|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รายได้ช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมาของกลุ่มบริษัทสามารถค่อนข้างไม่แน่นอน เพราะธุรกิจอิงอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจและงบประมาณใช้จ่ายของภาครัฐ บริษัทจึงพยายามแสวงหาธุรกิจใหม่ กระทั่งล่าสุดบริษัทหวังพึ่งพิงธุรกิจสาธารณูปโภคให้เป็นธุรกิจยั่งยืน
ปัจจุบันกลุ่มบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจหลักอยู่ 4 กลุ่ม คือธุรกิจโทรศัพท์มือถือไอโมบาย ธุรกิจสามารถเทลคอม ให้บริการสื่อสารด้านโทรคมนาคม ธุรกิจเชื่อมโยงเทคโนโลยี บริการติดตั้งและจำหน่ายจานดาวเทียมและธุรกิจสาธารณูปโภค
ในปีนี้สามารถกรุ๊ปมีอายุครบ 55 ปี ปัจจุบันรายได้หลักของกลุ่มบริษัทสามารถยังพึ่งพิงอยู่สองธุรกิจหลัก คือธุรกิจโทรศัพท์มือถือไอโมบาย ที่มีรายได้มากที่สุด ราว 1-2 หมื่นล้านบาท ส่วนอีกหนึ่งธุรกิจคือธุรกิจสามารถเทลคอม มีรายได้จากการให้บริการสื่อสาร โทรคมนาคมให้กับภาครัฐเป็นหลัก มีรายได้ขึ้นๆ ลงๆ ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ในปี 2552 กลุ่มบริษัทสามารถคาดว่าจะมีรายได้ 25,000 ล้านบาท และคาดหวัง จะมีรายได้จากกลุ่มสามารถเทลคอม 10,300 ล้านบาท รายได้จากโทรศัพท์มือถือไอโมบาย 12,000 ล้านบาท
จากการพิจารณาจะเห็นว่ากลุ่มสามารถหวังพึ่งพิงรายได้เพิ่มจากธุรกิจสามารถเทลคอมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะรัฐมีนโยบายขยายโครงการค่อนข้างมากในช่วงนี้
ในขณะที่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าจะมีรายได้มากกว่าก็ตาม ทว่ารายได้ของธุรกิจมือถือลดน้อยลงเมื่อเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้รายได้เคยพุ่งทะยานเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าทั้งสองกลุ่มธุรกิจจะสลับสับเปลี่ยนสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสามารถก็ตาม วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถคอร์ป ตระหนักดีว่ารายได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเศรษฐกิจ การ เมือง และงบประมาณ ค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ ทำให้กลุ่มสามารถต้องแสวงหาธุรกิจใหม่เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่มีเป้าหมายให้บริการด้านสิ่งแวด ล้อม ระบบขนส่ง และพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะในปีนี้ มีแผนสร้างโรงงานไฟฟ้าผลิตและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ธุรกิจสาธารณูปโภคจึงกลายเป็นธุรกิจขาที่ 3 ของกลุ่มสามารถ รองจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ และธุรกิจสามารถเทลคอม ที่เป็นขาที่ 1 และขาที่ 2
ธุรกิจสาธารณูปโภคมี 3 ส่วนหลัก คือธุรกิจระบบขนส่ง ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม และธุรกิจพลังงานทางเลือก
ธุรกิจที่เปิดให้บริการอยู่ ได้แก่บริการฉายรังสีพืช ผัก ผลไม้ และอุปกรณ์ การแพทย์ โดยอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทเรดดี้เท็กซ์ จำกัด ส่วนบริษัทแคมโบ เดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด ให้บริการ ระบบการจราจรทางอากาศให้กับประเทศกัมพูชา
ธุรกิจพลังงานทางเลือกปัจจุบันให้ บริการโรงงานไฟฟ้ากัมปอต ประเทศกัมพูชา เมื่อปี 2549 ที่ผ่านมาในแผนธุรกิจ ระบุว่าบริษัทจะผลิตไฟฟ้าจำนวน 23 เมกะวัตต์ให้กับโรงงานปูนซีเมนต์กัมปอตของเครือซิเมนต์ไทย
ล่าสุดกลุ่มบริษัทสามารถมีแผนก่อตั้งโรงงานไฟฟ้าในประเทศไทย 5-10 แห่งในปีนี้
