Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2553
จาก “เวียงศรีตวง” จนมาเป็นแม่สาย             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง ศรีนาคา เชียงแสน
 


   
search resources

Commercial and business
Myanmar
Currency Exchange Rates




ย้อนกลับไปนับพันปีก่อน "แม่สาย" ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเมือง "เวียงศรีตวง" เมืองเก่าแก่ของชาวลั๊วะที่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรโยนกราชธานีไชยบุรีศรีเชียงแสน ที่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เวียงพานและเวียงพานคำ" ตามลำดับ ถือเป็นถิ่นกำเนิดของพระเจ้าพรหมมหาราช กษัตริย์ผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณูปการต่ออาณาประชาราช และเป็นผู้ขับไล่ชนชาติขอมที่เข้ามายึดครองอาณาจักรโยนกออกไปได้สำเร็จ นำอิสรภาพความผาสุกมาสู่ดินแดนในย่านนี้ได้

แต่ด้วยวัฏฏะแห่งการเปลี่ยนแปลง เมืองแห่งนี้ก็ไม่สามารถดำรงอยู่เป็นนิรันดร์ ที่สุดก็เลือนหายไปจากบันทึกของหน้าประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่ง

ก่อนที่บันทึกหน้าใหม่ของเมืองแม่สาย จะเปิดขึ้นที่ชุมชนชายแดนเล็กๆ ที่เงียบสงบ มีสภาพคล้ายกับเมืองชายแดนทั่วไป ที่ชาวบ้านในชุมชนติดต่อค้าขายกับเพื่อนบ้านมาอย่างยาวนาน ในลักษณะ "ตลาดชาวบ้านชายแดน" ที่มีอายุเกือบจะเท่าอายุของประเทศไทยก็ว่าได้

ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดคือ การอพยพของชาวไทยยองจากลำพูน มาอยู่ในพื้นที่แถบเชียงแสน แม่จัน และแม่สาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายใต้นโยบาย เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง โดยพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด คือบริเวณตำบล เกาะช้างในปัจจุบัน

ชาวไทยยองเหล่านี้เป็นชาวนาที่มีความรู้ความชำนาญด้านการชลประทานมาตั้งแต่ครั้งยังมีอาณาจักรเชียงรุ้งเป็นของตนเองในอดีต เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนในลุ่มน้ำ แม่สายและแม่น้ำรวกก็ได้พัฒนาระบบเหมือง ฝายขึ้น โดยมีการขุดลำเหมืองแดงเพื่อเป็นช่องทางส่งน้ำเข้านา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่จนกลายเป็นแหล่งชุมชนที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนตลาดชาวบ้านชายแดนนั้น เดิมอยู่บริเวณตลาดแพร่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2474 บุญยืน ศรีสมุทร คหบดีท้องถิ่นได้เปิดตลาด สดขึ้นมาใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ตลาดแห่งใหม่ นี้ได้รับความนิยมและกลายมาเป็นศูนย์กลาง การค้าขายของเมืองแม่สายในปัจจุบัน (เศวตยนต์ ศรีสมุทร, แม่สายจากอดีตถึงปัจจุบัน, เอกสารหอการค้าแม่สาย, น.38-40)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รัฐบาลขณะนั้นได้ส่งกองทหารขึ้นไปยึดเมืองเชียงตุง คืนจากอังกฤษ โดยมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายในปี พ.ศ.2485 และสร้างถนนไปถึง เชียงตุง ระยะทางกว่า 160 กิโลเมตร (ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R3b ในปัจจุบัน) เมื่อยึดเชียงตุงได้ก็สถาปนาขึ้นเป็น "สหรัฐไทยเดิม" ทำให้เมืองแม่สายมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมากในฐานะประตูสู่เชียงตุง

และแม้ว่าเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องเสียเชียงตุงไปพร้อมๆ กับความเสียหายจากร่องรอยของมหาสงคราม แต่บทบาทของเมืองแม่สายไม่ได้รับผลกระทบ มากนัก เพราะได้กลายเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญทางเหนือไปแล้ว

วิถีชีวิตของตลาดเมืองแม่สายในอดีต เริ่มขึ้นแต่เช้าตรู่ที่จะมีพ่อค้าแม่ขายจากฝั่งท่าขี้เหล็กเดินทางเข้ามาขายส่งสินค้าอันหลากหลาย พร้อมทั้งซื้อสินค้าฝั่งไทยกลับไป ในช่วงสายๆ หลังจากนั้นจะมีพ่อค้าจากแม่จัน เชียงราย แม้แต่พะเยา เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง

ทำให้ชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ เริ่มขยายตัวกลายเป็นชุมชนการค้าที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา อพยพเข้ามาอยู่อย่างหนาแน่น แต่มีลักษณะร่วมกันคือคนเหล่านี้ล้วนแต่รักสงบ ทำให้เมืองการค้าแห่งนี้เจริญเติบโต ปราศจากความขัดแย้งและกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคมขนส่งย่านชายแดนที่สำคัญ นับแต่นั้นมา

และกำลังทวีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us