Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2528
ฮ่องกงเขารับมืออย่างไรกับการล้มของสถาบันการเงิน เช่น โอทีบี.(โอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์)?             
 


   
search resources

Banking
โอทีบี, บงล.
จางหมิงเทียน




รัฐบาลฮ่องกงประสบความยุ่งยากใจอย่างหนักในการที่จะต้องตัดสินใจว่า จะปล่อยให้โอเวอร์ซีทรัสต์ แบงก์ (Overseas Trush Bank) ล้มหรือจะยอมทุ่นเงินมหาศาลประคับประคองเอาไว้

แม้เจ้าหน้าที่จะปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ของธนาคารอย่างลับๆ ปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อพบว่าเงินฝากถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกกฎหมาย จะทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ผู้ต้องสงสัยหนีออกนอกประเทศ และจะหาวิธีอย่างไรป้องกันไม่ให้นักลงทุนเข้าใจผิดในข่าวลือที่เกิดขึ้นและหลงซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ประชาชนตื่นตกใจเกินควร?

การเผชิญหน้ากับปัญหา

ตลอดสัปดาห์แห่งความวุ่นวายนั้น จบลงด้วยการที่รัฐบาลเข้ารับผิดชอบโอเวอร์ซีทรัสต์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ถึงแม้จะรู้มานานแล้วว่าธนาคารกำลังเผชิญปัญหาอันใหญ่หลวงซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้จนถึงกลางสัปดาห์ การที่รัฐบาลเข้ารับผิดชอบโอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์ครั้งนี้ ก็มีเสียงโจทขานกันว่า ก็คงจะเหมือนกับการกระโดดเข้ารับผิดชอบฮาง ลุง แบงก์ (Hang Lung Bank) เมื่อ 20 เดือนก่อนนั่นแหละ คือรัฐบาลก็ไม่มีปัญญาจะแก้ไขปัญหาอะไรได้

การตัดสินใจนาทีสุดท้ายที่จะเข้าไปแก้วิกฤตการณ์นั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐประเมินว่า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 2 พันล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 257.5 ล้านเหรียญอเมริกัน) ในการฟื้นฟูโอเวอร์ซีส์ทรัสต์แบงก์ และบางทีอาจจะมากกว่านี้อีกถ้ามัวแต่ชักช้าเกินไปเพราะอาจขจะทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยในสถานภาพของธนาคารแล้วเฮโลกันมาถอนเงิน

แต่การเข้ามารับผิดชอบของรัฐบาลก็ย่อมจะทำให้มีคำถามตามมาอีกว่า รัฐบาลจะทำอย่างไรเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคาร จะแก้ไขปัญหาทางการเงินอย่างไร?

ถ้ามองในมุมกลับ การที่รัฐบาลเข้าไปรับผิดชอบในสถานการณ์ช้าเกินไปนั้น ฮาร์รี่ แฟง (Harry Fang) สมาชิกสภานิติบัญญัติคนหนึ่งเปิดเผยว่า เป็นเพราะมีการโหวตให้รัฐบาลยืดเวลาในการตัดสินใจไว้ก่อน เพราะเห็นแล้วว่าการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ในขณะนั้นมีทางให้เลือกน้อยเหลือเกิน

โรเบิร์ต เฟล (Robert Fell) คณะกรรมการสมาคมธนาคาร (Banking Commissioner) ออกแรงโต้คำวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า คณะกรรมการตรวจสอบบัญชีของโอเวอร์ซีส์แบงก์ใช้เวลาถึง 2 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่นานเกินไปโดยอ้างว่า มีใครรู้บ้างว่าบัญชีที่ยุ่งเหยิงสับสนอย่างนี้น่ะ ควรจะใช้เวลานานสักเท่าไหร่

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ยังไม่แน่ใจว่าปัญหานี้จะยืดเยื้อไปถึงเมื่อไหร่ แต่จากการประเมินในปัจจุบัน พบว่าเงินในธนาคารประมาณ 4 พันล้านเหรียญฮ่องกงได้สูญหายไปอย่างไม่เหมาะสม ครึ่งหนึ่งของเงินนี้เชื่อว่าถูกนำไปใช้ในการเบิกเงินเกินบัญชี ระหว่างปี 1981-1982 และที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเกิดจากการปล่อยสินเชื่อ