บริษัทสามารถมองเห็นโอกาสของธุรกิจว่าประเทศไทยยังแสวงหาพลังงานเพิ่มทุกปี และไฟฟ้าเป็นแนวโน้มที่ประเทศไทยใช้เพิ่มขึ้นทุกปี และยิ่งกว่านั้นเมื่อโรงงานของกลุ่มสามารถสร้างแล้วเสร็จ บริษัทมีลูกค้า คือการไฟฟ้าภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้รับซื้อแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปรับนโยบายซื้อไฟฟ้าจากบริษัทเอกชนจาก 1 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นเป็น 10 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน
โอกาสดังกล่าวทำให้บริษัทศึกษาแผนนี้มาได้ระยะหนึ่ง ในปีนี้ได้กำหนดเงินลงทุน เพื่อสร้างโรงงานอยู่ประมาณ 500-1,000 ล้านบาท
แนวคิดการสร้างโรงงานไฟฟ้าของบริษัทสามารถจะอิงไปกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นนโยบายการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มสามารถจึงเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากชีวภาพ (Biomass) และชีวมวล (Biogas)
เชื้อเพลิงจากชีวภาพจะใช้วัตถุดิบ ไม้ แกลบ ซังข้าวโพด ส่วนเชื้อเพลิงชีวมวล จะใช้พลังงานจากไอน้ำที่เกิดจากโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
โรงงานผลิตไฟฟ้าของกลุ่มสามารถจะมี 2 ขนาด ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดย ขนาดเล็กจะเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวภาพคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 1-2 เมกะวัตต์
ประสิทธิ์ชัย วีระยุทธวิไล Executive Vice President บมจ.สามารถ เทลคอม บอก ผู้จัดการ 360 ํ ว่า ต้องใช้ไม้หนัก 5 พันตันจึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์
ส่วนโรงงานขนาดกลางเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล คาดว่าผลิตไฟฟ้าได้ 4-7 เมกะวัตต์ จะเริ่มเห็นโรงงานได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ เพราะโรงงาน 1 แห่งจะใช้เวลาสร้างประมาณ 3-4 เดือน
แม้ว่าแผนธุรกิจพลังงานทางเลือกจะมีความชัดเจนในระดับหนึ่ง แต่บริษัทสามารถยังต้องหาพันธมิตรหลายๆ ด้าน เช่นพันธมิตร ที่มีวัตถุดิบ เทคโนโลยี หรือแม้แต่เงินทุนเข้ามาเพิ่ม เพราะธุรกิจพลังงานทางเลือกยังเป็นธุรกิจใหม่ของกลุ่มสามารถ โดยเฉพาะเทคโนโลยีอยู่ระหว่างการคัดเลือกจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าบริษัทสามารถจะมีประสบการณ์สร้างโรงงานผลิตไฟฟ้า ที่กัมปอต ประเทศกัมพูชา เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ตาม แต่วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไฟฟ้ายังเป็นน้ำมันเตา
อย่างไรก็ดี บริษัทสามารถมีความคืบหน้าในการเจรจากับพันธมิตรไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่เปิดเผยรายชื่อ
การแสวงหาธุรกิจพลังงานทางเลือกของกลุ่มบริษัทสามารถ ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตไฟฟ้าจากวัตถุดิบชีวมวลและชีวภาพเท่านั้น แต่บริษัทได้มองหาโอกาสในการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน น้ำขนาดเล็ก
แม้ว่าธุรกิจนี้จะยังไม่เป็นรูปเป็นร่างในเวลานี้ก็ตามที เพราะปัญหาแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอ แต่โครงสร้างธุรกิจของกลุ่มสามารถก็ได้กำหนดไว้แล้ว และเรียกธุรกิจนี้ว่า Hydro Solar Wind
ธุรกิจสาธารณูปโภค โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานทางเลือกของกลุ่มบริษัทสามารถจะเป็นธุรกิจขาที่ 3 ได้หรือไม่ คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่
|
|
|
|
|