การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องชี้แนะในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเมืองนั้นถือเป็นการใช้คอมพิวเตอร์สมกับราคาค่างวดที่สุดอย่างหนึ่ง
และเมืองไทยก็พร้อมที่จะก้าวไปสู่การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้มานานพอสมควรแล้ว
ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำคอมพิวเตอร์กับหลักเกณฑ์ทาง system dynamics มาจับประเด็นว่าการที่เกิดปัญหาสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งมีราคาตกต่ำลงเรื่อยๆ
ในช่วงเวลาอันสั้นนั้นมันเนื่องมาจากสาเหตุอะไร และจะใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยแจกแจงในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง
การแก้ปัญหาด้วยหลักเกณฑ์ทาง system dynamics เป็นการมองปัญหาให้ครอบคลุมไปทั้งระบบว่ามีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง
โดยเลือกมองเฉพาะปัจจัยเหตุที่สำคัญเท่านั้น เพื่อจะได้สามารถให้ความสนใจในประเด็นต่างๆ
ได้อย่างมีผลในเวลาอันควร การมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ให้ครอบคลุมกว้างที่สุดนั้น
เป็นของจำเป็นเพราะจะทำให้แก้ปัญหาได้อย่างแม่นฉมังมากกว่าการมองปัญหาอย่างผิวเผิน
หรือมองปัญหาเป็นหย่อมๆ การมองปัญหาในวงกว้างใหญ่ช่วงแรกของการแก้ปัญหาเป็นเพียงต้องการแลเห็นความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ของปัจจัยเหตุและผล
ที่จะเกิดตามมาต่างๆ ให้ได้ครบสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขั้นต่อไปจึงมาดูว่าในท่ามกลางการเกี่ยวข้องโยงใยของปัจจัยเหตุและผลต่างๆ
นั้น มีอะไรที่เป็นหลักสำคัญควรแก่การนำมาพิจารณา และอะไรที่เป็นส่วนปลีกย่อยอันควรตัดทิ้ง
การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองด้วยคอมพิวเตอร์นั้นมักนิยมทำเฉพาะประเด็นหลักๆ
ของปัญหาเข้ามาพิจารณาโดยพยายามตัดทอนสิ่งที่ไม่สู้สำคัญออกไปให้มากที่สุด
เพื่อให้เข้าถึงคำตอบนี้เห็นว่าจะมีประสิทธิภาพในเวลาอันสั้นที่สุด ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหลักเบื้องต้นของ
system dynamics ที่สอนให้ผู้บริหารพยายามมองปัญหาต่างๆ ให้อยู่ในรูปของระบบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะการมองเหตุการณ์ต่างๆ ในรูปของ “ระบบ” นั้นทำให้เราสามารถหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่ภายในระบบได้ค่อนข้างแน่นอน
เมื่อหาความสัมพันธ์ว่าอะไรเกี่ยวข้อง (หรือมีอิทธิพล) กับอะไรก็ได้ ก็สามารถเขียนออกมาเป็นสัญลักษณ์หรือ
model ได้ เมื่อจัดทุกอย่างให้อยู่ในรูปของ model ที่มีข้อมูลอยู่ภายในอย่างพร้อมสรรพได้ ก็นำคอมพิวเตอร์
พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูปมาแก้ปัญหาคำตอบได้ ซึ่งก็มีคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่นำมาใช้คำนวณพยากรณ์เพื่อชี้แนะการแก้ปัญหาทำนองนี้อยู่หลายโปรแกรมด้วยกัน
เช่น CSMP DYNAMO ฯลฯ ในที่นี้จะให้ความสนใจการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เรียกว่า
“DYNAMO” เท่านั้น เพราะเห็นว่าง่ายแก่การใช้งาน และมีอานุภาพสามารถแก้ปัญหาได้กว้างไกลมาก
