|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. (PTTEP ) กล่าวว่า บริษัทฯได้ค้นพบชั้นหินกักเก็บก๊าซธรรมชาติซึ่งมีความหนารวม 81 เมตร จากขุดเจาะหลุมสำรวจโอลิเวอร์-2 ประเทศออสเตรเลีย การพบก๊าซธรรมชาติครั้งนี้ถือเป็นการยืนยันศักยภาพของแหล่งก๊าซฯทำให้มีโอกาสการขยายการลงทุนต่อเนื่องในออสเตรเลีย รวมถึงการพัฒนาธุรกิจ Floating LNG ( FLNG ) ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ปตท.สผ. ได้เข้าซื้อสิทธิทั้งหมดในแปลงสำรวจปิโตรเลียม AC/P33 หรือแหล่งโอลิเวอร์ (Oliver field) เมื่อปีที่แล้ว และในเดือนกุมภาพันธ์ 53 นี้ รัฐบาลออสเตรเลียได้อนุมัติการซื้อขายดังกล่าวแล้ว แปลงสำรวจ AC/P33 หรือแหล่งโอลิเวอร์ (Oliver field) ตั้งอยู่นอกชายฝั่งในทะเลติมอร์ ทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ 421 ตารางกิโลเมตร ห่างจากแหล่ง จาบิรูและชาลลิส ซึ่ง ปตท.สผ.เป็นผู้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 30 กิโลเมตร และอยู่ใกล้แหล่ง ออเดเชียสและแหล่งเทเนเชียส รวมถึงแปลงสำรวจอื่น ๆ ของ ปตท.สผ.ด้วย ซึ่งผู้ถือสัมปทานในอดีตของแหล่งโอลิเวอร์ได้เคยสำรวจพบก๊าซธรรมชาติจากหลุมสำรวจโอลิเวอร์-1 มาแล้วในปี 31
สำหรับแผนงานปี 53 ปตท.สผ.มีแผนจะลงทุนในออสเตรเลีย ประมาณ 15,600 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งมอนทารา ขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผล 2 - 3 หลุมในแปลงสำรวจ ต่าง ๆ และทำการศึกษารายละเอียดทางด้านวิศวกรรมเบื้องต้นของ FLNG
นายอนนต์ กล่าวต่อไปว่า CPOC ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 ได้เริ่มการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งมูด้า และแหล่งเจงก้าแล้ว โดยขณะนี้สามารถเพิ่มอัตราการผลิตจนถึงระดับตามที่ตกลงไว้ในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ ปตท. ที่ 135 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีการผลิตคอนเดนเสทที่ประมาณ 4,900 บาร์เรลต่อวัน
โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มระดับการผลิตก๊าซฯเป็น 335 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้ภายในไตรมาส 4 ปี 53 นี้ ซึ่งคิดเป็น 10% ของความต้องการก๊าซฯ ภายในประเทศ โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี-17 ประกอบด้วย แปลงบี-17 แปลงซี-19 และแปลง บี-17-01 มีพื้นที่รวมประมาณ 8,000 ตารางกิโลเมตร โดย บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ.อ.) และบริษัท ปิโตรนาส ชาลิการี (เจดีเอ) เซนเดอเรียน เบอร์ฮาด (พีซี เจดีเอ) ของมาเลเซีย ได้เข้ารับสิทธิในสัญญาแบ่งปันผลผลิตในแปลงดังกล่าวจากองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ในปี 37 โดยได้ตั้งบริษัทร่วมทุน Carligari-PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. หรือ CPOC ซึ่งเป็นการร่วมทุนในสัดส่วนฝ่ายละ 50 % เพื่อเป็นผู้ดำเนินการโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 โดยโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี 17 จะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานให้กับประเทศได้อีกอย่างน้อย 16 ปี
|
|
|
|
|