Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
Open Office กับ Unilever             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Path to Growth อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ ยูนิลีเวอร์
จากสบู่ในรั้ววัง สู่คอนซูมเมอร์โปรดักส์ครบวงจร

   
search resources

ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, บจก.




การเคลื่อนย้ายสำนักงานใหญ่ไปสู่สถานที่ตั้งใหม่ขององค์กรทางธุรกิจแต่ละแห่ง อาจเป็นเพียงปรากฏการณ์ปกติธรรมดา แต่สำหรับ ยูนิลีเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัท ผู้ผลิต และจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทย ความเคลื่อนไหวนี้กลับกำลังสะท้อนให้เห็นมิติหลากหลาย ที่น่าสนใจยิ่ง

ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ ได้ย้ายสำนักงานจากเดิมบน ถนนศรีนครินทร์มาสู่ตึกเวสต์ ทาวเวอร์ 1 ชั้น 2-9 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า (SCB Park) และมีพีธีเปิดสำนักงานใหม่แห่งนี้อย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่าน มา โดยมี ไนอัล ฟิตซ์เจอรัลด์ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท ยูนิลีเวอร์ จำกัด (มหาชน) (Unilever PLC) บินตรงจากอังกฤษมาเป็นประธานของงานในครั้งนี้

การเปิดสำนักงานใหม่ดังกล่าว แม้จะมีการประชา สัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชนทั้งใน และต่างประเทศอย่างกว้างขวาง แต่กิจกรรมดังกล่าวมิได้เปิดกว้างให้สื่อมวลชนเข้าร่วมเหมือนการเปิดสำนักงานใหม่ทั่วไป หากแต่ ยูนิลีเวอร์ ต้อง การให้การเปิดสำนักงานแห่งใหม่ เป็นงานพิธี ที่มีลักษณะเป็นการภายในเฉพาะสำหรับผู้มีส่วนร่วมในองค์กรเท่านั้น

มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งของปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าวอยู่ ที่ผู้บริหารระดับสูงของยูนิลีเวอร์ ทั้งในประเทศไทย และ ที่บินตรงมาจากต่างประเทศ ต้องการที่จะใช้โอกาสดังกล่าวในการสื่อความ และบอกกล่าววิสัยทัศน์ขององค์กรให้พนักงานทุกระดับได้รับทราบไปในคราวเดียวกัน

สิ่งที่ ไนอัล ฟิตซ์เจอรัลด์ ต้องการเน้น ย้ำกับพนักงานของยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย อยู่ ที่ทิศทางทางธุรกิจของยูนิลีเวอร์ตามแนวคิด "Path to Growth" และการเน้นวิสัยทัศน์ว่าด้วย "Everyone-Everyday" ซึ่งเป็นธงนำในการดำเนินกิจกรรมของยูนิลีเวอร์ มาตั้งแต่ช่วง ต้นปีที่ผ่านมา และมุ่งหมายให้ปรากฏผลจริง จังโดยเร็ว

การย้าย ที่ตั้งสำนักงานของยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายตัวตามแนวความคิดดังกล่าว และได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้มีความพิถีพิถันเป็นพิเศษ นับตั้งแต่การเลือกสถานที่ และการออกแบบภายใน ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบของอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อสร้างเสริมบรรยากาศ และสะท้อนแนวความคิดโดยรวมของยูนิลีเวอร์

เธโอ คุนเดอร์ส ประธานบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด อธิบายกับ "ผู้จัดการ" ขณะพาเยี่ยมชมสำนักงานแห่ง ใหม่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่มีการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้ามาในบริเวณสำนักงานแห่งนี้ ว่าแนวความคิดเบื้องต้นของสำนัก งานแห่งใหม่นี้ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบสำคัญว่าด้วยการสะท้อนภาพของความเป็นมืออาชีพ ความสามารถในการทำงาน ร่วมกันเป็นทีม และ ที่สำคัญคือ การจัดวางให้พนักงานแต่ละส่วนรู้สึกได้ถึงความเท่าเทียม และ "เปิดกว้าง"

ยูนิลีเวอร์ได้มอบหมายให้ Woods Bagot บริษัทผู้ออกแบบภายในสำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบในการแปลงแนวความคิดดังกล่าวให้ออกมาเป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ และนำมาสู่แนวความคิดรวบยอดของสิ่งที่เรียกว่า Open Office ในที่สุด

