Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2530
เปิดตัวไทยแลนด์ฟันด์ "อย่ามองแค่เงิน 789 ล้าน             
 


   
search resources

Funds
กองทุนไทยแลนด์ฟันด์




เมื่อเวลาประมาณ 3 ทุ่มของคืนวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคมปีที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ เงินจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 789 ล้านบาทไทยได้ถูกโอนจากนิวยอร์คมาที่ธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมดำเนินการต่อไป

นี่คือจุดเริ่มเดินเครื่องของกองทุนไทยแลนด์ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) ระดับระหว่างประเทศ โครงการแรกที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนจากสถาบันในยุโรปและอเมริกานำมาลงทุนในตลาดทุนและตลาดบ้านเรา

ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งคึกคักฟู่ฟ่าในช่วงปลายปีที่ผ่านมาอยู่แล้ว เพราะบรรยากาศเสริมส่งไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยลด สภาพคล่องมีเยอะ น้ำมันลดราคา แถมมีเงินจากนักลงทุนต่างชาติมาหนุนซื้อหุ้น

การเปิดตัวไทยแลนด์ฟันด์ก็เลยช่วยเพิ่มความหวังให้ตลาดมากขึ้น ถึงขนาดราคาขยับขึ้นไปรอท่ากันทีเดียวเชียว แต่ยังหรอก…ช่วงนี้เขาตกลงกันแล้วว่าจะเหมาะเอาของดีราคาถูกจากกองทุนพัฒนาตลาดทุนที่บรรดาแบงก์ต่างๆ ไม่อยากถือเอาไว้ต่อไป (เลือกเอาไว้แล้ว 11 หุ้น)

การเข็นไทยแลนด์ฟันด์ออกมาจนสำเร็จครั้งนี้ คนที่ภูมิใจมากคงจะเป็น ศุกรีย์ แก้วเจริญ แห่งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์มาตลอดและปัจจุบันก็ยังเป็นที่ปรึกษาของ รมต. คลังเกี่ยวกับเรื่องนี้

อีกคนก็ อุดม วิชชยาภัย กรรมการผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนไทยแลนด์ฟันด์และเป็นบริษัทลูกของบรรษัทก็ย่อมจะดีใจที่สามารถออกโปรดักซ์ใหม่ระดับอินเตอร์ แถมได้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ผู้ลงทุนในฐานะที่เป็นกองทุนที่ทางการรับรอง

เล่นเอาบางกอกฟันด์ที่มีฟิทเป็นโบร๊กเกอร์ในการซื้อขายหุ้นให้ต้องมองค้อนเอา แต่ก็ยังทำเชิดหน้าว่าไม่หวั่น พร้อมกับคุยว่าตอนนี้เตรียมขยายกองทุนอีก 15 ล้าน

ว่ากันถึงเรื่องการพัฒนาตลาดทุนในเมืองไทย ก็ต้องกล่าวถึง เดวิด กิล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาตลาดทุน ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ซึ่งเป็นสถาบันในเครือของธนาคารโลก และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับตลาดทุนของไทยมานานแล้ว

และรูปแบบการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งเป็นสถาบันที่ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง ภาคเอกชน ก็เอาแนวความคิดมาจาก IFC นี่เอง

เมื่อวันแถลงข่าวโครงการไทยแลนด์ฟันด์ที่ห้องประชุมบรรษัท เดวิด กิล ในฐานะผู้แทนของ IFC ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งที่ร่วมเป็นผู้ประกันการขาย หน่วยลงทุนนี้ก็มาร่วมงานด้วย

เดวิด กิล เกี่ยวข้องกับเรื่องของการพัฒนาตลาดทุนไทยมาตั้งแต่ 15 ปีที่แล้วมา ตั้งแต่สมัยที่เริ่มรู้จักกับศุกรีย์ แก้วเจริญ ซึ่งตอนนั้นยังทำงานอยู่ที่ธนาคารชาติ ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานโครงการพัฒนาตลาดทุนในประเทศไทย

สิ่งที่เดวิด กิล ช่วยเหลือต่อการพัฒนาตลาดทุนมีอยู่พอสมควร อย่าง ดร. ซิดนีย์ เอ็ม.ร้อบบิ้นส์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค ที่มาช่วยศึกษาและแนะแนวทางการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไทย ก็จากการช่วยติดต่อของเดวิด กิล

