|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เห็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับธุรกิจตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว หลังจากเห็นแนวโน้มของโลกหันมาใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนมากขึ้น
รัฐบาลมีนโยบายว่าในปี 2556 ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 500 เมกะวัตต์ แม้ว่าบริษัทเอกชนหลายแห่งจะรู้ข้อมูลนี้และยื่นขอเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 3 พันราย และได้รับอนุมัติให้ผลิต 1 พันกว่ารายก็ตามที ทว่ายังมีผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้จริงเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ เลือกผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ที่ตั้งภูมิศาสตร์รับแดดตลอดทั้งปี ประการสำคัญไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ คือแสงอาทิตย์
แต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีต้นทุนการเช่าหรือซื้อพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ปริมาณกระแสไฟฟ้าผลิตได้ 1 เมกะวัตต์ จะใช้พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 20,000 แผง และใช้เงินทุนเริ่มต้นราว 100 ล้านบาท การใช้พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่จึงเรียกว่า "โซลาร์ฟาร์ม"
ปัจจุบันบริษัทจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประมาณ 7.2 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์มทั้งหมด 6 แห่งในต่างจังหวัด
โซลาร์ฟาร์มทั้ง 6 แห่ง อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงงานแห่งแรกผลิตไฟฟ้า 1.49 เมกะวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 1 ผลิต 285 กิโลวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 2 ผลิต 1.5 เมกะวัตต์ อ่างทอง 1 ผลิต 1 เมกะวัตต์ จังหวัดเพชรบุรี ผลิต 2.1 เมกะวัตต์ และนครสวรรค์ 0.5 เมกะวัตต์
ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าอีก 14 เมกะวัตต์ หรือติดตั้งโซลาร์ฟาร์มเพิ่มขึ้น 3 แห่ง คือจังหวัดนครราชสีมา ผลิตไฟฟ้า 1.1 เมกะวัตต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลิตไฟฟ้า 1.5 เมกะวัตต์ และจังหวัดลพบุรี ผลิตกระแสไฟฟ้า 11 เมกะวัตต์
การผลิตไฟฟ้าของบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือเรียกว่า Very Small Power Plant: VSPP เป็นการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 เมกะวัตต์
กฤษฏา จงไพบูลย์พัฒนะ รองประธานฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ บอกเหตุผลกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่าการที่เลือกผลิตไฟฟ้าในรูปแบบ VSPP โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะรัฐสนับสนุนเพิ่มรายได้ (adder) ให้อีก 8 บาทต่อ 1 หน่วย หมายความว่าบริษัทสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ในราคา 11 บาทต่อหน่วย ซึ่งรัฐจะสนับสนุนเป็นระยะเวลา 10 ปี
บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ นอกจากจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแล้วยังได้ผันตัวเองมาเป็นผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มให้กับบริษัทเอกชน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่เริ่มต้นจากศูนย์ในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา ติดต่อหน่วยงานราชการ การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน ความเสี่ยง และโอกาสในธุรกิจ
ด้วยประสบการณ์ดังกล่าว เมื่อปลายปีที่ผ่านมาบริษัทจัดสัมมนาครั้งใหญ่ภายใต้หัวข้อ "ลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างไรให้เร็วและได้กำไรสูงสุด"
การสัมมนาในครั้งนั้นผู้ประกอบการให้ความสนใจค่อนข้างมาก และมีความต้องการลงทุน แต่ติดปัญหาอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่มีความเข้าใจในธุรกิจนี้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ดี เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน 1 ราย รับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปี นับว่าเป็นการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่กว่าบริษัทหลายเท่า
การหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิตและที่ปรึกษา เป็นการเพิ่มช่องทางขยายธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัท จากที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 900 ล้านบาท
ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดใหม่ของบริษัท เริ่มดำเนินงานเมื่อปี 2549 บริษัทมองเห็นโอกาสในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปรัฐบาลจะสนับสนุนรายได้ (adder) ให้ 20 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี มากกว่าที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเอกชน
ทำให้บริษัทตัดสินใจตั้งบริษัทในเยอรมนีชื่อบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ Gmbh จำกัด เมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อบุกตลาด ในยุโรปทำให้บริษัทรับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์มให้ 3 ประเทศคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์
บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง แต่มีบริษัทในเครือคือ บริษัทบางกอกโซลาร์ จำกัด ช่วยสนับสนุนทำธุรกิจ มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ และพัฒนาวิจัยให้มีคุณภาพ
บริษัทบางกอก โซลาร์มีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ 1,250,000 แผ่นต่อปี เป็นแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง (Amorphous Silicon Thin-Film Module) ที่เหมาะสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย เป็นแผงที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง 6 โมงเย็น
การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอน บริษัทเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย แต่ยอมรับว่ายังมีต้นทุนที่สูง หรือราคาแผ่นละ 5 พันบาท ดังนั้นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จึงเหมาะติดตั้งในบริษัท หรือฟาร์มต่างๆ เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ามากกว่าลงทุนติดตามบ้านต่างๆ
สำหรับบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด อยู่ในเครือบางกอก เคเบิล กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสายเคเบิลทองแดง เคเบิลอะลูมิเนียม สายโทรศัพท์
แต่หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายติดตั้งไฟฟ้าในชนบท เรียกว่า ไฟฟ้าเอื้ออาทร หรือ โซลาร์โฮม บริษัทจึงร่วมประมูลภายในนามบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และติดตั้ง 2 เฟส เฟสแรกติดตั้ง 25,000 หลังคาเรือน เฟสที่สองติดตั้งอีก 20,000 หลังคาเรือน บริษัทจึงซื้อโรงงานเพื่อผลิตแผงโซลาร์เซลล์ป้อนให้กับโครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร จังหวัดฉะเชิงเทรา
บ้านแต่ละหลังจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหลังละ 25,000 บาท โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 3 แผ่นบนหลังคา แผงโซลาร์เซลล์ 1 แผ่นให้พลังงาน 40 วัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 140 วัตต์ต่อวัน
ผู้ใช้ไฟในบ้านสามารถใช้ไฟได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน คือใช้ไฟฟ้าได้ 2 หลอด หลอดละ 10 วัตต์ และโทรทัศน์อีก 1 เครื่อง
สมพงศ์ นครศรีประธานกรรมการบริหาร บริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด บอกกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า หลังจากติดตั้งโซลาร์ โฮมแล้วเสร็จ บริษัทเริ่มออกไปต่างประเทศ ขายไฟฟ้าให้กับบริษัทในเยอรมนี เริ่มจาก 5 เมกะวัตต์ ขยายเป็น 20 เมกะวัตต์
ในขณะที่ขายไฟฟ้าให้กับประเทศเยอรมนี บริษัทเริ่มสร้างโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคควบคู่กันไปด้วย
"หัวใจการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม คือเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนธุรกิจ ถ้าทำทั้งสองอย่างนี้ได้ ธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้" เป็นคำกล่าวของสมพงศ์ที่เขารู้ดีว่าแม้ว่าธุรกิจนี้จะไปได้ดีในตอนนี้ แต่อนาคตเขายังไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มคำ
|
|
|
|
|