Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
สุวัฒน์ ทองธนากุล มกราคม 2530
เบื้องหลังชนวนแตกหัก เอื้อชูเกียรติปะทะ คัณธามานนท์             
 

   
related stories

น้ำผึ้งพระจันทร์ระหว่างเอื้อชูเกียรติ-ภัทรประสิทธิ์ จะรักษาความหวานได้นานแค่ไหน?
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ธนาคารเอเชีย จำกัด (1 เม.ย. 2529)

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอเชีย

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
ยศ เอื้อชูเกียรติ
Banking and Finance
กลุ่มคัณธามานนท์




เมื่อครั้งที่เสฐียร เตชะไพบูลย์ ยังเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเอเชียก่อนหน้า ยศ เอื้อชูเกียรติ จะมานั่งเก้าอี้นี้ในปัจจุบัน ตอนนั้นตระกูลเตชะไพบูลย์ก็มีหุ้นในธนาคารแห่งนี้ด้วย

ผู้ถือหุ้นใหญ่จึงมีด้วยกัน 3 กลุ่ม คือกลุ่มเอื้อชูเกียรติที่มี จรูญ เอื้อชูเกียรติ เป็นตัวแทน กลุ่มเตชะไพบูลย์ มีเสฐียร เตชะไพบูลย์ เป็นตัวแทน และกลุ่มคัณธามานนท์มี เจียม คัณธามานนท์ เป็นตัวแทน

แต่ยศ เอื้อชูเกียรติบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ความจริงแล้วผู้ถือหุ้นใหญ่ของแบงก์เอเชียจะถือว่าเป็น 3 กลุ่มไม่ได้หรอก ความจริงคือ 2 กลุ่ม เพราะทางเตชะไพบูลย์กับทางเอื้อชูเกียรตินั้นต้องถือว่าเป็นกลุ่มเดียวกันเพราะเป็นญาติกัน" (เสถียร เตชะไพบูลย์ แต่งงานกับลูกสาวจรูญ เอื้อชูเกียรติที่ชื่อ ลาวัลย์)

ผู้ถือหุ้นหลักของธนาคารเอเชียตอนนั้นจึงมีเพียงกลุ่มเอื้อชูเกียรติและคัณธามานนท์

และยุคสมัยการบริหารของเสฐียร มีการพัฒนาธนาคารเอเชียไปพอสมควร อย่างน้อยก็พยายามปรับโฉมจากธนาคารที่เคยพัวพันกับบุคคลทางการเมืองให้มีความเป็นธนาคารอาชีพมากขึ้น

แต่ปัญหาสั่งสมในแง่หนี้สินที่ติดค้างโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ยังเป็นสิ่งที่แก้ไม่ตก

สำหรับกลุ่มคัณธามานนท์สมัยที่มีหุ้นในธนาคารเอเชียมากที่สุดนั้นมีถึงประมาณ 30% ส่วนกลุ่มเอื้อชูเกียรติเมื่อรวมกับเตชะไพบูลย์แล้วจะมีประมาณ 50-60% จากตัวเลขการถือหุ้นของฝ่ายเอื้อชูเกียรติซึ่งมีเหนือกว่าเช่นนี้ก็ย่อมจะทำอะไรได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวถูกศอกกลับ

จากการตรวจสอบพบว่ากลุ่มคัณธามานนท์เป็นหนี้ธนาคารเอเชียเกือบ 200 ล้านบาท โดยที่ยังทวงถามกันไม่สำเร็จนั้น

เสฐียรเองเคยเลิกเกรงใจถึงขนาดยื่นโนตีสและฟ้องกลุ่มคัณธามานนท์อยู่ครั้งหนึ่ง จนมีการจ่ายหนี้ให้แบงก์ส่วนหนึ่งแต่ก็ยังค้างอีกส่วนหนึ่ง

การที่ต้องอยู่ในภาวะเผชิญหน้าและความขัดแย้งของกลุ่มผู้ถือหุ้นเช่นนี้ คงจะสร้างความอึดอัดใจให้แก่เสฐียรพอควร ประกอบกับได้รับไฟเขียวจากทางตระกูลเตชะไพบูลย์ เขาจึงตัวสินใจถอนตัวกลับไปช่วยงานพี่ชายคือ อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ธนาคารศรีนคร

ส่วนยศ เอื้อชูเกียรติ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องภรรยา ซึ่งเสฐียรขอให้มาช่วยงานด้วย โดยตอนแรกเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษา และต่อมาก็เข้ามาเต็มตัวในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ

เมื่อเสฐียรลุกจากเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมกับการขายหุ้นส่วนใหญ่ที่ถือไว้แก่กลุ่มใหม่ที่เข้ามาคือ "กลุ่มภัทรประสิทธิ์" ยศ เอื้อชูเกียรติจึงได้ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดแทน

"ที่คุณเสฐียรออกจากแบงก์ไปนั้น ที่จริงเป็นความต้องการของตระกูลเขามากกว่า มีข่าวว่าทางกลุ่มเตชะไพบูลย์กำลังถูกคนจังตาว่าเข้าไปผูกขาดธุรกิจมากเกินไป ทางเตชะไพบูลย์ไม่ต้องการให้คนมองภาพเป็นอย่างนี้ จึงให้คุณเสฐียรถอนตัวออกไป เพราะช่วงนั้นคนมองว่าแบงก์เอเชียก็เป็นแบงก์ของกลุ่มเตชะไพบูลย์ด้วย" ยศ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในช่วงที่ยศ เอื้อชูเกียรติ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ก็เป็นจังหวะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบ และพบว่าผู้บริหารธนาคารในยุคที่กลุ่มคัณธามานนท์มีอำนาจอยู่ได้ปล่อยสินเชื่อจนเกินสัดส่วนต่อเงินกองทุน และยังมีการปล่อยกู้ให้กลุ่มธุรกิจในเครือของตนด้วย จึงให้เร่งรัดหนี้สินคืน