สรุปแล้วการแก้ปัญหาด้วยหลักทาง system dynamics นั้นมักอาศัยคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เรียกว่า
DYNAMO คู่กันไป คำว่า “dynamics” นั้นหมายความว่าระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางการค้า
หรือการเมือง ย่อมไม่คงที่ตายตัว แต่จะเปลี่ยนรูปหรือแปรสภาพไปตามเวลา คือ
เวลาที่ผ่านไป จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องของ system dynamics มาก แม้กระทั่งคำตอบที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อเนื่องของปัจจัยต่างๆ
เมื่อเวลาผ่านไป ระยะเวลาที่นำมาพิจารณานั้นจะกำหนดให้สั้นหรือเนิ่นนานสักเท่าใดก็ได้
เช่น ถ้าเรานำคอมพิวเตอร์พร้อมด้วยโปรแกรม DYNAMO มาหาลู่ทางเพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรอย่างหนึ่งโดยอยากทราบว่า
เมื่อเวลาผ่านไป 100 เดือนแล้วปัจจัยต่างๆ จะแปรปรวนไปเช่นไร ก็จะได้คำตอบตัวอย่างดังรูปที่
1 ซึ่งแสดงความเปลี่ยนแปลงในด้าน production capacity ของสินค้าเกษตรกรรมชนิดหนึ่ง
โดยให้มีการพยากรณ์นานเป็นระยะเวลา 100 เดือนนับจากปัจจุบัน
การสามารถให้คำตอบทั้งในรูปของตัวเลขและแผนภาพดังในรูปที่ 1 นั้นจัดว่ามีประโยชน์ในแง่ของความสะดวกในการทำความเข้าใจได้มากกว่าการดูตัวเลขเฉยๆ
ผู้ที่ใช้โปรแกรม DYNAMO ในการพยากรณ์วางแผนจึงมักสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์คำตอบออกมาเป็น
“รูป” มากกว่าเป็น “ตัวเลข” อักษรย่อแต่ละตัวตามในรูปที่
1 นั้น แทน 1 ปัจจัย เช่น I แทน inventory, C และ production capacity ฯลฯ
ส่วนเป็นโค้งคดที่เห็นในรูปที่ 1 นี่หมายถึง production capacity นั้นต้องใช้มือลากเอาเอง
คือลากเส้นไปตามตัวอักษร “C” รูปที่ 1 เป็นเพียงตัวอย่างคำตอบ
(เพียงแง่มุมเดียว) ของสินค้าทางเกษตรกรรมที่ได้จากการนำหลักในทาง system
dynamics มาศึกษาความเป็นไป และเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนึกภาพออกตั้งแต่ต้นว่า
คำตอบที่คอมพิวเตอร์ให้ออกมานั้นเป็นเช่นใด ก่อนที่จะนำ system dynamics
มาศึกษาปัญหาจริงๆ ซึ่งยังคงจัดอยู่ในเรื่องของ Dynamics of Commodity Production
Cycles เหมือนในรูปที่ 1
ปัญหาอันเป็นเรื่องที่ชวนให้ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูป “DYNAMO”
มาศึกษาหาลู่ทางจริงๆ ที่จะกล่าวในที่นี้จะเป็นเรื่องของสุกรล้นตลาด ซึ่งเป็นปัญหาในด้าน
commodity อย่างหนึ่งที่นำเอาหลักเกณฑ์ในทาง system dynamics มาใช้สางปัญหาได้เป็นอย่างดี
ก ารที่จะสางปัญหาในเรื่องของสุกรได้ก็จำเป็นต้องเข้าใจความเกี่ยวข้องโยงใยของปัจจัยเหตุต่างๆ
ภายในวัฏจักรของเรื่องสุกรเสียก่อน วิธีหนึ่งที่จะเข้าใจวัฏจักรที่เริ่มตั้งแต่การเพาะเลี้ยงเรื่อยไปจนถึงสิ่งที่จะมีผลกับกลไกของราคา
อันจะมีผลกับราคาของสุกรมีชีวิต ก็คือ การมองเรื่องนี้ให้อยู่ในรูปของระบบคือมองปัญหาให้กว้างที่สุดเพื่อให้สามารถครอบคลุมปัจจัยเหตุอันเป็นต้นตอที่สำคัญๆ
ให้ครบถ้วน ซึ่งคงจะหนีหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้ไปไม่พ้นคือ
(1) ปริมาณสุกรมีชีวิตที่ตกค้างมาจากปีก่อน
(2) อัตราการบริโภคใช้สอย
(3) ราคาของสุกรมีชีวิต และราคาขายปลีกหน้าเขียง
