Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2528
ยุคใหม่ของซีดีซีประเทศไทย ทายาทอื้อจือเหลียงจูงมือวานิช ไชยวรรณ เข้ามาแล้ว             
 


   
search resources

CDC
วานิช ไชยวรรณ
ยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล
Computer
ControlData
บางกอกคอมพิวเตอร์ลิสซิ่ง




ยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล เป็นทายาทเจ้าสัวอื้อจือเหลียง และเป็นประธานกลุ่มบริษัทพาราวินเซอร์

ส่วนวานิช ไชยวรรณ ก็เป็นยักษ์ธุรกิจชื่อดัง มีหุ้นอยู่ในกิจการใหญ่ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะที่เป็นสถาบัน ปัจจุบันวานิชเป็นประธานกลุ่มไทยประกันชีวิต และเป็นเพื่อนรักของยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล

ยอดยิ่งกับวานิชพบกันประจำสม่ำเสมอเพราะทั้งคู่มีห้องทำงานอยู่บนตึกอื้อจือเหลียง

ยอดยิ่งยังมีเพื่อนรักอีกคนหนึ่งชื่อ ประมาณ ชันซื่อ น้องชายของวรรณ ชันซื่อ

บ้านของยอดยิ่งกับบ้านของประมาณก็อยู่ติดๆ กัน คือถัดจากบ้านอุเทน เตชะไพบูลย์ ในซอยศรีนครินคร ถนนลิ้นจี่ไปนิดหน่อย

ประมาณ ชันซื่อ มีธุรกิจหลายอย่างพอๆ กับยอดยิ่ง แต่ธุรกิจอย่างหนึ่งก็คือ การเป็นหุ้นส่วนกับยิ่งยง ลิ่วเจริญ หรือ “มิสเตอร์เล้า” ในบริษัทคอนโทรลดาต้าประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อซีดีซี ของสหรัฐอเมริกา

บริษัทคอนโทรลดาต้าประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปี พ.ศ.2511 เดิมทีนั้นมีฐานะเป็นบริษัทสาขาของบริษัทคอนโทรลดาต้า (ซีดีซี) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เผอิญมีปัญหาด้านการตลาดจึงได้ขายกิจการให้กับกลุ่มของ ยิ่งยง ลิ่วเจริญ เมื่อประมาณปี 2520

ยิ่งยงหรือ “มิสเตอร์เล้า” ที่คนในวงการคอมพิวเตอร์รู้จักชื่อเสียงเป็นอย่างดีนั้น เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากประเทศอินโดนีเซียเมื่อหลายสิบปีก่อน และเคยมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทเคี่ยนหงวนซึ่งขายเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อเอ็นซีอาร์

กลุ่มของยิ่งยงเข้ารับช่วงกิจการบริษัทคอลโทรลดาต้าประเทศไทย โดยมีข้อตกลงกับบริษัทซีดีซีสหรัฐอเมริกา 2 ประการใหญ่ๆ คือ

หนึ่ง-ใช้ชื่อซีดีซีประเทศไทยต่อไป ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง

สอง-แม้จะเปลี่ยนจากฐานะสาขามาเป็นตัวแทนจำหน่าย แต่ราคาที่ซื้อขายกันยังจะเป็นราคาที่บริษัทแม่ขายให้กับสาขาเหมือนเดิม ซึ่งว่ากันว่า ด้วยข้อตกลงประการนี้ทำให้กลุ่มของยิ่งยงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ซีดีซีเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์

ซีดีซีประเทศไทยในยุคที่กลุ่มยิ่งยงเข้าไปเป็นเจ้าของและบริการนี้ ทำธุรกิจเงียบๆ ไม่มีอะไรที่พอจะเป็นเด่นเป็นพิเศษ จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการมาก เพราะซีดีซีชนะการประมูลที่กระทรวงมหาดไทย ในการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนมีสัญญาเช่า 4 ปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 กว่าล้านบาท

และเร็วๆ นี้ก็จะบินไปเซ็นสัญญาขายเครื่องซีดีซีมูลค่าประมาณ 15-25 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับกระทรวงพลังงานและเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย

ซีดีซีประเทศไทยที่ตลอดมาเคยเดินอย่างเรียบๆ และมีสะดุดบ้างเป็นบางครั้ง ในระยะปีเศษๆ มานี้ก็มีอันต้องกลายเป็นซีดีซีประเทศไทยที่โตอย่างพรวดพราด

