|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
* เจาะทุกขั้นละเอียดยิบ กับ วิธี Repositioning CSR
* รับมือการเปลี่ยนแปลงด้าน 'กม.-ภูมิอากาศ- การค้า'
* สู่องค์กรที่มีดีเอ็นเอกแสดงความรับผิดชอบสังคมระดับสูง
* แถมยังมีความคิดสร้างสรรค์-เกิดผลลัพธ์วัดได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่า องค์กรธุรกิจกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ( Corporate Social Responsibility ) หรือ ซีเอสอาร์ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แทบทุกแห่งหันมาให้น้ำหนักและบทบาทเพิ่ม มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับอุปสรรค ปัญหาเป็นเงาตามตัวไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนผิวเผิน การตีโจทย์ซีเอสอาร์ที่ขาดความลึกซึ้ง รวมถึงการเตรียมความพร้อม
ที่สำคัญเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) เรื่องกระแสสีเขียวอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate) และเรื่องความตกลงการเปิดเสรีทางการค้า (Commerce) ดังนั้น องค์กรธุรกิจซีเอสอาร์จำเป็นอย่างยิ่ง ควรติดอาวุธ และพิจารณาทบทวนแนวการดำเนินงานซีเอสอาร์ขององค์กรเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ กับแนวโน้มและความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องบรรษัทภิบาลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และประเมินทิศทางซีเอสอาร์ของไทยเป็นประจำทุกปี โดยผู้อำนวยการ'พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์' แนะนำ ว่า การปรับตำแหน่ง หรือ Repositioning การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ ทั้งในเรื่องขอบเขต (Scope) แนวนโยบาย (Platform) โครงสร้าง (Structure) กลยุทธ์ (Strategy) การดำเนินงาน (Performance) ตัวชี้วัด (Measure) และการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ไปพร้อมๆ กัน เพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
7 ขั้นปรับดีกรี ซีเอสอาร์ขั้นเทพ
ดร.พิพัฒน์ อธิบายว่า 7 แนวทาง Repositioning CSR เริ่มจาก
ขั้นแรก ขอบเขตหรือ Scope จากผู้ถือหุ้นสู่ผู้มีส่วนได้เสีย ( From Shareholders to Stakeholders ) เนื่องจาก สาเหตุหนึ่งที่ CSR มักไม่ได้รับการตอบสนองจากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นของกิจการ เกิดจากการมองว่า CSR เป็นกิจกรรมที่ทำให้ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นลดลง เนื่องจากกิจการต้องเจียดกำไรหรือคืนผลตอบแทนส่วนหนึ่งกลับคืนสู่สังคม ทำให้ความเข้าใจเรื่อง CSR ว่าเป็นการบริจาค (Philanthropy) และเป็นกิจกรรมที่ทำก็ต่อเมื่อมีกำไร คือเกิดขึ้นหลังจากบรรทัดสุดท้าย (คือกำไรสุทธิ) ของการดำเนินงานเท่านั้น ทำให้ที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นจึงมักไม่ค่อยเป็นแฟนพันธุ์แท้ในเรื่อง CSR เท่าใดนัก
อันที่จริงแล้วการบริจาคเป็นเพียงหนึ่งในเจ็ดชนิดกิจกรรม CSR ที่กูรูด้านการตลาดอย่างฟิลิป คอตเลอร์ ได้ให้นิยามไว้ หรือเป็นเพียงประเด็นหนึ่งภายใต้หนึ่งในเจ็ดหัวข้อที่ (ร่าง) มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) ได้ระบุไว้เท่านั้น นั่นก็แสดงว่ายังมีอีกถึงหกชนิดหกหัวข้อที่กิจการสามารถดำเนินการได้ นอกเหนือจากเรื่องของการบริจาคซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ CSR
ดังนั้น การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถ เริ่มได้ตั้งแต่บรรทัดแรก (คือรายได้) ของการดำเนินงาน และนับตั้งแต่วันแรกของการดำเนินกิจการ ตัวอย่างเช่น การพิจารณาเรื่องวัตถุดิบในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่น การจัดซื้อจัดหาที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วนถูกต้อง การขายและการตลาดที่ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค การให้บริการและการรับประกันที่เพียงพอ เป็นต้น
' การทำ CSR ที่กล่าวมาข้างต้น มุ่งที่การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่ธุรกิจเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน ผู้ส่งมอบ คู่ค้า ฯลฯ นอกเหนือจากเรื่องชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากองค์กรดำเนินธุรกิจโดยที่ไม่มีข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทกับผู้มีส่วน ได้เสียเหล่านี้ กิจการก็ย่อมจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ไม่มีปฏิปักษ์ สามารถแสวงหากำไรหรือประกอบธุรกิจอยู่ได้ในสังคมอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง'