(4) ราคาของสุกรีมีชีวิตเทียบกับราคาของอาหารสัตว์
(5) ปริมาณของพันธุ์ผสม อัตราการผสมพันธุ์ และปริมาณสุกรที่มีอายุ แต่ยังไม่สามารถขายใช้ประโยชน์ได้
และ
(6) ระยะเวลาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องรอจนกว่าจะเห็นว่าความเคลื่อนไหวราคาในตลาดนั้นสูงพอที่จะจงใจให้เริ่มลงมือเลี้ยงได้
การพิจารณาปัญหาสุกรก่อนนำคอมพิวเตอร์มาช่วยคำนวณพยากรณ์นั้น จะต้อง
พิจารณาทั้งปัญหาในปีปัจจุบัน และในปีก่อนๆ ซึ่งจะมีผลกระทบกันทั้งปัจจุบันและอนาคต
เรื่องของ inventory ของสุกรที่ตกค้างมาจากปีก่อนๆ จึงมีความสำคัญเกือบจะอยู่ในอันดับหนึ่ง
สรุปแล้วปัจจัยเหตุต่างๆ ที่จัดเป็นหลักสำคัญในเรื่องของการเพาะเลี้ยง การฆ่า
เรื่อยไปจนถึงราคาขายน่าจะแสดงได้ดังรูปที่ 2 อันเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ
อย่างย่นย่อที่สุดเพื่อสะดวกในการเข้าใจในขั้นต้น จึงยังจัดว่าสมบูรณ์แบบไม่ได้
แผนภาพที่สมบูรณ์แบบจริงๆ นั้น ต้องมีรายละเอียด และข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณมากกว่านี้
ซึ่งจะแสดงให้เห็นต่อไป การนำปัจจัยต่างๆ มาพิจารณาก่อนลงมือแก้ปัญหาด้วยกรรมวิธีทาง
system dynamics มักจะอยู่ในของแผนภาพตามในรูปที่ 2 ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้มีรายละเอียดของปัจจัยหลักๆ
สมบูรณ์เสียก่อน จึงเขียนเป็น model ได้เมื่อได้แผนภาพที่สมบูรณ์แล้ว (ดูรูปที่
3) ก็ต้องหาข้อมูลป้อนเข้า model แล้วสร้างความสัมพันธ์ให้คอมพิวเตอร์รับรู้ในแง่ของสมการอันเป็นรายละเอียดของ model เพื่อจะได้คำนวณพยากรณ์แล้วให้คำตอบ (เช่นรูปที่ 1) ต่อไป
model อันเป็นแผนภาพตามรูปที่ 3 นั้นยังรอเวลาทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่เพื่อจะดูผลของการคำนวณพยากรณ์ว่า
จะสามารถนำผลพวงที่มีผู้ค้นคว้าไว้ในต่างประเทศมาใช้ในประเทศเราได้สักแค่ไหนเพียงใด
หรือจำเป็นต้องแก้ไข model ต่อไปอีก ซึ่งถ้าจำเป็นต้องแก้ไขก็ทำได้ไม่ยากหากมีประสบการณ์ในด้าน
system dynamics ดังนั้นในขณะนี้ให้ถือว่า model อันเป็นแผนภาพในรูปที่ 3
นั้นใช้การได้ในแง่ของการสามารถสะท้อนภาพอันเกี่ยวกับวัฏจักรทางการค้าของสุกรที่ค่อนข้างจะถูกต้อง
รายละเอียดอันเกี่ยวกับสมการและตัวเลขข้อมูลต่างๆ ยังไม่นำมาแสดง เพราะจะทำให้บทความยืดยาว
และไม่น่าอ่าน แต่ก็จะกล่าวไว้สั้นๆ ว่า รูปร่างหน้าตาของคำสั่งที่สั่งเป็นภาษา
DYNAMO ให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้นั้นเป็นเช่นใด บทความที่เป็นเพียงตอนแรกของจำนวนทั้งหมดสองตอน
และต้องรอเวลาอีกสักพักกว่าจะสามารถนำผลคำตอบของการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ภาวะสุกรล้นตลาดมาเสนอได้จุดมุ่งหมายของบทความในตอนแรกนี้
ต้องการเพียงให้ผู้อ่านเข้าใจ system dynamics บ้างและทราบต่อไปว่า จะนำไปวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองอะไรได้บ้าง
คำตอบในขณะนี้ก็คือ system dynamics ได้แก้ปัญหาในลักษณะช่วยชี้แนะได้มากมายในด้านการเงินคอมมอดิตี้
และอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
(1) เรื่องต่างๆ ที่อยู่ในอาณาจักรของ dynamics of commodity production
