Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2528
ข้อกล่าวหาจากใบปลิวเถื่อน             
 


   
search resources

Computer
คณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐ
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์




ใบปลิวเถื่อนชุดนี้ขึ้นหัวเรื่องว่า “แนวทางบริหารงานคอมพิวเตอร์ของรัฐ-สร้างสรรค์หรือทำลาย” มีความหนา 5 หน้ากระดาษ จัดพิมพ์อย่างประณีตมาก

เนื้อหาโดยสรุปก็คือ…

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2527 นายกรัฐมนตรี (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ประธานกรรมการ

นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

กรรมการโดยตำแหน่ง

นายบดี จุณณานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ

นายเสนาะ อูนากูล เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายทวี หนุนภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

นายบัณฑิต บุณยะปานะ อธิบดีกรมบัญชีกลาง

นายนิยม ปุราคำ เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ

นายเจริญ วัชระรังษี ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

นายอาทร ชนเห็นชอบ ปลัดกระทรวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

นายวิชิต หล่อจีระชิณห์กุล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นายวัลลภ วิมลวณิชย์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

นายสมชาย ทยานยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กรรมการและเลขานุการ

นางศศิพัฒน์ เศวตพัฒนา ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ

คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยบุคล 3 กลุ่ม คือ (1) ประธานกรรมการ เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้านการค้าไม้ (2) ผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ในวงราชการและ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชน

ในการปฏิบัติงานจริงของคณะกรรมการชุดนี้ ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการซึ่งก็ไม่มีประสบการณ์และความชำนาญงานด้านคอมพิวเตอร์จะใช้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานงบประมาณกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กลั่นกรองโครงการต่างๆ ของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ กลุ่มนี้จึงต้องถือว่าเป็นกลุ่มที่ (4) ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อผลงานที่ออกมา ซึ่งไม่น่าประทับใจเลย

เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมและบทบาทของบุคคลแต่ละกลุ่มแล้ว อาจจะมีข้อสรุปได้ดังต่อไปนี้

กลุ่ม (1) จะใช้อำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจให้ความเห็นชอบโครงการต่างๆ โดยขาดพื้นฐานความรู้ ความสามารถในการบริหารงาน ทั้งนี้จะไม่ยอมฟังความคิดเห็นของกรรมการอื่นๆ จนกระทั่งกรรมการหลายท่านไม่มาประชุม บ่อยครั้งกรรมการจึงมีไม่ครบองค์ประชุม ผลที่เกิดขึ้นคือ ความล่าช้าในการพิจารณาโครงการต่างๆ

กลุ่มที่ (2) มีความชำนาญในการบริหารงานขนาดใหญ่ แต่ไม่มีเวลาศึกษาโครงการต่างๆ โดยละเอียด เนื่องจากแต่ละท่านมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่มาก จึงต้องอาศัยข้อคิดเห็นเสนอแนะจากกลุ่มของเลขานุการเป็นหลัก และความเห็นของคณะกรรมการกลุ่มนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่ยอมรับของประธานกรรมการด้วย

กลุ่ม (3) เป็นกลุ่มนักวิชาการที่มีบทบาทในการพิจารณาเรื่องต่างๆ มาก แต่ก็มีกรรมการบางท่านวางตัวไม่เป็นกลาง และใช้อำนาจของตนไปในทางหาผลประโยชน์ส่วนตัว ตัวอย่าง เช่น

1. กรรมการท่านหนึ่งเคยเดินทางไปร่วมงานสัมมนาด้านการธนาคารในฮ่องกงใน
เดือน มีนาคม 2528 ในฐานะตัวแทนเป็นทางการของบริษัทผู้ขายคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่นในประเทศไทยยี่ห้อหนึ่ง

2. กรรมการอีกท่านหนึ่งปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเอกชน ซึ่งมีกิจการในเครือค้าขายเครื่อง
คอมพิวเตอร์อยู่ด้วย เมื่อเดือนมีนาคมนี้มีการสาธิตทดลองต่อพ่วงเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรรมการท่านนี้ได้โทรศัพท์ไปชี้ชวนแกมบังคับให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เชิญบริษัทฯ ของตนเข้าสาธิตการต่อพ่วงด้วย ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ก็เชิญ