สำหรับยิ่งยง ลิ่วเจริญ และประมาณ ชันซื่อ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ก็รู้ในทันทีว่า ซีดีซีประเทศไทยจะต้องเพิ่มทุนได้แล้ว และมันเป็นโอกาสดีที่จะดึงนักลงทุนบางกลุ่มเข้าร่วมด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานทางการเงินที่แน่นหนา

ประมาณ ชันซื่อ นึกถึงเพื่อนรักที่ชื่อยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสกุล เป็นคนแรก เพราะยอดยิ่งเองก็สนิทกับ “มิสเตอร์เล้า” และกลุ่มบริษัทพาราวินเซอร์ก็ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของซีดีซี

สำหรับยอดยิ่งเขาต้องการมีธุรกิจขายคอมพิวเตอร์อย่างมากๆ และเขาวางแผนจะทำธุรกิจนี้มาเกือบ 2 ปีแล้ว

เมื่อต้นปี 2527 ยอดยิ่งตั้งบริษัทหนึ่งขึ้นมาชื่อบริษัทบางกอกคอมพิวเตอร์ลิสซิ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม หรือที่เรียกกันว่าเป็น “วาร์” (VALUEADDED REMARKETER) ของไอบีเอ็ม

บางกอกคอมพิวเตอร์ลิสซิ่งประเดิมงานแรกด้วยการเสนอตัวเข้าแข่งขันในการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แต่ก็พลาด เพราะผู้ชนะในการประมูลคือ บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ “วาร์” ของไอบีเอ็มอีกรายหนึ่งซึ่งเข้าแข่งขันด้วย

หลังจากนั้นบริษัทบางกอกคอมพิวเตอร์ลิสซิ่งก็ไม่เคยเข้าประมูลที่ไหนอีก มีบางคนถึงกับพูดว่ายอดยิ่งเข็ดไปแล้ว จะมีก็แต่คนที่ใกล้ชิดกับยอดยิ่งเท่านั้นที่ทราบว่า ยอดยิ่งไม่เปลี่ยนแปลงความตั้งใจที่จะเข้ามาในวงการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ เขากำลังรอจังหวะต่างหาก

ยอดยิ่งใกล้ชิดกับประมาณ ชันซื่อ และ “มิสเตอร์เล้า” เขาจึงทราบทุกระยะของการเติบโตอย่างพรวดพราดของบริษัทซีดีซีประเทศไทยในช่วงปีสองปีนี้ ยอดยิ่งเคยพูดกับหลายคนว่า “ซีดีซี” เป็นบริษัทที่มีอนาคตมาก

เพราะฉะนั้นยอดยิ่งจึงตอบตกลงทันทีเมื่อประมาณมาทาบทามขอให้เขาเข้าไปร่วมลงทุนในซีดีซี

และได้ดึงวานิช ไชยวรรณ เข้าไปด้วยอีกคน ซึ่งวานิชก็ยินดีเข้าร่วมลงทุนด้วยความเต็มใจ

แหล่งข่าววงในเล่าถึงการร่วมทุนครั้งนี้ว่าซีดีซีจะเพิ่มทุนอีกประมาณ 10 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็จะยังเป็น ยิ่งยง ลิ่วเจริญ และประมาณ ชันซื่อเหมือนเดิม ส่วนยอดยิ่งกับวานิชจะเข้ามาถือหุ้นรวมกันประมาณ 49 เปอร์เซ็นต์

สำหรับตำแหน่งด้านการบริหารนั้นยอดยิ่งกับวานิชจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานและรองประธานบริษัท ยิ่งยง ลิ่วเจริญ เป็นกรรมการผู้จัดการ และอำพันศรี ชันซื่อ ภรรยาของประมาณมีตำแหน่งเป็นกรรมการ

ส่วนตำแหน่งบริหารอื่นๆ ภายในซีดีซีคาดหมายกันว่า คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาใกล้ๆ นี้

และถ้าพลิกสู่โฉมหน้าใหม่ของซีดีซีคราวนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากๆ แล้ว จุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงคือกลุ่มไทยประกันชีวิตมากกว่า

ปัจจุบันกลุ่มไทยประกันชีวิตใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และต้องการขยายเครื่องอยู่พอดี

เพราะฉะนั้น เครื่องใหม่ของไทยประกันชีวิตก็จะต้องเปลี่ยนจากไอบีเอ็มเป็นซีดีซีไม่มีปัญหา

งานนี้อัฐยายซื้อขนมยาย ตามสไตล์ วานิช ไชยวรรณ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us