Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
“โพยก๊วน” ที่ถูกกวนในชายแดนแม่สอด             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง ศรีนาคา เชียงแสน
 


   
search resources

Commercial and business
Myanmar
Currency Exchange Rates




โพยก๊วนชายแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เคยเกิดปัญหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จับกุมเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 2 ราย

ทั้งคู่ถูกดำเนินคดีในข้อหาแลกและทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี (รอลงอาญา) พร้อมยึดเงินตราต่างประเทศที่รับแลก (เงินจัต) ทั้งหมด

การจับกุมตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินจัต กับเงินบาทในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านอำเภอแม่สอด เป็นอย่างมาก

ตัวกลางในการรับแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินจัต เป็นระบบการค้าเฉพาะถิ่น ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานเกือบร้อยปี เนื่องจากการค้าชายแดนไทย-พม่า ที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2485 จนถึงปัจจุบันมีมูลค่าปีละหลายหมื่นล้านบาทล้วนแต่ต้องซื้อขายกันด้วยเงินจัต

แต่การค้าชายแดนในแม่สอด ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ได้ เพราะธนาคารพาณิชย์ของไทยที่นี่ไม่รับซื้อเงินจัต ทำให้พ่อค้าชายแดนจำเป็นต้องหาวิธีการในการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อให้กระบวนการค้าสมบูรณ์ การที่ธนาคารพาณิชย์ของแม่สอด ไม่ยอมรับซื้อเงินจัต เพราะทางการไทยได้ประกาศไม่รับรองเงินจัตของพม่า ซึ่งแน่นอนว่า ในทางกฎหมาย ใครก็ตามที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างจัตกับบาท หากจับได้เมื่อไหร่ก็ผิดเมื่อนั้น ซึ่งสวนทางความเป็นจริงตามวิถีปฏิบัติที่หากผู้ประกอบการไทยไม่รับเงินจัต ก็ขายสินค้าไม่ได้

การทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินจัต จึงเป็นเรื่องสำคัญของการค้าชายแดนไทย-พม่า ทำให้ผู้ค้าชายแดนทุกแห่งต้องหาทางช่วยตนเองมานานถึง 65 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินใน พ.ศ.2485

นอกจากนี้ การที่เงินจัตไม่มีองค์กรหรือสถาบันการเงินใดรับรอง และกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นมาตรฐาน การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันจึงขึ้นอยู่กับสถานภาพการค้าขายในท้องถิ่นเป็นสำคัญ

แต่เนื่องจากเงินจัตเป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลางพม่า จึงเป็นเงินต่างประเทศ ตามมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกรรมเกี่ยวกับเงินจัต ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ

หากทำธุรกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจะถูกดำเนินคดีอาจได้รับโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี และปรับ 20,000 บาท ดังนั้น ผู้ทำธุรกรรมเงินจัตทุกรายจะต้องขออนุญาต และไปขึ้นทะเบียนไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันในท้องที่อำเภอแม่สอด มีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมรับแลกเปลี่ยนเงินจัตอยู่เพียงประมาณ 13 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการสัญชาติจีนกับพม่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us