จากการตรวจสอบพบว่า ธนาคารไม่ได้ใส่ใจหรือหน่วงเหนี่ยวในเรื่องการเบิกเงินเกินบัญชีนี้เลย แต่กรณีการปล่อยสินเชื่อนั้น พนักงานระดับสูง 4 คนของธนาคารชุดก่อนถูกจับกุม ถูกกล่าวหาว่าพยายามปกปิดข้อเท็จจริงในรายงานของธนาคาร 2 คน คือ แพ็ทริค ชาง (Patrick Chang) ลูกชายผู้ก่อตั้งโอเวอร์ซีทรัสต์ และชางหมิงเทียน (Chang Ming Thien) ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการวางอุบายโกงเงินธนาคารจำนวน 450 ล้านเหรียญฮ่องกง

เจ้าหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างมากในการเสาะหาลู่ทางติดตามเงินที่สูญหายไป โดยการตรวจสอบทรัพย์สินของครอบครัวตระกูลชาง และสอบสวนจากผู้ที่คุ้นเคยกับครอบครัวนี้ มีการติดต่อกับธนาคารท้องถิ่นที่ครอบครัวตระกูลชางมีบัญชีอยู่ รัฐบาลไม่รู้มาก่อนว่าทรัพย์สินของครอบครัวนี้ถูกอายัดแล้วและไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ที่สั่งยึดทรัพย์ทำไปเพื่ออะไรหรือว่าเพื่อรอให้ศาลสั่ง ที่รู้แน่คือสมาชิกในครอบครัวนี้ไม่สามารถถอนเงินฝากได้ในระหว่างที่มีการดำเนินการสอบสวน

คำร้องขอถอนเงินที่ถูกธนาคารปฏิเสธไปรายหนึ่งจากบัญชีเงินฝากของตระกูลชางเป็นของ ชาง ลี เซียน น้องสาวของแพ็ทริค ชาง ผู้จัดการบริหารธนาคารก่อนที่รัฐบาลจะเข้ารับผิดชอบ ชางลี เซียน (Chang Lee Sian) ได้ยื่นคำร้องขอถอนเงินจากบัญชีครอบครัวชาง เป็นเงินถึง 5 ล้านเหรียญอเมริกัน

จากการตรวจสอบไม่ปรากฏว่าเคยมีผู้หญิงคนไหนมีส่วนเกี่ยวข้องในการฉ้อโกงเงินของธนาคาร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงินหลังจากการหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลแล้ว และรัฐบาลไม่ปฏิเสธที่จะออกความเห็นในเรื่องนี้

รัฐบาลได้ทำการสอบสวนอย่างลับๆ มาก่อนที่โอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์จะยอมรับภาวะหนี้สินท่วมท้นในวันที่ 6 มิถุนายน และพบว่ามีผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดหลายคน แต่ยังไม่แน่ใจว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยบ้าง ดังนั้นจึงมีคำสั่งในวันที่ 5 มิถุนายนเหวี่ยงแหรวมไปเลยว่า ห้ามคณะกรรมการทุกคนของแบงก์เดินทางออกนอกประเทศจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

มร.เฟล (Mr.Fell) ผู้ออกคำสั่งนี้อ้างถึงกฎของธนาคารแห่งชาติของฮ่องกงที่ให้อำนาจแก่ประธานกรรมาธิการธนาคาร ในการบังคับธนาคารทั้งหลายว่าให้มีสิทธิ์ในการพิจารณาการกระทำใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

และเพราะคำสั่งนี้ ทำให้ มร.ชาง ถูกจับที่สนามบินไคตั๊ก ในข้อหาพยายามหนีออกนอกประเทศหลังจากโอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์ถูกเปิดเผยว่ามีหนี้ท่วมท้น

