Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2528
การบริหารการเปลี่ยนแปลง             
 


   
search resources

Knowledge and Theory




“การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่จะก้าวไปข้างหน้า แต่การเปลี่ยนแปลงจะต้องกระทบผู้คนในองค์กรนั้น

ผู้เขียนเรื่องนี้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้นควรจะมีการทำให้คนยอมรับ และลดการต่อต้านลงไป การเปลี่ยนแปลงจึงจะได้ผล”

ในการบริหารงานสมัยปัจจุบัน ผู้บริหารสมัยใหม่ทั้งหลายต่างพยายามที่จะนำเอาวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรของตน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ กิจกรรม QC Circle เป็นต้น ซึ่งในการนำความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรนั้น ผู้บริหารควรจะต้องคำนึงถึงทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของตนเองด้วยว่า พร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆนั้นหรือไม่

โดยปกติมนุษย์เราจะชอบทำอะไรตามความเคยชิน คือ แต่เดิมมาเคยปฏิบัติมาอย่างไรปัจจุบันและอนาคตก็ยังอยากที่จะปฏิบัติอยู่เช่นนั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อมีใครมาทำการเปลี่ยนแปลงให้ทำอะไรใหม่ๆ โดยธรรมชาติมนุษย์จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาทันทีเช่น ยุคนี้เป็นยุคที่ปรัชญาการบริหารงานแบบญี่ปุ่นกำลังแพร่หลายมาก โดยเฉพาะกิจกรรม QC Circle ในตอนที่เริ่มเอากิจกรรม QC Circle มาใช้ในองค์กรใหม่ๆ นั้น ผู้บริหารทั้งหลายคงจะพบกับปฏิกิริยาต่อต้านจากพนักงานมากน้อยต่างกันไป พนักงานบางกลุ่มจะมองว่าเป็นการเพิ่มงานให้กับเขาแต่ได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม

บางกลุ่มจะมองว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะเป็นผู้บริหารแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งในแต่ละองค์กรก็ต้องเสียเวลาในการให้ความรู้ทำความเข้าใจกันอยู่นานจึงจะลดปฏิกิริยาต่อต้านลงไปได้บ้าง ซึ่งบางองค์กรปฏิบัติต่อต้านรุนแรงหนาแน่นถึงกับทำให้การนำกิจกรรม QC Circle มาใช้ในองค์กรมีประสบความสำเร็จก็มี

สาเหตุที่ทำให้บุคคลเกิดปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

1. ทัศนคติส่วนบุคคล โดยทั่วๆ ไป บุคคลจะสร้างสภาวะสมดุลในการดำรงชีวิต คือ

เคยปฏิบัติมาอย่างไรก็จะปฏิบัติอย่างนั้นมาตลอดเรียกว่าอยู่ในสภาวะสมดุล

เมื่อบุคคลต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการดำรงชีวิตทำให้สภาวะสมดุลเดิมเสียไป เขาก็จะพยายามต่อต้านเพื่อกลับมาสู่สภาวะสมดุลเดิม แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นั้นรุนแรงกว่าปฏิกิริยาต่อต้าน เขาก็จะค่อยๆ รับมาแล้วจะปรับเข้าเป็นสภาวะสมดุลใหม่

2. การฝึกอบรมและสิ่งแวดล้อม บุคลจะยอมรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมาก
น้อยแค่ไหนจะขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดการฝึกอบรมเมื่อโตขึ้นมาและสิ่งแวดล้อมที่เขาได้รับหรืออาศัยอยู่

เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูหรืออยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อโตขึ้นอิทธิพลของประสบการณ์เดิมจะทำให้เขาเป็นคนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

ในองค์กรใดๆ ก็ตาม ผู้นำจะมีอิทธิพลอย่างมากเลยที่จะทำให้พนักงานยอมรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

องค์กรที่มีผู้นำที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอยู่เสมอๆ จะมีส่วนช่วยลดการต่อต้านลงได้เป็นอย่างมาก

3. เหตุผลด้านความมั่นคงในชีวิตในองค์กรพนักงานจะมีปฏิกิริยาต่อต้านการ
เปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหุ่นยนต์มาใช้ เป็นต้น ก็เพราะว่าพวกเขากลัวว่าวิทยาการใหม่ๆ เหล่านี้นั้นผู้บริหารจะใช้แทนที่พวกเขาในอนาคต และพวกเขาก็จะตกงาน

4. เปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะกระทบกับการดำรงชีวิต
ปกติของบุคคลบางกลุ่ม เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานเป็นกะจากกะกลางวันไปทำกะกลางคืน พนักงานจะต้องเปลี่ยนการดำรงชีวิตประจำวันใหม่จากการทำงานในตอนกลางวันและพักผ่อนในตอนกลางคืน มาเป็นการทำงานในตอนกลางคืนแล้วมาพักผ่อนในตอนกลางวัน พนักงานบางพวกจะมีปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอันนี้

5. ลักษณะนิสัย บุคคลที่สร้างนิสัยในการดำรงชีวิตประจำวันในลักษณะที่ทำอะไร
แบบเดิมตลอดเวลา เช่น มาทำงานกลับบ้านทางไหนก็จะใช้เส้นทางนั้นๆ ตลอด บุคคลพวกนี้จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเขาจะมีแนวความคิดว่า การทำอะไรที่ยึดแบบแผนเดิมไว้จะสะดวกสบายไม่ยุ่งยาก เพราะฉะนั้นเมื่อเขาพบกับการเปลี่ยนแปลงเขาจึงพยายามที่จะต่อต้าน

