Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
จากเซลส์แมนย่านสำเพ็ง สร้างธุรกิจ 400 ล้าน             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

Garment, Textile and Fashion
ฟรีเท็กซ์ อีลาสติก, บจก.
ณรงค์ อรวัฒนศรีกุล




"เวลาผมไปเดินห้างสรรพสินค้าจะเลือกตรงไปที่แผนกชุดชั้นในและยืนมอง จับโน่น จับนี่ ค่อนข้างนาน จนพนักงานขายมองหน้าผม คิดว่าผมเป็นผู้ชายบ้าชุดชั้นใน"

ณรงค์ อรวัฒนศรีกุล ประธานกรรมการ บริษัทฟรีเท็กซ์ อีลาสติค จำกัด วัย 64 ปี เล่าให้ฟังพร้อมกับเสียงหัวเราะเมื่อนึกเหตุการณ์ 30 กว่าปีก่อน

ชีวิตของณรงค์คลุกคลีอยู่กับธุรกิจค้าขายผ้าในย่านสำเพ็งมาตั้งแต่วัยหนุ่ม เขาเป็นทั้งเด็กรับใช้ ทำความสะอาด ชงน้ำชาอยู่ 2-3 ปี จนกระทั่งไต่เต้าไปเป็นพนักงานขาย ตระเวนติดต่อขายในย่านพาหุรัด ประตูน้ำ พระโขนง สะพานใหม่ ดอนเมือง อีก 1 ปี หลังจากนั้นเถ้าแก่ก็เริ่มให้เขาออกต่างจังหวัดในภาคเหนือและภาคอีสานควบคู่กันไป เขาขายทุกอย่าง ผ้าห่ม ผ้าขนหนู ผ้าโสร่ง

จากนั้นเจ้านายของเขาได้ร่วมกับนักธุรกิจสิงคโปร์นำเข้าชุดชั้นในจากประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่าย ในตอนนั้นได้ว่าจ้างนักการตลาดมีความรู้ภาษาอังกฤษเข้ามาช่วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะนักการตลาดที่จ้างมามีการศึกษาสูง ในขณะที่ลูกค้ามีสไตล์การซื้อขายแบบลูกทุ่ง จึงทำให้เกิดช่องว่างด้านความเข้าใจ

ณรงค์ถูกเลือกไปช่วยฝ่ายการตลาด เขาเริ่มติดต่อกับเพื่อนฝูงจำหน่ายสินค้าในต่างจังหวัด เช่น วีนา การ์เมนท์ มีสรุ่งอรุณ ให้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัท ในช่วงนั้นทำให้มียอดสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง

บริษัทพึงพอใจการทำงานของเขา ต้องการย้ายเขามาอยู่ฝ่ายการตลาดอย่างเต็มตัวพร้อมยื่นข้อเสนอให้ถือหุ้น 2 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องลงทุน

เขาตัดสินใจร่วมงานด้วยแต่หลังจากทำงานเป็นเวลา 2-3 ปี ท้ายที่สุดเขาก็ถูกเบี้ยวไม่ได้รับส่วนแบ่งเพราะนายทุนสิงคโปร์ไม่ยอมจ่ายค่าตอบแทนที่ตกลงไว้

ทำให้ณรงค์ตัดสินใจลาออก เขาเริ่มต้นทำธุรกิจชุดชั้นในอย่างจริงจัง เริ่มจากให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกที่ทำหน้าที่ปรับสายเสื้อชั้นในผู้หญิง โดยมีต้นทุนถูกกว่า และเดินทางไปฮ่องกง ไต้หวัน ซื้อชุดชั้นในเข้ามาจำหน่าย เริ่มจากหิ้วของเข้ามาเองด้วยเงินทุนไม่มากนัก

การเดินทางของเขาในตอนนั้นใช้ภาษาจีนเป็นสื่อกลาง เพราะประเทศที่เขาไปติดต่อธุรกิจใช้ภาษาเหล่านี้จึงเป็นความโชคดีของเขาที่ไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ

แต่สภาพการแข่งขันในตอนนั้นมีค่อนข้างมาก ขณะที่เขามีเงินทุนน้อยจึงทำให้เขากลับไปเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับบริษัทชุดชั้นในให้กับบริษัทในเครือยูเนี่ยนไพโอเนีย ซึ่งผลิตอุปกรณ์ชุดชั้นในภายใต้แบรนด์วีนัส บริษัทแห่งนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างสหยูเนี่ยนและไพโอเนียจากฮ่องกง

หลังจากดำเนินงานไปได้ระยะหนึ่ง ผู้ร่วมทุนมีความคิดในการบริหารแตกต่างกันจึงทำให้บริษัทฮ่องกงซื้อหุ้นทั้งหมดจากบริษัทไทย และนำหุ้นดังกล่าวมาขายให้กับณรงค์

การเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิตอุปกรณ์ชุดชั้นในแห่งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตครั้งสำคัญของณรงค์ เขาได้โรงงานที่มีเครื่องจักร 12 เครื่องและได้รับการถ่ายทอดเทคนิค รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ จากฮ่องกงเป็นเวลา 3 ปี

ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2535-2536 ธุรกิจสิ่งทอเจริญเติบโตอย่างมาก เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในประเทศไทย

แต่หลังจากประสบวิกฤติเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" ในปี 2540 มีสินค้าจากจีนแดงเริ่มหลั่งไหลเข้ามาโดยมีความได้เปรียบเรื่องของราคาและต้นทุนถูกกว่า

ในตอนนั้นณรงค์เกือบจะถอดใจ เพราะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินกิจการต่อไปหรือเลิกกิจการ แต่หลังจากที่เขาได้คุยกับภรรยา ลูกๆ ของเขา จึงตัดสินใจที่จะทำต่อ เพราะลูกทั้งหมด 4 คนจะเข้ามาช่วยบริหารธุรกิจต่อจากเขา

ณรงค์จึงมีความสบายใจ เขาถือว่าเป็นความโชคดีที่ลูกตั้งใจและมุ่งมั่นทำธุรกิจเพื่อขยายกิจการให้เจริญเติบโต จนสามารถสร้างรายได้ถึง 400 ล้านบาท

"บางครั้งผมกลับถึงบ้านนานแล้ว แต่ลูกๆ ยังทำงานจนดึกดื่น ผมรู้สึกเป็นห่วง แต่ในใจลึกๆ แล้ว ผมก็อดดีใจไม่ได้ที่เขาทุ่มเทให้กับงาน"

ณรงค์เฝ้ามองการเจริญเติบโตธุรกิจของครอบครัวผ่านลูกๆ จนทำให้เขาฝันว่า บริษัทฟรีเท็กซ์ อีลาสติค จำกัด จะต้องเป็นบริษัทชั้นนำในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนชุดชั้นในระดับโลก

ฝันของณรงค์จะไกลเกินเอื้อมหรือไม่ ลูกๆ ของเขาน่าจะให้คำตอบนี้ได้ดีที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us