ข่าวเล่าลือเกี่ยวกับการที่รัฐบาลจะเข้ามาถือหุ้นในโอเวอร์ซีส์แบงก์ ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดระดมซื้อหุ้นกันเป็นการใหญ่เพราะหวังเก็งกำไรเนื่องจากเชื่อว่าธนาคารจะมั่นคงขึ้นเมื่อรัฐบาลเข้ามาถือหุ้น การระดมซื้อหุ้นเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้รัฐบาลเป็นอันมาก เพราะถ้าจะบอกให้ประชาชนทราบสถานการณ์ที่แท้จริงของโอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์ซึ่งจะทำให้นักลงทุนหยุดการเก็งกำไร ผลที่ตามมาก็คือประชาชนตื่นตกใจในความจริงที่ว่าธนาคารนี้กำลังจะล้ม ก็จะยิ่งก่อให้เกิดวิกฤตการณ์หนักยิ่งขึ้น

มร.เฟล พยายามอย่างยิ่งที่จะหาวิธีปกป้องนักลงทุนในตลาดหุ้น แต่ความพยายามนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขณะที่รัฐบาลซึ่งห่วงใยวิกฤตการณ์ของธนาคารพยายามดำเนินการอย่างลับๆ ที่จะไม่ให้ธนาคารล้ม ข่าวที่รั่วออกไปว่ารัฐจะเข้าถือหุ้นในธนาคารก็ทำให้เกิดการเก็งไรและเกิดการปั่นหุ้นให้มีราคาสูงขึ้น

ถึงแม้ไม่แน่ใจว่าผู้จัดการธนาคารอื่นๆ จะมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่ก็มีเหตุผลที่จะเชื่อว่าความต้องการที่จะปล่อยหุ้น อาจจะเป็นเหตุให้มีการปล่อยข่าวลือให้แพร่กระจายออกไป อย่างไรก็ตาม มร.เฟลก็สั่งให้ผู้จัดการของโอเวอร์ซีทรัสต์หยุดขายหุ้นทันที

แต่คำสั่งนี้ออกไปช้าเกินไป…เพราะมีการซื้อขายหุ้นกันอย่างกว้างขวางในวันที่ 6 มิถุนายน คืนนั้นหลังจากตลาดหุ้นปิด และรัฐบาลยอมเปิดเผยว่า โอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์มีหนี้ท่วมท้น ปรากฏว่าหุ้นจำนวน 6.4 พันล้านในโอเวอร์ซีทรัสต์ซึ่งเพิ่งเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าตัว เพิ่งถูกเปลี่ยนมือเมื่อ 3 วันที่แล้ว รัฐบาลได้แต่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่ว่า พวกเขามีโอกาสได้รับเงินทดแทนเป็นจำนวนเล็กน้อย

ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งคือ สิงคโปร์ ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์แบงก์ (Singapore̕s United Overseas Bank) ซึ่งถือหุ้นจำนวน 5.7 เปอร์เซ็นต์ในโอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์ซึ่งเดิมมีมูลค่า 48 ล้านเหรียญฮ่องกง และได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านเหรียญหลังจากรัฐบาลประกาศว่ามีหนี้สินท่วมท้น ด้วยความห่วงใยในเงินจำนวนมากมายที่ต้องสูญเสียไป รัฐบาลสิงคโปร์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาเจรจากับรัฐบาลฮ่องกงในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่รัฐบาลประกาศว่าจะเข้าควบคุมโอเวอร์ซีทรัสต์แบงก์ แต่หลังจากการหารือกันแล้ว คำตอบที่ได้รับจากรัฐบาลฮ่องกงก็คือข่าวร้ายเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ

ถ้าธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์ล้ม รัฐบาลฮ่องกงก็คือผู้เคราะห์ร้ายอันดับหนึ่ง เพราะธนาคารแห่งนี้รับฝากเงินของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง เช่น สภาเทศบาล มีเงินฝากอยู่ในธนาคารนี้ 50 ล้านเหรียญฮ่องกงเช่นเดียวกับสภาการฝึกอาชีพซึ่งให้การศึกษาทางเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งก็มีเงินฝากอยู่เป็นจำนวนมาก

ยังไม่รู้เลยว่า ยอดเงินฝากรายนี้ถูกถอนออกไปหรือเปล่า?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us