|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.กรุงไทย เตรียมลุย ตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคทันที หากกลต.อนุมัติ ล่าสุดตามจีบ "ปตสผ." ตั้งกองอินฟาฯลงทุนโครงการขุดเจาะน้ำมัน หรือลงทุนในเครื่องจักร เเทนการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ พร้อมตั้งเป้า AUM กองทุนสำรองฯปีเสือโต 20%
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (Infastructure Fund)ว่า ตอนนี้เราได้มีการหารือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีแผนจะระดมทุนเพิ่อลงทุน โครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้ง 3 ราย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงบริษัทเอกชนอย่าง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยการหารือดังกล่าว เป็นการหารือเบื้องต้น ถึงหลักการและแนวทางตามเฮียร์ริ่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น เนื่องจากเกณฑ์การจัดตั้งกองทุน อยู่ระหว่างรอประกาศของก.ล.ต.
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเอง สนใจใช้ช่องทางการระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค แทนการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ ซึ่งการหารือถึงรูปแบบการระดมทุนเบื้องต้นนั้น เป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมัน การลงทุนในเครื่องจักร ซึ่งการลงทุนเหล่านี้มีอายุการลงทุนที่ชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถกำหนดผลตอบแทนที่ชัดเจนได้ด้วย โดยจากการประเมินในเบื้องต้น เราคาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีอยู่ประมาณ 1% และหากรวมผลตอบแทนในรูปของเงินต้นที่จะทยอยคืนให้ผู้ลงทุนด้วยแล้ว เชื่อว่าจะสูงถึง 25% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รูปแบบการลงทุนยังไม่ชัดเจน เพราะการจัดโครงสร้างกองทุนทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดรับแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
นางสาวประภากล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนเบื้องต้น คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและออกเป็นประกาศเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษี ว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ที่เกิดจากการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนว่า หากบริษัทเอกชนที่สนใจระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค จะสามารถคงสัดส่วนการลงทุนได้เกิน 50% หรือไม่ ซึ่งในเกาหลีใต้ กองทุนประเภทดังกล่าวเปิดทางให้เอกชนลงทุนได้
"หลังจากนี้ คงต้องรอประกาศเกณฑ์จัดตั้งกองทุนจาก สำนักงาน ก.ล.ต ก่อน จึงจะสามารถเสนอรูปแบบการลงทุนที่ชัดเจนได้ โดยในเบื้องต้น มีการกำหนดมูลค่าการระดมทุนเอาไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท และสามารถลงทุนได้ทั้งในโครงการที่ยังไม่ก่อสร้าง ไปจนถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจนมีรายได้แล้ว ซึ่งคาดว่าช่วงกลางปีนี้ น่าจะมีความชัดเจนและสามารถจัดตั้งกองทุนได้"นางสาวประภากล่าว
นางสาวประภา กล่าวต่อถึงแผนงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้ ว่า เราจะขยายสินทรัพย์ หรือ AUM ของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโต 20% โดยจะมุ่งเจาะลูกค้าภาคเอกชนและลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฎ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เป็นต้น ส่วนแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้มองว่ายังมีการ แข่งขันสูง โดยเฉพาะการตัดราคาหรือค่าธรรมเนียม เพื่อดึงลูกค้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทตัวเอง ซึ่งประเด็นนี้บริษัทคงจะทำได้เพียงการบริหารจัดการกองทุนให้มีผลการดำเนิน งานอยู่อันดับต้นๆ ของระบบ เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริหารงาน เเละไว้วางใจให้บลจ.กรุงไทยเป็นผู้บริหารพอร์ตการลงทุนต่อไป
|
|
|
|
|