Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
The Bully at Work             
 





จะจัดการกับ "พวกแสบ" ในที่ทำงานได้อย่างไร

ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยดี การสรรหาและรักษาพนักงานไว้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ นี่เองที่ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มหันมาให้ความสำคัญเรื่องสถานที่และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พวกก่อกวนž ในที่ทำงานก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้แกรี่และรัธ เนมี่ เขียนหนังสือว่าด้วยเรื่องนี้

"การก่อกวนในที่ทำงาน" ในความหมายของผู้เขียนนั้น หมายถึง การที่บุคคลอันไม่พึงประสงค์ (หรือเรียกว่า ผู้จู่โจม) ใช้วาจาส่อเสียด ยั่วยุ และว่าร้ายบุคคลเป้าหมาย (หรือผู้ตกเป็นเหยื่อ) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยความต้องการที่จะควบคุมบุคคลเป้าหมาย ผู้เขียนอธิบายความหมายของคำว่า ควบคุมž ว่า คือ การที่คนที่ทำตัวอันธพาลนั้น "กระทำการอันป่าเถื่อนโดยจงใจที่ให้บุคคลหนึ่งอับอาย หรือยุ่งยาก" รวมทั้งไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ให้สิ่งของที่จำเป็นในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นในทัศนะของผู้เขียน ผลของการก่อกวนในที่ทำงานจึงถือว่ารุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเชื่อมั่นในตัวเองของผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่อครอบครัว เพื่อนฝูง ของบุคคลผู้โชคร้ายนั้นด้วย มิพักต้องพูดถึงความเป็นอยู่ในแง่เศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบตามมา

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกชื่อ "การก่อกวนในที่ทำงาน - ภัยเงียบ เรื่องฉาวโฉ่ระดับชาติ" ซึ่งครอบคลุมเรื่องการก่อกวนในรูปแบบต่างๆ ในที่ทำงาน รวมไปถึงการทำความเข้าใจพวกก่อกวน และผลร้ายต่อผู้ตกเป็นเหยื่อ ส่วนที่สองชื่อ "พิสูจน์ให้เห็นว่าเราแน่ เพื่อยุติการถูกทำร้าย" กล่าวถึงการที่บุคคลเป้าหมายจะสามารถจัดการกับผลในแง่จิตวิทยาอันเกิดจากการถูกก่อกวน และจะเตรียมตัวเพื่อโต้กลับอย่างไร ส่วนสุดท้ายที่ชื่อ "โต้กลับเพื่อโค่นพวกชอบเบ่ง" บอกถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ตกเป็นเหยื่อจะสามารถยุติการถูกก่อกวน ซึ่งได้แก่ การร้องเรียนต่อบริษัทเป็นการภายใน, การปรึกษาทนายและขั้นตอนทางกฎหมาย รวมทั้งการหลีกให้พ้นพวกก่อกวน ด้วยการขอย้ายไปทำงานแผนกอื่น หรือเปลี่ยนงานใหม่

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้จะมองว่าการก่อกวนในที่ทำงานนั้นเป็นเรื่องใหญ่ แต่กรณีตัวอย่างที่ยกมา ยังไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะทำให้เชื่อเช่นนั้น อีกทั้งยังให้ความเห็นใจต่อเหยื่อที่ถูกก่อกวนมากเสียจนมองปัญหานี้อย่างมีอคติจนเกินไป ซึ่งทำให้หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพในแง่ลบจนสุดโต่ง โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ

ถึงอย่างไร หนังสือ The Bully at Work ก็บรรลุเป้าหมายของผู้เขียนที่ต้องการจะอธิบายปัญหาการก่อกวนในที่ทำงาน รวมทั้งให้เหตุผลและเทคนิคการป้องกันสำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ตระหนักถึงปัญหานี้ หนังสือเล่มนี้ก็เป็นแหล่งข้อมูลให้คำแนะนำที่ดีเล่มหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us