Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน15 กุมภาพันธ์ 2553
แนะปรับสีผังเมืองแนวรถไฟฟ้า เพิ่มมูลค่า-ศักยภาพพัฒนาที่ดิน             
 


   
search resources

Real Estate




เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการ ขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ เนื่องจากเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก จากการรวบรวมข้อมูล พบว่ามูลค่ารวมตลาดอสังหาฯมีอยู่ถึงปีละ 900,000 ล้านบาท หรือเกือบ 10 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงานในประเทศ 3-4 ล้านคน เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกระจายรายได้ถึงกลุ่มประชาชน ในประเทศ ในขณะที่รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญจากภาคธุรกิจอสังหาฯว่าจะสามารถเป็นธุรกิจ หลักในการช่วยฟื้นเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาฯริมทรัพย์

นอกจากธุรกิจอสังหาฯจะเป็นธุรกิจที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของโครงการก่อสร้างภาครัฐบาลที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้ขยายตัว เช่นโครงการถนนไร้ฝุ่น ระบบสาธารณูปโภค และโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล โดยที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งระบบรางหรือรถไฟฟ้า นั้นถูกยิบยกขึ้นมาหาเสียงและหารือกันในรัฐบาลทุกชุดที่เข้ามาบริหารประเทศ แต่ที่ผ่านมาก็ไม่มีรัฐบาลไหนดำเนินการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เพราะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนมาก

แต่เป็นที่น่าเสียดาย แม้ว่าจะมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าไปแล้ว 2 เส้นทาง และกำลังจะเปิดใช้อีก 1 เส้นทางในปีนี้ ซึ่งในเส้นทางที่มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้านั้น ต่างทราบกันดีว่าส่งผลต่อราคาที่ดิน และการเกิดความต้องการด้านที่อยู่อาศัยจำนวนมากเพียงไร ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่างก็พยายามดิ้นหาทีดินในแนว รถไฟฟ้าเพื่อพัฒนาโครงการรองรับความต้องการที่เกิดขึ้น แต่ปัญหาอุปสรรคคือ กฎหมาย และข้อบังคับผังเมืองรวมที่กำหนดพื้น FAR คืออัตราส่วนระหว่างพื้นที่ก่อสร้างอาคารรวมต่อพื้นที่ดินค่อนข้างเป็นอุป สรรค์ในการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการ

ส่งผลให้ในบางพื้นที่ ซึ่งน่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการสูง แต่กลับด้อยศักยภาพลงด้วยข้อบังคับของผังเมืองรวม ในบางทำเล ซึ่งน่าจะสามารถพัฒนาโครงการอาคารสูง 32 เมตร ได้แต่กลับพัฒนาได้เพียงโครงการโรว์ไสร์ไม่เกิน 8 ชั้น ทำให้ไม่สามารถเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุนได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากเปรียบเทียบระหว่างเงินลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ใช้ก่อสร้างในแต่ ละเส้นทางซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท กับศักยภาพในการก่อสร้าง เป็นที่น่าเสียดายอย่างมากกับงบประมาณที่ลงทุนไปเพราะน่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพ ของที่ดินในแนวรถไฟฟ้าได้สูง แต่ต้องถูกจำกัดด้วยข้อบังคับผังเมือง ซึ่งในความเป็นจริงน่าจะส่งเสริมซึ่งกับและกันเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุน และช่วยให้เกิดการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศ

นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่เหลือ อีก 1-2 ปีจากนี้ ก่อนที่ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับที่ใช้ในปัจจุบันจะหมดอายุลง รัฐบาลและกทม.ควรหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนา ที่ดินร่วมด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดหน้าดิน เพิ่มศักยภาพที่ดินให้มีมูลค่าสูงขึ้น ให้คุ้มค่ากับงบประมาณในการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะที่ดินในก่อสร้างโครงการแนวรถไฟฟ้าทั้ง 4 เส้นทาง คือ แอร์พอร์ตลิงค์, รถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน ซึ่งในแนวรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายนั้นส่วนมากสีผังเมืองจะเป็นสีเหลือง ไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้

“โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบระบบก่อนเปิดให้บริการนั้น ใช้งบลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ไปกว่า 50,000 ล้านบาท รัฐบาลควรมีการปรับผังสีในพื้นที่แนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ให้สามารถพัฒนา อาคารสูงได้ ซึ่งจะช่วยเปิดทำเลและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาที่ดินในแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงการจำนวนมาก และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับงบประมาณของรัฐบาลที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้า ในปัจจุบันที่ดินในแนวรถไฟฟ้ามีเพียงพื้นที่ในช่วงมักกะสันอนุญาตให้ก่อ สร้างอาคารสูงเกิน 8 ชั้นหรืออนุญาตให้มีการก่อสร้างได้เกินกว่า 8-10 เท่าของพื้นที่ก่อสร้าง ส่วนพื้นที่อื่นๆ ในแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์นั้นอนุญาตให้ก่อสร้างเพียง 4-7 เท่าของพื้นที่ก่อสร้างเท่านั้น ซึ่งถือว่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน" นายอิสระกล่าว

ทั้งนี้เชื่อว่าในปี 53 นี้การอนุมัติแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 เส้นทาง มูลค่าการลงทุน 8 แสนล้านบาท ผู้ประกอบการอสังหาฯในกรุงเทพฯ จะได้รับอานิสงส์จากแผนแม่บทดังกล่าว โดยปัจจุบันพบว่ามีโครงการอสังหาฯ อยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน 80,000 ยูนิต ซึ่งหากมีการแก้ไขอุปสรรดังกล่าวเชื่อว่าในอนาคตจะสามารถช่วยให้เกิดการ พัฒนาดครงการคุณภาพราคาเหมาะสมรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริดภค ได้จำนวนมาก และน่าจะเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us