3. กรรมการอีกท่านหนึ่ง มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ยี่ห้อหนึ่ง
เป็นผลให้สถาบันของท่านใช้เครื่องที่บริษัทนี้ยกให้ฟรี แต่คิดค่าซ่อมบำรุงรักษาสูงผิดปกติ

คณะกรรมการกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เคร่งตำรา ชอบค้นคว้า แต่ไม่เคยปฏิบัติงานด้านนี้อย่างจริงจัง บางท่านเคยปฏิบัติงานที่หน่วยงานของรัฐ แต่ก็ประสบความล้มเหลวอย่างชัดเจน

กลุ่มที่ (4) กลุ่มนี้ประกอบด้วยบุคคลเพียง 3 คนเป็นแกนนำ คือเลขานุการของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ของกองพัฒนาระบบงานอีก 2 คน เป็นผู้พิจารณาโครงการของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ซึ่งถ้าจะนับเฉพาะจำนวนโครงการก็คงจะเกินความสามารถในการพิจารณาของพนักงาน 2 คนนี้อยู่แล้ว

ตามข้อเท็จจริงที่ผ่านๆ มา พนักงาน 2 คนนี้จะปฏิบัติตัวเสมือนเป็นกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐเสียเอง และใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปในทางไม่สุจริต

พนักงาน 1 ใน 2 คนนี้เคยเป็นกรรมการคัดเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันทั้งสองแห่งนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้คอมพิวเตอร์ พนักงานคนนี้สนิทสนมอยู่กับบริษัทขายคอมพิวเตอร์อยู่ยี่ห้อหนึ่งและได้ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจนจนกระทั่งมีคนพูดกันว่า ถ้าคนนี้เป็นกรรมการคัดเลือกเครื่องที่ใด ที่นั่นต้องใช้เครื่องยี่ห้อหนึ่งเสมอ นอกจากนี้พนักงานคนนี้ยังปฏิบัติตัวเสมือนหนึ่งเป็นกรรมการของคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐ โดยทำหน้าที่คัดเลือกพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ เสียเองและใช้ตำแหน่งไปในทางหาผลประโยชน์ส่วนตัว

พนักงานอีกคนหนึ่ง มีตำแหน่งรองจากตัวเลขานุการคณะกรรมการ จะเสนอตัวเป็นผู้ประสานงานและคัดเลือกทุกโครงการที่เสนอโดยหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานใดที่ใช้เครื่องบริษัทที่ตนไม่ชอบพอกันเป็นส่วนตัวหรือไม่มีผลประโยชน์ร่วม ก็จะกีดกันไม่ให้โครงการนั้นได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ

มีตัวอย่างที่พนักงานผู้นี้โทรศัพท์ไปข่มขู่หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ของกรมหนึ่งในกระทรวงคมนาคมว่า ให้ยกเลิกการประกวดราคาจัดหาเครื่อง ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทที่ตนสนับสนุนอยู่ไม่สามารถเข้าประกวดราคาได้ นอกจากนั้นมีหน่วยงานด้านการขนส่งทางบกได้เสนอเรื่องไปให้กรรมการพิจารณาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2527 จนปัจจุบันนี้ก็เดือนพฤษภาคม 2528 (5 เดือน) แล้ว เรื่องเพิ่งจะได้รับการเสนอจากผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเข้าคณะกรรมการฯ

การปฏิบัติงานของบุคคลในกลุ่ม (4) นี้ เป็นการปฏิบัติงานที่ยังแต่จะนำความเสื่อมเสียมาให้สำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นแกนกลางในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอเข้าคณะกรรมการฯ โดยที่ผู้คัดเลือกพิจารณาไม่ได้มีความรู้ความชำนาญในด้านการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เลย และปฏิบัติงานอย่างขาดความเที่ยงธรรมทั้งยังเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเกิดความเบื่อหน่ายที่จะต้องจัดเตรียมเอกสารโครงการเป็นจำนวนมาก เพื่อจะให้บุคคลพิจารณาก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการฯ และจำเป็นต้องเอาอกเอาใจพนักงานกลุ่มนี้เป็นพิเศษเพื่อให้หน่วยงานของตนลุล่วงไปตามแผนงานของหน่วยงานที่ได้วางไว้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us