ขั้นต่อมา แนวนโยบาย (Platform) ที่จำเป็นต้องปรับจากทำโดยลำพัง ไปสู่มาตรฐานสากล ( From Standalone to Standard ) ทั้งนี้ ธุรกิจที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมาระยะหนึ่งโดยลำพัง (Standalone ) อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า CSR ที่ทำอยู่นั้น ดีพอแล้วหรือยัง ครบถ้วนแล้วหรือยัง หรือจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อีกหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับองค์กรที่แสวงหาการพัฒนาปรับปรุงตนเองอย่าง สม่ำเสมอ
ดังนั้น เมื่อองค์กรเดินเรื่อง CSR มาถึงจุดนี้ อาจจะต้องศึกษาแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่ง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ( Standard )สำหรับนำมาปรับใช้กับการทำ CSR ขององค์กร นอกเหนือจาก (ร่าง) มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) ที่กำหนดหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม การบูรณาการเรื่องซีเอสอาร์ทั่วทั้งองค์กร (Integrating social responsibility throughout an organization) แล้วยังมีตัวเร่งให้เกิดการทบทวนการดำเนิน CSR คือ มาตรฐานและข้อปฏิบัติด้าน CSR จะถูกถ่ายทอดจากผู้ประกอบการหนึ่งไปสู่อีกผู้ประกอบการหนึ่งในสายอุปทาน ต่างๆ เป็นทอดๆ
อีกทั้ง ทำให้ธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงอยู่กับสายอุปทาน โดยเฉพาะผู้ส่งออกนำเข้า ต้องถูกบังคับใช้หรือถูกเรียกร้องให้ใช้มาตรฐานและข้อปฏิบัติด้าน CSR เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวและรับมือกับมาตรฐานเหล่านั้น หากยังต้องการที่จะค้าขายหรือดำเนินธุรกิจในสายอุปทานนั้นๆ ต่อไป
ขั้นสาม โครงสร้าง ( Structure) จากเดิมที่ดำเนินการเป็นแผนก ก็ควรปรับสู่ระดับให้เกี่ยวข้องทั้งระบบและคนทั่วทั้งองค์กร ( From Department to Alignment ) ดร.อธิบาย บอกว่า ในช่วงที่ผ่านมา องค์กรหลายแห่งได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน หน่วยงาน หรือแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินเรื่องของ CSR โดยตรง โดยปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย คือ มีพนักงานบางส่วนที่ยังไม่รู้ และไม่เข้าใจว่า CSR คืออะไร และเกิดคำถามขึ้นภายในใจว่า ทำไมจะต้องทำ CSR ? ทำ CSR แล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
อีกทั้งบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง CSR มาบ้าง แต่ก็คิดว่า CSR เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง และเมื่อมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ตนเองจะต้องรับรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วม
นอกจากนี้ หน่วยงานหรือแผนกที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง CSR นั้น ไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจ และให้พนักงานเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำ CSR และรับรู้ถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จในการดำเนิน CSR ขององค์กร และต่อการบรรลุถึงเป้าประสงค์ด้าน CSR โดยรวม
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จาก Department สู่ Alignment จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยแทนที่จะให้เป็นเรื่องเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ แผนกใดแผนกหนึ่ง CSR ควรจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกระดับ ทุกแผนก ตลอดจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร องค์กรจะต้องมีการสื่อสารให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับบนไปจนถึงพนักงานระดับล่าง
' เมื่อพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และได้มีส่วนร่วมในการทำ CSR ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะส่งผลกลับสู่พนักงานไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการปลูกฝังให้พนักงานมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และทำงานในหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ รวมไปถึงการช่วยเหลือชุมชน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น'
ในขณะเดียวกันองค์กรก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน องค์กรสามารถดำเนินโครงการ CSR ได้ประสบผลสำเร็จ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรเองและต่อสังคม มากไปกว่านั้น นอกจากการเป็นองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในด้านการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังทำให้เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ ความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน
ขั้นสี่ กลยุทธ์ ( Strategy)ไปสู่แนวความคิดสร้างสรรค์ จากเดิมเป็นเพียงการตอบสนอง ( From Responsive to Creative ) ทั้งนี้ หากพิจารณา CSR ให้ลึกซึ้ง การมองเพียงแค่ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบผ่านๆ กล่าวคือ เมื่อเกิดปัญหาหรือผลเสียขึ้นแล้วค่อยมีการเข้าไปเยียวยา ฟื้นฟูและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดข้อเรียกร้องหรือปัญหาที่ตามมากับองค์กรและต้องการให้สังคม มององค์กรของตนว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบคงไม่เพียงพอในปัจจุบัน และยังเป็นวิธีการดำเนิน CSR ในเชิงตอบสนอง (Responsive CSR) หรือรอให้เกิดปัญหาแล้วจึงเข้าไปแก้ไขอาจส่งผลเสียหายที่ใหญ่หลวงต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงต่อตัวองค์กรเองด้วย ดังกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด เป็นต้น
' กิจกรรม CSR ภายใต้กลยุทธ์นี้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีปัญหาหรือผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจไปสู่สังคม หรือสังคมมีการเรียกร้องให้กิจการดำเนินความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อผล กระทบเหล่านั้น เป็นการผลักดันให้มีการริเริ่มดำเนินงาน CSR จากผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ภายนอกองค์กร ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับคำติมากกว่าคำชม หรือทำแล้วมีโอกาสเสียมากกว่าได้ อย่างดีก็แค่เสมอตัว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้าน CSR เป็นเชิงรุกหรือการป้องกันน่าที่จะให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่า เชิงรับหรือการแก้ไขเยียวยา'
ดังนั้น การดำเนิน CSR เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR) จึงเป็นสิ่งที่สังคมกำลังต้องการเห็นจากองค์กรต่างๆ เพราะเป็นการมองถึงคุณค่าเดียวกันทั้งกิจการและสังคมด้วยการลดอัตตาของตน หันมาคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่หันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ร่วมมือกันและพิจารณาว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจที่องค์กรมีอย่างไร จึงจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างตรง จุด การดำเนิน CSR ในเชิงสร้างสรรค์จะก่อให้เกิดความคิดที่หลากหลาย เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้าน CSR พัฒนาให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และส่งผลให้องค์กรมีความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ
ขั้นที่ห้า การดำเนินงาน (Performance) มุ่งเน้นตอบโจทย์ชีวิตหรือสังคมอย่างจริงจัง มากกว่าการพูดหรือคิดเท่านั้น( From Lip Service to Live Service) ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์ คนเดิม บอกอีกว่า พฤติกรรมของคนในสังคม เรียกได้ว่าเป็นพฤติกรรมความเคยชิน ที่วันๆ นั้นได้ดำเนินชีวิตไปอย่างสบายอารมณ์โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งรอบข้างที่ กำลังจะหมดไป เห็นได้ชัดเจนว่าคนส่วนใหญ่มักจะเอาแต่คิดและพูดเพียงเท่านั้น โดยปราศจากการลงมือทำหรือนำมาปฏิบัติ
โดยเฉพาะการทำ CSR ออกสื่อประชาสัมพันธ์เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มาสนใจในตัวผลิตภัณฑ์และตัวองค์กรธุรกิจ มีให้เห็นตามโฆษณาอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะการหักสตางค์ออกจากตัวสินค้าเพื่อนำไปบริจาค หรือทำการปลูกป่า แต่ถามว่ามีใครตามไปติดตามผลการดำเนินการหลังจากนั้นรึไม่ แล้วจะหาข้อสรุปได้อย่างไรว่าองค์กรได้ไปทำประโยชน์เพื่อสังคมจริง
' องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มักจะหยิบเอาคำๆ นี้ ไปใช้อ้างในทางที่ไม่ถูกนักตามกระแส เพราะคำนึงถึงแต่จะเพิ่มผลกำไรให้กับตนเอง โดยทำการประชาสัมพันธ์กันใหญ่โต แต่ข้อมูลจริงๆ กลับลงมือทำเพื่อสังคมเพียงไม่เท่าไร การที่ทำแบบนี้ส่งผลในระยะยาวที่ว่าสาธารณชนอาจจะเกิดข้อสงสัยในตัววัตถุ ประสงค์ของตัวองค์กรธุรกิจในภายหลังได้'
ดร.พิพัฒน์ ให้ทัศนะอีกว่า การลงมือทำที่ว่ายากนั้นเพราะคนส่วนใหญ่คิดแต่ว่าการที่จะริเริ่มลงมือทำ อะไรมักจะหวังซึ่งผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่จะได้กลับมาอยู่เสมอจึง ทำให้ไม่มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในสังคมซักที และได้เข้าไปเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อนี้ที่ว่า คนเรามักจะดีแต่คิดและพูด แต่จะให้เปลี่ยนมาเป็นการกระทำให้ดีนั้นจะต้องทำอย่างไร
