Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน10 กุมภาพันธ์ 2553
"CIMBT"เปิด3กลยุทธหลัก ดันรายได้-เข้าตลาดฯมิ.ย.นี้             
 


   
search resources

สุภัค ศิวะรักษ์
Banking and Finance
ธนาคารซีไอเอ็มบี




ซีไอเอ็มบีไทยเปิดแผนธุรกิจปีนี้ เน้น 3 จุดใหญ่ "เพิ่มรายได้ดอกเบี้ย-บริหารต้นทุนเงินฝาก-เพิ่มรายได้ค่าฟี" ตั้งเป้าทั้งสินเชื่อ-เงินฝากโต 10-15% รายได้ค่าธรรมเนียมโต 35-40% พร้อมเพิ่ม ROE ติดอันดับ 1 ใน 3 ของระบบภายในปี 56 เดินหน้านำกลุ่มซีไอเอ็มบีเข้าตลาด คาดมิ.ย.นี้เสร็จสิ้น

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) เปิดเผยถึงแผนธุรกิจหลักในปี 2553 ว่า ธนาคาระยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้โดยผ่านการบริหารจัดการใน 3 เรื่องหลักๆได้แก่ การเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ย การจัดการต้นทุนเงินฝาก และการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม โดยเป้าหมายด้านสินเชื่อนั้น ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 10-15% ทั้งนี้ จะมุ่งขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆคือ สินเชื่อรายย่อย เน้นสร้างฐานสินเชื่อเคหะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและสามารถต่อยอดในการทำธุรกิจ ควบคู่ไปกับการขยายสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ซึ่งตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 30% และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan)

ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธนาคารมีแผนจะออกบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมที่มีวงเงินต่ำกว่า 20 ล้านบาทเพิ่มมากขึ้น และในส่วนของสายบรรษัทธุรกิจ (Corporate) จะเน้นที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆรองรับลูกค้าองค์กรระดับกลาง รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่เน้นด้านอนุรักษ์พลังงาน และผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งเป็นจุดเด่นของกลุ่มซีไอเอ็มบีอีกด้วย

ด้านเงินฝากตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 10-15% เช่นกัน โดยต้องการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์ และกระแสรายวันเป็น 30% จากปลายปี 2552 สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 25% ทั้งนี้ ธนาคารจะเร่งขยายบริการด้านบริหารเงินสด(Cash Management ) การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์โดยผสมผสานเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันในการให้บริการด้าน Wealth Management การออกตั๋วบีอีและขยายฐานโครงสร้างเงินฝาก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา

ส่วนการเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมตั้งไว้ที่ประมาณ 35-40% ประกอบด้วย ธุรกรรมด้านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แบงก์กิ้ง (Transaction Banking) บริการด้านรายย่อย เช่น กองทุน ธุรกิจประกันผ่านสาขาธนาคาร ( Bancassurance ) บัตรเครดิต และบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ขณะที่ด้านเอสเอ็มอี จะเน้นกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมการส่งออกตลอดจนการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบเกี่ยวเนื่องกัน ส่วนลูกค้าองค์กรจะเน้นธุรกิจส่งออกและอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงการหารายได้จากธุรกรรมบริหารเงิน (Treasury) พร้อมทั้งการปล่อยกู้ในโครงการที่เป็นโปรเจกต์ไฟแนซ์ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านสาธารณูปโภคของรัฐบาล การเพิ่มธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ และการออกพันธบัตรอิสลาม ( Sukuk Bond ) ซึ่งถือเป็นธุรกรรมใหม่สำหรับประเทศไทย

"ในปีนี้ ถือได้ว่าเป็นปีแห่งการวางรากฐานของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกธุรกิจอย่างเต็มที่ เช่น กระบวนการบริหารความเสี่ยง การพัฒนาด้าน IT การผนึกกำลังร่วมกับบริษัทในเครือ และการสร้างความเป็นปึกแผ่นในเชิงธุรกิจของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีในประเทศไทย จึงเชื่อว่าหากธนาคารสามารถดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ แล้ว ก็จะทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้านสถานะทางการเงินและมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นธนาคารที่ให้บริการแบบครบวงจรในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ในที่สุด ซึ่งตามนโยบายของกลุ่มซีไอเอ็มบีที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารมีเป้าหมายหลักที่ต้องบรรลุในปี 2556 อันได้แก่ การเป็น 1 ใน 3 ธนาคารที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุด รวมถึงเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจอย่างน้อย 3 ประเภท และเป็นธนาคารที่พนักงานเลือกที่จะทำงานด้วย ( High Performance Culture)" นายสุภัค กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธนาคารตั้งเป้าในปลายปีนี้จะมีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงขึ้นเป็น 7.10% จาก 0.06% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังคาดว่าธนาคารจะมีกำไรเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า เทียบกับปีที่แล้วที่ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1.6 ล้านบาท โดยในปีที่แล้วเป็นปีแรกที่ธนาคารสามารถพลิกมีกำไรสุทธิ หลังจากที่ขาดทุนต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี ในขณะที่จะลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้มีสัดส่วนลงเหลือน้อยกว่า 5% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 6.0%

สำหรับความคืบหน้านำหุ้นกลุ่มซีไอเอ็มบีมาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้นคาดว่า จะสามารถเข้าจดทะเบียนฯหรือเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทยได้ประมาณเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรองบการเงินไตรมาส1 ปี 2553 ออกมา เพื่อรายงานให้ตลาดหุ้นมาเลเซียก่อนจัดส่งให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของไทย

"อีกประมาณ 1-2 เดือนนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าบริษัทใดจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (เอฟเอ) ในการยื่นกระจายหุ้นหุ้นกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทหลายรายสนใจจะรับงานที่ปรึกษาทางการเงิน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าหุ้นกลุ่มซีไอเอ็มบี น่าจะได้รับความน่าสนใจจากนักลงทุนไทย"นายสุภัคกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us