นายกิติชัย สินเจริญกุล กรรมการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 52 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 52 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 2,141.98 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 51 ที่ทำไว้ 617.92 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,524.06 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 246.64% ผลจาก ฝ่ายจัดการมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิการผลิตในทุกช่วงเวลา มีการบริหารวัตถุดิบเพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางแท่งส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.9% เป็น 7.0 ส่งผลให้มีกำไรขั้นต้นถึง 3,210 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทร่วมที่ผลิตถุงมือยางประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีบริษัทฯ ได้รับส่วนแบ่งผลกำไรเพิ่มขึ้นจาก 383 ล้านบาทเป็น 745 ล้านบาท รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 538 ล้านบาทที่ส่วนใหญ่เกิดจากผลดีของการแข็งค่าเงินสกุลรูเปียะห์ที่บริษัทย่อยแห่งหนึ่งในอินโดนีเซียได้รับผลบวกและจากการควบคุมค่าใช้จ่ายและจัดการต้นทุนการเงินที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำตลอดปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายทางการเงินในระดับหนึ่ง และปีนี้บริษัทฯ ได้บันทึกประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานเมื่อเกษียณอายุโดยบันทึกในงบดุล ทำให้กำไรสะสมต้นปี 51
ทั้งนี้ เป็นผลจากสถานการณ์ของอุตสาหกรรมยาง ยังคงดีอย่างต่อเนื่อจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในปีที่ผ่านมา ส่งผลถึงตัวเลขในกลุ่มยานยนต์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจีน ประกอบกับบริษัทฯได้รับผลดีเป็นอย่างสูงจากผลการดำเนินงานในบริษัทร่วมแห่งหนึ่งที่เป็นผู้ผลิตถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์รายใหญ่ของโลกในปี 52 ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ถุงมือยางในหลายประเทศสูงจนไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตที่มีอยู่ จากความกังวลของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ส่งผลให้ปริมาณการขายรวมเพิ่มขึ้น โดยปี 52 บริษัทฯ มีปริมาณขายรวม 759,021 ตันเพิ่มขึ้น 12 % เป็นอัตราการเพิ่มที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโดยรวมและเป็นยอดจำหน่ายสูงสุดนับแต่ก่อตั้งบริษัทฯ เป็นต้นมา โดยมีรายได้จากการขายและบริการรวมเป็นเงิน 45,585 ล้านบาท
นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TRUBB แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 52 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 119.89 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 112.49 ล้านบาท หรือขาดทุน 206.57% เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มเกิดรายได้จากการขายและบริการ 7,914 ล้านบาท ลดลง 1,011 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนหรือ 11.33% ขณะที่ต้นทุนขายและบริการมี 7,368 ล้านบาท ลดลง 942ล้านบาท หรือ 11.34 เป็นผลทำให้มีกำไรในขั้นต้น 546 ล้านบาท ลดลง 68 ล้านบาท หรือ 11.07%
เนื่องจากปี 52 มีปัจจัยที่ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศอุตสาหกรรมใหม่BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และ จีน) โดยเฉพาะจีนปี 52 มียอดการผลิตรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 13.80 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้น 48 % ส่งผลให้มีกำลังซื้อยางพาราเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์กลับเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทำให้ราคาสินค้ายางพาราปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปีอีกทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอื่น ส่งผลให้กำลังซื้อสินค้ายางพาราไม่ลดลง ทางด้านแหล่งวัตถุดิบ ในปีที่ผ่านมาปริมาณวัตถุดิบซึ่งเป็นสินค้าทางการเกษตรมีผลผลิตลดลงเหลือเพียง 2.8 ล้านตัน (ลดลง 0.20 ล้านตันหรือ 8% ) เหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาวะการณ์แห้งแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น คือราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็น 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือ 100% ซึ่งราคาขายสินค้าปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน อีกทั้งค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้ราคาขายปรับตัวได้สูงขึ้น
อย่างไรก็ดี มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 53 ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลประจำปี 52 อัตราหุ้นละ 2 บาท กำหนดจ่ายนปันผลวันที่ 19 พฤษภาคม 53 และเตรียมขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 23 เมษายน 53
|