Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
บล็อก: ปฏิวัติพฤติกรรมผู้บริโภค             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Web Sites




ถ้ายังพอจำกันได้ ผมเคยโฆษณาบล็อกของผมผ่านทางหน้าคอลัมน์นี้ ในวันที่บล็อกกำลังฮิตสุดขีด พร้อมๆ กับสื่อสิ่งพิมพ์หลายๆ แห่งทั้งไทยและต่างประเทศ ปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อต้อนรับกระแสบล็อกอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาในวันนั้น บล็อกกลายเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ บล็อกกลายเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างเจ้าของสินค้ากับผู้บริโภคแบบเนียนๆ และบล็อกกลายเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์อันแสนวิเศษของนักการเมือง

อย่างไรก็ดี กระแสของเว็บไซต์แนว คอมมูนิตี้หลั่งไหลและพัดกลืนบล็อกไปจนเหมือนกับว่าบล็อกเป็นเพียงปราสาททรายที่ก่อไว้บนชายหาด เมื่อคลื่นสาดซัดปราสาท ทรายก็พังทลาย แต่หลังคลื่นถอยตัวคืนสู่ท้องทะเล ปราสาทบล็อกบางหลังยังคงยืนตระหง่านท้าลมคลื่นที่เตรียมจะถาโถมเข้ามาหาทุกคืนวัน ผมมองว่าบล็อกยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงในแวดวงสื่อสารมวลชนและการตลาด แต่กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาบล็อก หลายๆ บล็อกได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า พวกเขาคือของจริง พวกเขาจึงอยู่ได้และบล็อก อีกส่วนก็ถูกกลืนหายไปกับสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงกระแสที่วูบไหวขึ้นมาชั่วครั้งคราว ก่อนที่จะมีกระแสใหม่ๆ ตามมา

มีรายงานที่น่าสนใจ แต่อาจจะเก่าไปนิดหน่อย เพราะรายงานไวัตั้งแต่เดือนตุลาคมปีกลายว่า บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ล้วนเขียนบล็อกเป็นงานอดิเรก แต่ส่วนเล็กๆ ของเหล่าบล็อกเกอร์กลับทำเป็นจริงเป็นจัง เป็นอาชีพในระดับที่พวกเขาสามารถทำเงินได้มากกว่าที่เคยเป็นมา รายได้ของเหล่าบล็อกเกอร์มาจากโฆษณาทั้งหลายที่อยู่ในบล็อกของพวกเขา

อย่างไรก็ดี พวกเขายังสามารถสร้างรายได้อีกส่วนหนึ่งจากความโด่งดังของบล็อกของพวกเขาทำให้พวกเขาได้รับเชิญไปพูดในงานสัมมนาต่างๆ รวมถึงการได้รับงานเขียนบทความ หรืองานประชุมประจำปีทางด้านบล็อก รายงานของ Technorati บอกว่า เหล่าบล็อกเกอร์ที่ทำรายได้อย่างจริงจังจากการเขียนบล็อกนั้น 54 เปอร์เซ็นต์เขียนบล็อกเป็นงานพาร์ตไทม์ 32 เปอร์เซ็นต์เขียนให้ตัวเองหรือบริษัทของตัวเอง และ 14 เปอร์เซ็นต์เขียนให้กับองค์กรที่ตัวเองสังกัด

บล็อกเกอร์ทั้งฟูลไทม์และพาร์ต ไทม์มีรายได้จากโฆษณาในหน้าบล็อกของตัวเอง รวมถึงรายได้ผ่าน affiliate marketing ที่พวกเขามีส่วนแบ่งจากยอดขายสินค้าที่ลิงค์ผ่านบล็อกของพวกเขา 15 เปอร์เซ็นต์มีรายได้จากการพูดในงานต่างๆ และ 17 เปอร์เซ็นต์มีรายได้หลักจากสิ่งที่พวกเขาเขียนบล็อก ที่น่าสนใจสำหรับเหล่าบล็อกเกอร์อาชีพแล้ว รายได้เฉลี่ยต่อปีของพวกเขาจากโฆษณาผ่านบล็อกอยู่ที่ 122,222 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่บล็อกเกอร์ พาร์ตไทม์มีรายได้ 14,777 เหรียญสหรัฐต่อปีจากโฆษณา เฉลี่ยรวมเหล่าบล็อกเกอร์ มีรายได้จากโฆษณาผ่านบล็อกเฉลี่ยอยู่ที่ 42,548 เหรียญสหรัฐต่อปี

นอกเหนือจากรายได้โดยตรงจากการโฆษณาผ่านหน้าบล็อก จากเงินเดือน หรือจากค่าจ้างเขียนบล็อกหน้าต่อหน้าแล้ว เหล่าบล็อกเกอร์ยังมีรายได้จากค่าจ้างไปพูดในงานสัมมนา จากการเขียนบทความในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือจากการออกสื่อในลักษณะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ นอกจากนี้ พวกเขายังมีรายได้จากการรับจ้างไปให้ความรู้หรือความเห็นในงานกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการรีวิวสินค้าต่างๆ ตามความถนัดของตน

ขณะที่โดยเฉลี่ยพวกเขาลงทุนกับบล็อกของพวกเขาเพียงปีละ 4,068 เหรียญสหรัฐ นั่นหมายความว่าพวกเขามีผลตอบ แทนจากการลงทุนหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโน โลยี โดยเฉพาะการเข้ามาของ twitter และ facebook รวมถึงเว็บคอมมูนิตี้อื่นๆ

เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วมีเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมงาน All Things D ตอบแบบสอบถามว่าพวกเขาใช้ twitter แต่เหล่าบล็อกเกอร์มากถึง 73 เปอร์เซ็นต์ที่ Technorati สำรวจในช่วงครึ่งปีหลังบอกว่าพวกเขาใช้ twitter โดยเฉพาะการใช้ twitter เพื่อการโฆษณาบล็อกของพวกเขาและเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่าคนทั่วๆ ไปเขาคุยเรื่องอะไรกันบ้าง

นอกจากนี้ บล็อกของพวกเขา 83 เปอร์เซ็นต์ถูกเข้าไปดูผ่านทาง twitter

แนวโน้มที่น่าสนใจอีกอย่างคือ บล็อกได้เข้ามาอิทธิพลอย่างสูงต่อการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะการที่คนตัวเล็กๆ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนดัง ไม่ว่าจะเป็นเหล่านักการเมือง ดารา หรือผู้บริหารระดับสูงในองค์กรขนาดใหญ่ แบบใกล้ชิดและถึงตัวผ่านทางหน้าบล็อก

โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานา ธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาที่บล็อกกลายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการเปลี่ยน แปลงครั้งสำคัญ เช่นเดียวกับที่นักการเมือง ไทยใช้บล็อกและเว็บไซต์ด้านคอมมูนิตี้ในการสื่อสารกับวัยรุ่นและชนชั้นกลางที่ใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน และนับวันเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นๆ

เช่นเดียวกับที่ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า เหล่าบล็อกเกอร์มองว่าบล็อกจะมีอิทธิพลต่อวงการการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในอนาคตอย่างสูง เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง การตกต่ำทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนอาศัยบล็อกในการอธิบายและสื่อสารการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างลงตัว การอธิบายเหตุการณ์ที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการล้มละลายของเหล่าธุรกิจการเงินของโลก ไปจนถึงการนำนโยบายการเงินการคลังของรัฐบาลมาใช้ในการกอบกู้เศรษฐกิจล้วนอาศัยบล็อกเกอร์อธิบายและสร้างความเข้าใจให้เหล่านักท่องอินเทอร์เน็ตยุคใหม่เข้าใจในภาษาแบบบ้านๆ กล่าวได้ว่า บล็อกปรับตัวโดยการผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเว็บคอมมูนิตี้ที่เป็นที่นิยม และทำให้บล็อกยังคงอยู่ในกระแส โดยเฉพาะการปรับโพสิชั่นของตัวเองให้เป็นแหล่งข้อมูลเชิงลึกและน่าเชื่อถือ

เมื่อพิจารณาถึงอนาคตของบล็อกแล้ว การเปลี่ยนแปลงของอินเทอร์เน็ตที่มีอิทธิพลทั้งแนวกว้างและลึก บวกกับบล็อกที่ขยายตัวในเชิงคุณภาพมากขึ้นๆ กำลังจะยกระดับพวกเขาเข้าสู่ชุมชนโลก ที่สำคัญ บล็อกกำลังจะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นที่สามถัดจากวิทยุและโทรทัศน์สำหรับการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน ความกว้างและลึกของการสื่อสารผ่านบล็อกช่วยนำเสนอข้อมูลในเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกผ่านการวิเคราะห์และพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ผู้อ่านบล็อกมีข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในยุคของวิทยุและโทรทัศน์ที่ผู้เสพสื่อทำได้เพียงรับป้อนข้อมูลทางเดียว แต่บล็อกทำให้พวกเขาสามารถตอบโต้และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อในเชิงที่สร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งถ้าผู้เสพสื่อฉลาดและมีไหวพริบมากพอ รวมถึงประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่ผ่านมา ก็จะทำให้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ผู้ผลิตสินค้าไม่สามารถมองข้ามได้

บล็อกกำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยเฉพาะการยกระดับเสรีภาพการพูดในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่ง ส่งผลต่อการสร้างชุมชนประชาธิปไตยที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บล็อกกำลังจะสร้างรัฐอิสระแบบไร้พรมแดนและยากที่รัฐจะสามารถควบคุมได้ง่ายๆ ถ้ารัฐยอมที่จะไม่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกผ่านอินเทอร์เน็ตและบล็อก ที่สำคัญ คนรุ่นถัดๆ ไปหลังยุคบล็อกเฟื่องฟูจะมีการแสดงออกที่ก้าวร้าวและเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐที่ไร้คุณภาพ พวกเขาจะไม่ทำหน้าที่แค่ให้ความเห็นแบบเรียลไทม์เท่านั้น แต่พวกเขาจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องจากความเห็นด้วย หมายความว่า รัฐในอนาคตจะต้องเป็นรัฐที่มีคุณภาพและไว้เนื้อเชื่อใจได้ มิฉะนั้นรัฐก็ไม่สามารถอยู่ได้

สำหรับบล็อกในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกับแนวโน้มโลกที่ว่า บล็อกที่แน่จริงจึงจะอยู่ได้ นอกจากนี้ ชื่อเสียงของบล็อกไม่ได้กระจุกอยู่กับบล็อกเพียงไม่กี่บล็อกอีกแล้ว เนื่องจากโอกาสในการเขียนบล็อกได้เปิดกว้างให้กับทุกๆ คนที่มีความสามารถ กราฟ Long Tail ที่ผมเคยพูดถึงหลายต่อหลายครั้งในคอลัมน์นี้จึงอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างชัดเจน

อย่างไรก็ดี สิ่งที่บล็อกในประเทศไทยยังทำไม่ได้คือการสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากบล็อก เรื่องราวจากบล็อกหลายบล็อกถูกนำไปรวมเล่มเป็นหนังสือ แต่ไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นจากนั้นมากเท่าไรนัก ซึ่งเราคงต้องดูกันอีกนาน

อ่านเพิ่มเติม:
State of the blogosphere 2009, http://technorati.com/blogging/feature/state-of-the-blogosphere-2009   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us