ทางกลุ่มได้ลงทุนเพื่อให้เกิดผล ตอบแทนกลับมา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการทำ M&A มาบ้างเช่น โครงการ เซ็นทรัลเวิลด์ ที่ซื้อกิจการต่อจากกลุ่มเตชะไพบูลย์ เซ็นทรัล อุดรธานี ที่ซื้อกิจการจากกลุ่มอุดรเจริญศรี ทำให้สามารถขยายสาขาใหม่โดยไม่ต้องเสียเวลาก่อสร้าง อีกทั้งยังได้ทำเลที่ตั้งที่เป็นย่านชุมชนหรือศูนย์กลางธุรกิจ

สำหรับปีนี้เซ็นทรัลกรุ๊ปจะมีการรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียง เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้บุกตลาด แต่จากนี้ไปจะมีกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาที่เข้าไปรุกตลาดเมืองจีนร่วมกับเซ็นทรัล รีเทลฯ โดยสาขาที่จะเปิดที่เมืองจีนล่าสุดคือที่เมืองหังโจวซึ่งใช้งบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท โดยจะเปิดในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งเลื่อนมาจากเดือน ก.ย.ปีก่อน

นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดสาขาเสิ่นหยางในปี'54 ส่วนโครงการใหม่ๆ จะขยายเพิ่มอีก 2-3 แห่งใน 3 ปี ใช้งบในการเซ็นสัญญา 500-600 ล้านบาทต่อโครงการ ขณะที่งบก่อสร้างโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 ล้านบาทต่อโครงการ

เซ็นทรัลกรุ๊ปมีแผนที่จะใช้งบลงทุนในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (CRC) 5,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการใหม่ๆ เช่น โรบินสัน ตรัง และเชียงราย การลงทุนต่อเนื่องของโรบินสัน ขอนแก่น และไทวัสดุ (บางบัวทองและสุขาภิบาล) ตลอดจนการรีโนเวตสาขาเก่า

ส่วนกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPN) ใช้งบ 8,900 ล้านบาท เน้นไปที่โครงการใหม่ เช่น เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช โฮเต็ล โครงการก่อสร้างที่เชียงราย และพระราม 9 การปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งใช้เวลาปรับปรุง 6 เดือน ภายใต้งบ 2,100 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มธุรกิจค้าส่ง (CMG) ใช้งบ 200 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรม 1,600 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากโครงการ เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต ขณะที่ธุรกิจอาหารใช้งบ 300 ล้านบาทลงทุนเปิดแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ เช่น Bread Papa's, Cold Stone Creamery and Chabuton

นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลยังมีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่โดยเพิ่มบอร์ดชุด ใหม่ภายใต้ชื่อ CEO Management Board (CMB) ประกอบด้วย สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ เป็นกรรมการบริหาร โดยมีกรรมการบริหารอีก 7 คน รับผิดชอบธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ ทศ จิราธิวัฒน์ CEO กลุ่มค้าปลีก กอบชัย จิราธิวัฒน์ CEO กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พิชัย จิราธิวัฒน์ CEO กลุ่มธุรกิจค้าส่ง Gerd Steeb CEO กลุ่มธุรกิจโรงแรม ธีระเดช จิราธิวัฒน์ CEO กลุ่มธุรกิจอาหาร สุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ CEO รับผิดชอบอสังหาริมทรัพย์หรือแลนด์แบงก์ของเซ็นทรัลกรุ๊ป ปริญญ์ จิราธิวัฒน์ CEO ด้านการเงินของเซ็นทรัลกรุ๊ป

ในขณะที่บอร์ดชุดใหญ่ที่มีสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ เป็นประธานบอร์ด Supervisor Board (SB) จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำและอนุมัติโครงการต่างๆที่ได้รับการวางแผนมาจาก CMB ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวกว่าการใช้บอร์ด SB เนื่องจากกรรมการใน CMB เป็นผู้บริหารสายตรงในกลุ่มธุรกิจต่างๆของเซ็นทรัล ทำให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน ส่งผลให้การศึกษาแต่ละโครงการมีความรวดเร็วมากขึ้น

ทั้งนี้ CMB ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารในเจเนอเรชั่นที่ 3 ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งมีความแอกเกรสซีฟมากกว่าบอร์ดชุด SB ซึ่งเป็นผู้บริหารเจเนอเรชั่นที่ 2 ของตระกูล โดยเฉพาะ ทศ จิราธิวัฒน์ ที่สืบทอดสายเลือดนักธุรกิจจาก สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ผู้เป็นพ่อ ที่มีบทบาทอย่างมากในการสร้างอาณาจักรเซ็นทรัล โดยมีการแตกแขนงธุรกิจในกลุ่มค้าปลีกซึ่งมีทั้งห้างเซ็นทรัล ห้างโรบินสัน เซน ตลอดจนแคทิกอรีต่างๆไม่ว่าจะเป็น บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต ท็อปส์ เพาเวอร์บาย ออฟฟิศ ดีโป้ โฮมเวิร์ค ขณะที่ กอบชัย จิราธิวัฒน์ ก็นำพาเซ็นทรัลพัฒนาขยายศูนย์การค้าครอบคลุมหัวเมืองต่างๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึง Big Move ของเซ็นทรัลที่กำลังผลัดใบจากเจเนอเรชั่นที่ 2 ไปสู่เจเนอเรชั่นที่ 3

"Business Strategy ของเราคือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์เพื่อรุกตลาดไปสู่ภูมิภาคต่างๆ สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ โดย CMB จะช่วยวางแผนธุรกิจใหม่ๆ สร้างพันธมิตรทางการค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นองค์กรที่ดี เป็นที่ยอมรับเช่นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่เราใช้ควบ คู่กับการดำเนินธุรกิจ" สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร CMB กล่าว

สำหรับผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านมาปิดยอดที่ 110,700 ล้านบาท เติบโตมากกว่าปีก่อน 9% ทว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งเอาไว้ 112,500 ล้านบาท เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองในประเทศ ส่วนปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 7% หรือคิดเป็นผลประกอบการประมาณ 118,800 ล้านบาท โดยคาดว่าแต่ละธุรกิจในเครือจะสามารถสร้างการเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 5-7%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us