Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน17 กุมภาพันธ์ 2553
'ค่าบาท-สินเชื่อ'ปัจจัยชี้ขาด กนง.ปรับดอกเบี้ย10มี.ค.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
บัณฑิต นิจถาวร
Economics




แบงก์ชาติชงข้อมูลการไหลเข้าของเงินทุน ค่าเงินและสินเชื่อเข้า กนง. 10 มี.ค.นี้ "บัณฑิต" แย้มดอกเบี้ยต่ำมากแล้ว แต่จะปรับขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเวลาที่เหมาะสม

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 มี.ค.นี้ ธปท.จะนำเสนอรายงานข้อมูลให้ที่รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะเงินทุนไหล เข้า อัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนไหวของตลาดเงินในต่างประเทศ การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีการรวบรวมถึงข้อมูลในระดับภาคต่างๆ ของประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นที่รับรู้กันในตลาดแล้วว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ประเด็นจึงอยู่ที่เงื่อนเวลาที่เหมาะสมในการปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจที่จะ ต้องมีความสมดุลกัน เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ และไม่สร้างแรงกดดันต่อการเร่งตัวของเงินเฟ้อ

"อาจพิจารณาผ่อนคลายการลดดอกเบี้ยอาร์พี โดยปรับขึ้นจากระดับที่ต่ำมาก ซึ่ง ธปท.พูดบ่อย และขณะนี้ตลาดก็รับรู้ไปแล้ว ขณะนี้สิ่งสำคัญคือเรื่องเวลาที่เหมาะสม โดยดูเงินเฟ้อและความเข้มแข็งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่สำคัญจะดูแลสองส่วนนี้ให้สมดุล ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพและไม่กดดันการเร่งตัวของเงินเฟ้อ" นายบัณฑิตกล่าวและ เชื่อว่าภาคเอกชนมีความเข้าใจว่า ธปท.คงดอกเบี้ยในระดับต่ำมานานแล้ว เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง และเมื่อเศรษฐกิจเข้มแข็งก็จำเป็นจะต้องมีการถอยออกจากนโยบายผ่อนคลาย ขณะที่เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ความต้องการสินเชื่อจะมีมากขึ้น ตามความต้องการลงทุนที่เร่งตัวขึ้น

สำหรับค่าเงินบาทในขณะนี้มีความผันผวนค่อนข้างมาก เป็นผลจากการเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชียและไทย ทั้งนี้ ต้นปีจนถึงปัจจุบัน เงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.4% และมีค่าความผันผวนในระดับ 3.1% ซึ่งน้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค และปี 2553 ค่าเงินบาทจะยังมีความผันผวนต่อไป จากปัจจัยสำคัญ 4 ด้าน คือ 1.ในระยะสั้นเกี่ยวกับแก้ปัญหาการขาดดุลการคลังของประเทศในยุโรป 2.การออกจากนโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลายของสหรัฐและยุโรป ซึ่งจะผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย 3. ประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวมาก โดยเฉพาะในเอเซียต้องระวังการเร่งตัวของเงินเฟ้อ และ 4. ราคาสินทรัพย์ที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งอาจก่อปัญหาฟองสบู่ขึ้นได้ หลายประเทศจึงต้องออกมาตรการป้องกันตัวเอง เห็นได้ชัดเจน

นายบัณฑิตเปิดเผยว่า ธปท.จะติดตามทิศทางดอกเบี้ยของประเทศกลุ่มเหล่านี้ รวมถึงการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศหลัก รวมถึงการลดการผ่อนคลาย การกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเงินการคลัง เพราะจะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นของภาคธุรกิจ

"ค่าเงินหลังเดือนมกราคมมีความเสี่ยงใหม่เพิ่มขึ้นจากการขาดุลภาคการคลัง ของประเทศในยุโรป เช่น สเปน กรีซ ทำให้ดอลลาร์แข็งค่า เงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่า" นายบัณฑิตกล่าว

ส่วนการลดค่าเงินดองของเวียดนามลงอีกรอบนั้น รองผู้ว่าฯ ธปท.มองว่า เป็นการแก้ปัญหาขาดดดุลบัญชีเดินสะพัดของเวียดนาม อาจจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากเวียดนามจะได้เปรียบไทยทางด้านราคาที่ถูกกว่า แต่ภาพรวมไม่น่ามีปัญหาและค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us