|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ด้วยความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากร และเคยทำงานให้กับยูเสด ทำให้นพ สัตยาศัย มีโอกาสศึกษาข้อดีข้อเสียของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานต่างๆ
เขาได้ข้อสรุปว่าการผลิตไฟฟ้าจากกระบวนการ gasification เป็นกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และมีต้นทุนต่ำสุด
"หากเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน ในแง่ผลวิเคราะห์ทางการเงิน ต้นทุนของ gasification จะแพงกว่าเล็กน้อย เพราะถ่านหินนั้น ต้นทุนต่อ 1 เมกะวัตต์เท่ากับ 1-1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ gasification ตกอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์ หากเทียบเชิงเศรษฐศาสตร์ gasification จะคุ้มค่ากว่า เพราะผลที่ได้รับจะกระจายออกสู่วงกว้าง สู่ชุมชน แต่โรงไฟฟ้าจากถ่านหินคนที่จะได้รับประโยชน์คือผู้ลงทุนเพียงฝ่ายเดียว"
เขาบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลก หากกระแสไฟฟ้าที่ได้จาก gasification จะแพงกว่าถ่านหินเล็กน้อย แต่เป็นกระแสไฟฟ้าที่ได้จากกระบวนการที่สะอาดกว่า
นพยังได้ให้ข้อเปรียบเทียบกระบวนการ gasification กับการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ไว้อย่างน่าคิด
"ยอมรับว่าพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาด และต้นทุนวัตถุดิบ คือแสงแดดนั้นเป็นศูนย์ แต่นั่นเป็นข้อเท็จจริงเพียงด้านเดียว"
เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่มักมองแต่ข้อดีของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งก็คือการที่ไม่มีต้นทุนวัตถุดิบคือแสงแดด และกระบวนการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์นั้นไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
แต่ข้อมูลหนึ่งซึ่งทุกคนไม่ทราบและคนที่ทราบมักไม่พูดถึงกันคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตตัวแผงโซลาร์เซลล์เองนั้นเป็นเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ประเทศไทยไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ดังนั้นผู้ที่คิดจะตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำเป็นต้องเสียค่าเทคโนโลยีให้กับเจ้าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทจากต่างประเทศ
ทำให้ต้นทุนรับซื้อพลังงานไฟฟ้าที่รัฐต้องจ่ายให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จึงสูงกว่าโรงงานประเภทอื่น โดยเฉพาะค่า adder ที่รัฐชดเชยให้ถึงหน่วยละ 8 บาท
เงินจำนวน 8 บาทต่อหน่วยดังกล่าว เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับการนำเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายเป็นค่าเทคโนโลยีให้กับต่างชาติ ขณะที่พลังงานซึ่งได้รับมานั้นมีปริมาณเท่ากัน
นอกจากนี้ยังมีอีกข้อมูลหนึ่งที่น้อยคนนักจะรู้ นั่นคือกระบวนการผลิตตัวแผงโซลาร์เซลล์ที่ทำมาจากซิลิกา โดยก่อนที่จะนำซิลิกามาผลิตเป็นตัวแผงได้ ต้องใช้ความร้อนในการเผาซิลิกาด้วยอุณหภูมิสูงถึง 10,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับเป็นการปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศของโลกในจำนวนมหาศาล
การได้รับพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดจากแผงโซลาร์เซลล์ จึงไม่แตกต่างจากการชดเชยความเสียหายที่สูญเสียไปแล้วตอนผลิตตัวแผง
สิ่งที่น่าคิดคือ อัตราการชดเชยนั้น คุ้มหรือไม่กับสิ่งที่ได้เสียไป
การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ จึงตรงข้ามกับการผลิตไฟฟ้าจากกระบวนการ gasification โดยสิ้นเชิง เพราะในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก gasification ไม่มีการปล่อยสารที่เพิ่มอุณหภูมิโลกออกสู่บรรยากาศ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
รวมถึงมีต้นทุนเทคโนโลยีที่ต่ำกว่ามาก
แต่กลับได้รับ adder จากรัฐเพียงหน่วยละ 3.30 บาท
โครงสร้างเงินชดเชยจากรัฐ (adder) นี่เองที่ปิดกั้นโอกาสในการแสวงหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ มาใช้ เพราะต้องเป็นผู้ที่มีเงินทุนหนาเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้
สำหรับพลังงานลม ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาดเช่นกันนั้น จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือกระบวนการ gasification สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่สำหรับโรงไฟฟ้าจากกังหันลม มีตัวแปรคือลมที่พัดไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นความสามารถในการผลิตจึงมีความแตกต่าง
รายละเอียดข้อเปรียบเทียบเชิงเทคนิคของการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งนพศึกษามานั้น สามารถดูได้จากตาราง
|
|
|
|
|