เมื่อพูดกันดีๆ ไม่ได้ผล การฟ้องร้องก็เกิดขึ้นอีก และการชักธงรบครั้งใหม่ของเอื้อชูเกียรติก็โดยการที่จรูญร่วมกับยศ ลงชื่อมอบอำนาจให้ พ.ต.ต. สวัสดิ์ ทุมโฆสิต ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทในเครือของคัณธามานนท์ 3 บริษัท รวมทั้งผู้ค้ำประกัน คือ เจียม คัณธามานนท์ สุมิตร คัณธามานนท์ และสุวิทย์ คัณธามานนท์

และย่อมเป็นการแน่ที่ฝ่ายคัณธามานนท์ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ จึงสู้คดีในประเด็นที่ว่า 2 พ่อลูกค่ายเอื้อชูเกียรติไม่มีอำนาจมอบหมายให้ฟ้อง เพราะกรรมการบริหารทั้งหมด (ซึ่งมีฝ่ายคัณธามานนท์ร่วมอยู่ด้วย) ยังไม่ได้รับรู้ด้วย

คดีนี้สู้กันถึง 3 ศาล โดยศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่อีก 2 ศาล ฝ่ายเอื้อชูเกียรติเป็นฝ่ายชนะเด็ดขาด

เมื่อมันเป็น "ความแค้นที่ต้องชำระ" วันที่ 4 ต.ค. 2526 ฝ่ายคัณธามานนท์ จึงให้สุวิทย์ คัณธามานนท์ ดำเนินการฟ้องฝ่ายเอื้อชูเกียรติบ้าง โดยหาว่าฝ่ายนี้ก็ปล่อยหนี้เละเทะเหมือนกัน โดยปล่อยกู้ให้พวกตนเองอย่างไม่มีหลักประกัน และบริหารงานทำให้ธนาคารเสียหายประมาณ 3,000 ล้านบาท และอ้างว่ามีหลักฐาน 13 รายการ ที่ทำความเสียหายถึง 390 ล้านบาท

แม้ว่าในที่สุดการต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความจริงจะปรากฏว่าฝ่ายเอื้อชูเกียรติเป็นฝ่ายชนะก็ตาม แต่ศึก 2 ตระกูลที่ประลองกำลังกันนี้ก็เป็นที่ฮือฮากันไปทั้งวงการ

เพราะไม่เพียงแต่จะต่อสู้กันในขั้นศาลเท่านั้น ยังมีการใช้หน้าหนังสือพิมพ์เป็นเวทีโจมตีและแฉโพยกันเป็นที่เอิกเกริกอีกด้วย

"เรื่องส่วนตัวเราคงไม่มีอะไรกันแล้ว เวลานั้นตระกูลคัณธามานนท์ก็คงโกรธที่ธนาคารไปฟ้องเขา ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็ให้เวลาเขาเยอะ แต่ทางแบงก์ชาติก็บีบมาให้ทำอะไรซักอย่างหนึ่ง มันก็ต้องทำ"

"มันก็เหมือนกับเรามีเพื่อนเป็นตำรวจอยู่คนหนึ่ง เวลาเราทำผิดอะไร เพื่อนก็มาเตือน แล้วเราจะโกรธว่าแหม…เพื่อนฝูงกันแค่นี้ยอมกันไม่ได้หรือ" ยศกล่าวถึงความรู้สึกที่ต้องฟ้อง

เรื่องนี้ยศเองก็ยอมรับว่าภาพพจน์ของธนาคารตอนนั้นเสียไปมาก เพราะคนเข้าใจผิดว่านอกจากจะเป็นการตีกันเองในระหว่างผู้ถือหุ้นแล้ว ยังเข้าใจผิดว่าคัณธามานนท์ถือหุ้นมากถึง 50% คนก็เลยห่วงว่าจะบริหารกันได้อย่างไร

"คุณต้องรู้ว่าปัญหาของผู้บริหารธนาคารนั้นก็คือแบงก์ชาติ แบงก์ชาติจะเพ่งเล็งที่หนี้สินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของธนาคาร เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงตกหนักแก่ผู้บริหาร คือตัวผู้จัดการเอง ซึ่งทางคัณธามานนท์ก็ไม่เชื่อ คิดว่าคุณเสฐียรหรือผมไปกลั่นแกล้ง" ยศกล่าว

จนถึงวันนี้ กลุ่มเอื้อชูเกียรติจับมือกับกลุ่มภัทรประสิทธิ์ครองความเป็นใหญ่อย่างเต็มที่ เพราะในการประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่ผ่านมา เจียม คัณธามานนท์ และสุวิทย์ คัณธามานนท์ ครบวาระการเป็นกรรมการ และที่ประชุมก็ไม่เลือกกลับเข้ามาอีก

นอกจากนี้แม้แต่หุ้นของกลุ่มคัณธามานนท์ ฝ่ายเอื้อชูเกียรติก็กำลังหาทางยึดเพื่อนำออกขายทอดตลาดเพื่อล้างหนี้

เป็นอันว่าอิทธิพลและบทบาทของคัณธามานนท์ ได้ถูกเบียดออกจากธนาคารเอเชีย จนหมดสิ้นแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us