นอกจากนี้เขายังช่วยในการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม (IFC ก็ร่วมถือหุ้นด้วย) และตอนนี้เมื่อเห็นท่าว่าตลาดทุนไทยเริ่มเข้าที่แล้ว ก็ยังช่วยสนับสนุนในการจัดตั้งไทยแลนด์ฟันด์ ซึ่ง ศุกรีย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"บางคนมองเพียงว่า เราได้เงิน 700 กว่าล้านบาทเข้ามาในเมืองไทย ความจริงไม่ใช่แค่นั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากอยู่ที่ไทยแลนด์ฟันด์จะเป็นหลักทรัพย์แรกของไทยที่จะได้ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน ซึ่งเป็นตลาดหุ้นชั้นนำของโลก"

"เรื่องนี้นอกจากจะเป็นชื่อเสียงของประเทศแล้ว เมื่อไทยแลนด์ฟันด์ลงทุนในหลักทรัพย์อะไรก็ต้องเปิดเผยให้ต่างประเทศรู้ เช่น ถ้าลงทุนในหุ้นของบรรษัทฯ ปูนซิเมนต์ไทยหรือธนาคารไทยพาณิชย์ กิจการเหล่านี้ก็จะเป็นที่รู้จักในตลาดยุโรปมากขึ้นด้วย"

"ยิ่งกว่านั้น ต่อไปกิจการที่ไทยแลนด์ฟันด์ไปลงทุนก็จะมีโอกาสนำหุ้นทุนหรือหุ้นกู้ออกไปจำหน่ายในยุโรปได้"

"เมื่อวันประชุมบีโอไอครั้งก่อน ผมยังรายงานให้ท่านนายกรัฐมนตรีทราบว่า ขณะนี้เป็นช่วงของการก้าวกระโดดของตลาดทุนไทย ซึ่งต่อไปนี้เราได้เข้าสู่ระดับโลกแล้ว" ศุกรีย์กล่าวทิ้งท้ายกับ "ผู้จัดการ"

ด้วยเหตุนี้เองการมาเมืองไทยของ เดวิด กิล ครั้งนี้ก็ยังได้แอบไปเจรจากับผู้บริหารปูนซิเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อปูทางให้ออกหุ้นกู้แบบแปลงสภาพได้นำไปขายในตลาดยุโรป

และหลังจากช่วงแถลงข่าววันนั้นศุกรีย์ แก้วเจริญ ก็ยังมีแก่ใจกระซิบบอก "ผู้จัดการ" ว่าเป็นจังหวะดีมากที่เดวิด กิล มาเมืองไทยคราวนี้ น่าจะรู้จักกันไว้แล้วก็ช่วยนัดแนะและเปิดห้องทำงานส่วนตัวที่บรรษัทได้พูดคุยกัน

"ตลาดหุ้นของไทยยังนับว่าบอบบางมากจึงไม่อยากให้เงินจากไทยแลนด์ฟันด์มาดึงราคาตลาดหุ้นในระยะนี้ แต่ต้องการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเมืองไทยก็มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะเติบโตไปได้ดี" เดวิด กิล กล่าวตอนหนึ่ง

เขายังมีความเห็นอีกว่า ในช่วงหลังนี้ตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ๆ ทั่วโลกโตขึ้นมาก แต่นักลงทุนก็ยังสนใจจะลงทุนในตลาดเล็กๆ ด้วยเหมือนกัน อย่างตลาดหุ้นของไทยเป็นต้น และอีกทั้งราคาหุ้นบ้านเราทุกวันนี้ก็ไม่ใช่ว่าขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผล เพราะดูได้จากมูลค่าตามบัญชี

"ผมไม่อยากพูดว่า ตลาดหุ้นเมืองไทยจะดีขึ้นแค่ไหนอีก แต่บอกได้ว่า มีโอกาสโตอีกมากและถ้าหากจะมีเหตุการณ์อะไรกับตลาดอื่น ก็จะไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากเท่ากับที่อื่น เพราะที่นี่มีกฎหมายควบคุมดีพอสมควร" เดวิด กิล กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อย่างไรก็ตามเขายังเห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ของไทยยังมีหุ้นดีๆ น้อยอยู่ และจำเป็นต้องหาทางชักชวนกิจการดีๆ นำหุ้นมาจดทะเบียนในตลาดเพิ่มมากขึ้น

คงจะเป็นการบ้านให้ ดร. มารวย ผดุงสิทธิ์ คนชื่อดีแห่งตลาดหลักทรัพย์ฯ เร่งผลักดันตามที่เคยประกาศท่าทีไว้เหมือนกัน รวมทั้งหุ้นของกิจการที่กำลังจะดีที่จะเปิดกระดานที่ 2 ให้ ก็ขอให้มีผลกันไวๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us