6. กลัวในสิ่งที่ไม่รู้ การเปลี่ยนแปลงถ้าคนไม่รู้ว่าหลังจากการเปลี่ยนแปลงแล้วจะ
เกิดอะไรขึ้น จะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดีก็ยังไม่แน่นอน คนจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ พนักงานจะกลัวการเปลี่ยนแปลงเพราะเขาไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมามีผลกระทบกับเขาในแง่ใดบ้าง

7. การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นสิ่งที่น่ากลัว ผลของการเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะ
ดูน่ากลัวและเป็นอันตราย ถึงแม้ว่าผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นได้พยายามชี้แจงให้เห็นว่า เขาได้ป้องกันและแก้ไขความน่ากลัวหรืออันตรายต่างๆ ไว้หมดแล้วก็ตาม คนก็ยังไม่ค่อยไว้ใจอยู่ดีก็จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ช่น ในการผลิตภาชนะใส่อาหารพลาสติกขึ้นมาแทนภาชนะพวกกระเบื้องเคลือบ ถึงแม้วาผู้ผลิตจะได้พยายามทำความเข้าใจกับผู้ใช้ว่าพลาสติกที่เขานำมาผลิตเป็นภาชนะเหล่านั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แต่ประชาชนบางกลุ่มที่กลัวพิษร้ายของโรคมะเร็งก็จะไม่ยอมใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารรับประทานอยู่ดี

8. ผลมาจากนิทานหรือความเชื่อ ในความเชื่อของคนบางกลุ่มที่ถ่ายทอดกันมาตั้ง
แต่บรรพบุรุษจะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น ในสังคมไทยการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานจะสอนให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ คล้อยตามผู้ใหญ่ เป็นต้น พอโตขึ้นมาบุคคลเหล่านี้จะเป็นคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น เมื่อมาทำงานในสถานที่ทำงานที่ใช้วิธีการทำงานแบบเป็นทีมซึ่งต้องมีสนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ยึดตามความเชื่อเดิมว่า ผู้ใหญ่ว่าอะไรก็ว่าตามกัน เช่นเดิม ผลงานที่ออกมาของกลุ่มจึงเป็นเพียงความคิดของคนบางคนเท่านั้นไม่ใช่ความคิดของกลุ่มจริงๆ

เราจะบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ตามที่ได้กล่าวมาในตอนต้นๆ แล้วว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะพยายามต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามควรจะต้องคำนึงไว้เสมอว่าสิ่งใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ๆ เหล่านี้นั้น ทำอย่างไรคนจึงจะยอมรับ ซึ่งการที่เราจะทำให้คนยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

1. ต้องเตรียมการล่วงหน้า ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรวางแผนไว้ก่อนว่าจะ
มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในอนาคต จะได้เตรียมตัวไว้ก่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

2. การเปลี่ยนควรจะเป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามควร
คำนึงด้วยว่า จะเกิดผลประโยชน์กับผู้ที่จะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ให้ผลประโยชน์จะลดการต่อต้านได้

3. จะต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรคิดด้วยว่า ถ้าเรา
เป็นผู้ที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงเราจะความรู้สึกอย่างไร มีผลกระทบอย่างไร แล้วพยายามปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ดีที่สุด

4. การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสื่อข้อความ การทำความเข้าใจกับผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลงจะ
ช่วยให้เขาได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นว่า ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากการเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้น มีผลกระทบกับใครบ้าง ใครจะได้ผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งถ้ามีการสื่อข้อความที่ดีแล้วจะมีส่วนทำให้การต่อต้านต่างๆ ลดลง เพราะส่วนหนึ่งของการต่อต้านจะเกิดจากการไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง

5. ควรให้พนักงานมีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่จะถูกเปลี่ยนแปลงเข้า
มามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยว่า ควรจะดำเนินการไปในลักษณะใด จะช่วยลดการต่อต้านได้

6. คำนึงถึงเรื่องของผลประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงควรคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้
ถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น ในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในองค์กร ผู้บริหารควรจะได้คำนึงถึงด้วยว่า พนักงานนั้นจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น อาจจะเป็นในแง่ของการทำงานที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ถูกต้องและเรียบร้อยขึ้น เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่ให้ประโยชน์การต่อต้านก็จะลดลง

7. ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การเลือกเวลาที่เหมาะกับสถานการณ์จะช่วยลดการ

ต่อต้านได้ แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นควรจะเป็นช่วงใดในการพิจารณาเลือกช่วงเวลาควรคำนึงถึงข้อพิจารณาเหล่านี้บ้างคือ บรรยากาศของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงและลักษณะของแต่ละองค์กร

8. ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป การเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จะช่วยให้ผู้ที่
ถูกเปลี่ยนแปลงมีเวลาปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ การยอมรับและการปฏิบัติตามก็จะเกิดขึ้นดีกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วคนจะปรับตัวไม่ทัน การยอมรับก็จะเป็นไปได้ยาก

ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้นจะมีผลกระทบต่อบุคคลแตกต่างกันไป บุคคลมีแนวโน้มที่

จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ สาเหตุด้วยกัน การที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยขนาดไหน ในการลดปฏิกิริยาต่อต้านนั้นควรจะเริ่มจากการนำเอาความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นมาสู่ผู้ถูกเปลี่ยนแปลงว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร ทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อทดสอบความคิดเห็นว่า เขามีความเห็นอย่างไรบ้าง และใช้วิธีร่วมกันปรึกษาหารือการเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะนำไปในแนวทางใด ใช้วิธีการอย่างไร แล้วใช้ข้อสรุปของกลุ่มมาเป็นวิธีการในการดำเนินการเปลี่ยนจะช่วยลดปฏิกิริยาต่อต้าน เกิดการยอมรับ และเต็มใจปฏิบัติตามได้ดียิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us