ดังนั้น การที่จะมีความรับผิดชอบหรือการทำ CSR อย่างถูกต้องได้นั้น ควรหันกลับมามองและคิดทบทวนแล้วว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร โดยรู้ดีอยู่แก่ใจว่าได้ทำความเดือดร้อนอะไรไว้กับสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้าง มากแค่ไหน หากเอาแต่คิดและพูดแล้วยืนอยู่เฉยๆ รอให้คนอื่นเริ่มทำแบบนั้นดีแล้วหรือเราสมควรที่จะลงมือทำเพื่อสิ่งรอบข้าง ตั้งแต่บัดนี้เพื่ออนาคตของพวกเราทุกคน
ขั้นหก ตัวชี้วัด (Measure) ควรมองที่ผลลัพธ์ ( From Output to Outcome) มักมีคำถามเกิดอยู่เสมอว่า การทำ CSR สามารถวัดผลได้หรือไม่? โครงการหรือกิจกรรมที่องค์กรจัดทำขึ้นสังคมได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด? กิจกรรมเพื่อสังคมที่มีอยู่ในสังคมมีความยั่งยืนมากน้อยเพียงใด? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องวัดผลในเมื่อเป็นเรื่องของ CSR? แล้วถ้าจะวัดผลควรจะวัดอย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่หลายๆองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่อง CSR มีความสงสัยไม่มากก็น้อย หากมองในสองสามปีที่ผ่านมามีกิจกรรม CSR เกิดขึ้นในสังคมเป็นจำนวนมาก แต่ผลสำเร็จที่คาดหวังไว้กลับไม่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ควรจะเป็น ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดผลกิจกรรม CSR ที่ควรจะเป็น นำไปสู่การมองที่ผลลัพธ์ (Outcome)
' การเปลี่ยนโฟกัสจากผลผลิต(Output) ไปสู่ผลลัพธ์(Outcome) จะเป็นการส่งมอบผลประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวัดผลผลิต (Output) เป็นการวัดผลที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการสิ้นสุดลง เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) เพื่อวัดความสัมพันธ์ของทรัพยากรที่ใช้กับผลงานหรือผลผลิตที่ได้รับ
ส่วนการวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน และโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์ของงาน'
ขั้นที่เจ็ด การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ควรมุ่งรายงานสู่สาธารณมากกว่าการทำประชาสัมพันธ์กิจกรรมองค์กร ( From Public Relation to Public Reporting) ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ ถือเป็นการจัดการขององค์กรในอันที่จะสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับ ข่าวสารกลุ่มต่างๆ แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันก็ยังคงต้องอยู่ ภายใต้การแข่งขันที่สูงมากขององค์กรอยู่ดี ทำให้เกิดการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่มากมายในแต่ละองค์กรที่ล้วนแล้วแต่จะเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อ องค์กรด้านเดียวเท่านั้น
แต่ก็ขาดการสื่อสารรายงานข้อเท็จจริงที่ครอบคลุมอย่างรอบด้านขององค์กร (Public Reporting) ที่มีผลต่อสาธารณชนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น การปิดบังความเสียหายบางอย่างที่เกิดจากกระบวนการทางธุรกิจซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสาธารณชน หรือ การเปิดเผยด้านที่ดีขององค์กรต่อสาธารณชนมากเกินความพอดีจนทำให้สาธารณชน เกิดข้อสงสัยว่าสิ่งที่องค์กรประชาสัมพันธ์ออกมานั้น เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่
' เมื่อสาธารณชนเกิดข้อสงสัยที่มากขึ้น และความไว้วางใจที่น้อยลงต่อภาพลักษณ์ขององค์กร (Brand Image) ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่าแนวทางในการทำประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันขององค์กร ธุรกิจควรจะเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางรูปแบบไหน คำตอบ คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการสื่อสารทั้งสองทาง นั่น ก็คือ การที่องค์กรต้องมีความโปร่งใส (Transparency) ที่พร้อมจะให้สังคม หรือองค์กรต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบองค์กรเพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าสิ่ง ที่องค์กรสื่อสารออกมานั้นเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งหากองค์กรสามารถสื่อสารตามข้อเท็จจริงได้ทั้งสองทางอย่างสมบูรณ์แล้ว นั้นก็จะเป็นการสร้างทั้งความน่าเชือถือและภาพพจน์ที่ดีขององค์กรอย่าง ยั่งยืนอีกด้วย ' ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ คนเดิมบอกในตอนท้าย
|
|
 |
|
|