on cycles ซึ่งจัดเป็นอาณาจักรใหญ่ที่ครอบคลุมสินค้าเกษตรเกือบทั้งหมด ปัญหาในเมืองไทยที่น่าจะนำ
system dynamics มาวิเคราะห์ในขณะนี้ก็คือ สินค้าเกษตรที่มีความฮวบฮาบตกต่ำในเรื่องราคา
หรือขาดเสถียรภาพ เช่น มันสำปะหลัง ฯลฯ และ
(2) เรื่องที่สำคัญมากๆ อีกประเภทหนึ่งที่นำ system dynamics มาวิเคราะห์เพื่อ
ให้สามารถแลเห็นผลในระยะยาว ได้ดีก็คือ เรื่องที่อยู่ในอาณาจักรทางการเงิน
และก็มีผู้วิเคราะห์ในเชิงชี้แนะไว้มาก เช่น ในแง่ของ the impact of corporate
financial policies on corporate growth and profitability ซึ่งนำปัจจัยสำคัญทุกปัจจัยในอาณาจักรของการค้า
(corporation) เข้ามาพิจารณาหมด เริ่มตั้งแต่การขาย การซื้อ สภาพค้างจ่าย
และค้างชำระ สภาพหนี้ หุ้น และเงินปันผล ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนจะหาโอกาสนำมาเสนอในต่อๆ
ไป
ขอย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องของสุกรล้นตลาดซึ่งได้เริ่มต้นทำการค้นคว้าโดยอาศัย
model ดังในรูปที่ 3 เป็นแนวทางนั้นมีหลักอยู่ว่า เมื่อเขียนแผนภาพแสดงแนวทางในการแก้ปัญหาได้สมบูรณ์แบบแล้ว
ขั้นสุดท้ายเป็นการเขียนคำสั่งด้วยภาษา DYNAMO เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการคำนวณ
และพยากรณ์คืบไปในอนาคตตัวอย่างของคำสั่งบางอันที่ผู้เขียนได้ใช้สำหรับแก้ปัญหาในเมืองไทย
จะเป็น อาทิ
L IP.K = IP.J + (DT)
[(MSSR.JK + OSSR.JK)
(LWSH *DY)
-CR.JK}
N IP = IPN
C IPN = 69210.
C LWSH = .1
C DY = .9
IP = inventory of pork (tons)
MSSR = mature-stock-slaughter rate
(hogs/month)
OSSR = old-sow-slaughter rate
Hogs (tons)
DY = hog-dressing yield
(disvensionless)
CR = consumption rate
(tons/month)
IPN = initial value of IPN (tons)
คำสั่งดังแสดงไว้ข้างต้นถือว่าเป็นคำสั่งอันเดียวเท่านั้น ในเรื่องของสุกรนี้จะมีคำสั่งทั้งหมดรวมทั้งข้อมูลไม่เกิน
50 คำสั่ง หรือ 50 บรรทัดนั่นเอง จะเห็นว่าปริมาณของคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลในเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญนี้มีเพียง
50 บรรทัดเท่านั้น และบางคำสั่งก็สั้นมาก การที่เราสามารถศึกษาปัญหาขนาดใหญ่ด้วยการเขียนคำสั่งเพียงไม่กี่บรรทัดนั้น
เกิดจากความลึกซึ้งและรัดกุมของภาษา DYNAMO เป็นเหตุคือ สั่งสั้นๆ แต่มีผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างมากมาย
และให้ผลคำตอบที่กว้างไกลมาก จึงมีผู้สนใจนำ DYNAMO ไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ
มากขึ้น แม้ว่าเวลาในการใช้โปรแกรมอันนี้ในโลกนี้จะเลย 20 ปีมาแล้วก็ตาม
ผู้เขียนจะนำผลที่ได้จากการคำนวณในเรื่องสุกร ซึ่งอาศัย system dynamics
มาสางปัญหามาเสนอในโอกาสต่อไป เรื่องของการขาดเสถียรภาพในด้านราคาของสุกรนี้มีผู้เสนอวิธีแก้ปัญหาไว้มากแล้ว
คือ สรุปได้ว่า ให้อาศัยระบบสหกรณ์และตลาดล่วงหน้าเป็นหลัก ที่ผู้เขียนหาญศึกษาในเรื่องนี้ก็เพราะเห็นว่า
การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในทำนองนี้จะลองนำคอมพิวเตอร์มาช่วยชี้แนะดูบ้าง ก่อนที่จะก้าวไปพิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเมือง ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้