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาด้วยสายตา สิ่งแรก ที่ได้รับจากสำนักงานแห่งนี้ มิได้อยู่ ที่ความพยายามในการใช้พื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเอาเป็นเอาตาย หากอยู่ ที่ความพยายามในการรังสรรค์พื้นที่ให้เกิดบรรยากาศใหม่ของการทำงาน โดยในการจัดวางอุปกรณ์สำนักงานส่วนใหญ่ได้เน้นให้ส่วนงานแต่ละส่วนสามารถใช้พื้นที่ในการสนทนา เพื่อประชุมวางแผน และการระดมสมอง (brain stroming) เป็นการภายในได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องผละจากโต๊ะ ที่ทำงาน อยู่เป็นประจำอีกด้วย

การจัดวางโต๊ะทำงานในแต่ละชั้น ได้รับการจัดเรียงโดย ปราศจากกำแพงหรือผนังกั้น จะมีก็แต่เพียงฉาก (partition) ที่มีความสูงไม่เกินระดับหัวไหล่ โดยพนักงานแต่ละคนจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำในแต่ละโต๊ะ ในลักษณะหันหน้า เข้าสู่ฉากกั้นของแต่ละส่วนแต่ละแผนก ขณะที่พื้นที่ตรงกลาง ถูกออกแบบให้เว้นว่างสำหรับการปรึกษาหารือกลุ่มย่อยได้ตลอดเวลา

การใช้ partition board มาเป็นส่วนหนึ่งในการตกแต่งสำนักงานแห่งนี้ มิได้กระทำในลักษณะ ที่มุ่งหวังในการกันส่วน เพื่อจำแนกพื้นที่อย่างดาดๆ ดัง ที่หลายสำนักงานกระทำกันอย่าง ทั่วไป และถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา หากแต่ได้รับการออกแบบให้ partition board มีบทบาทในการเป็นช่องชั้นสำหรับการจัดวางเอกสาร และเครื่องใช้ของพนักงานไปด้วยในตัว

ด้วยโครงสร้างของตัวอาคาร ซึ่งมีช่องลิฟต์ อยู่บริเวณช่วงกลางของตึก ทำให้ Unilever ซึ่งเช่าเหมาตลอดทั้งชั้นตั้งแต่ชั้น ที่ 2-9 ปรับพื้นที่ในช่วงกลางให้มีลักษณะโค้งมน และมีฐานะเป็นทางเดินโดยรอบตลอดทั้งชั้น โดยในการแบ่งส่วน ของแต่ละแผนกจะเป็นไปในลักษณะ ที่ประหนึ่งมีเส้นรัศมีจากศูนย์กลางของตัวตึกเป็นตัวกำหนด อาณาเขต โดยผนังกั้นบริเวณส่วนโค้งของช่องลิฟต์ ได้รับการออกแบบให้เป็นอีกส่วนหนึ่งของการเพิ่มสีสันให้สำนักงานด้วยการประดับภาพ และข้อความ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดของยูนิลีเวอร์เข้าไปด้วย

ความโค้งมนในการออกแบบมีส่วนสำคัญ ที่ทำให้สำนักงานแห่งใหม่นี้ มีลักษณะ ที่ลื่นไหลตลอดเวลา ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานหรือแม้กระทั่งผู้ที่มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม สามารถสัมผัสได้กับการไม่หยุดนิ่ง ที่น่าจะเกิดขึ้นภายในสำนักงานแห่ง นี้ ขณะที่บางจุดบางมุม ที่โดยโครงสร้างของตัวอาคารบังคับให้ต้องใช้เส้นตรงในการออกแบบนั้น ก็ได้รับการปรับปรุงให้มีสีสันเพิ่มขึ้นด้วยการยกพื้นที่ให้สูง-ต่ำ หรือใช้อุปกรณ์ตกแต่ง ที่ไม่มีความตึงตัวเข้ามาประกอบ เพื่อลดความกระด้างของพื้นที่

ขณะเดียวกันพนักงานแต่ละส่วนแต่ละแผนก สามารถ รู้สึก และสัมผัสกับความเปิดกว้างในการทำงานได้ตลอดเวลา เพราะโดยลักษณะโครงสร้างของตัวอาคาร ที่ใช้กระจกใสเป็นผนังเปิดสู่ทัศนียภาพด้านนอกนั้น พนักงานแต่ละคนสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหว และความเป็นไปของโลกภายนอกสำนักงานได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ พื้นที่ในแต่ละชั้นของสำนัก งานแห่งนี้ยังประกอบไปด้วย มุมสบาย ที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนสามารถใช้แลกเปลี่ยนแนวความ คิดว่าด้วยผลิตภัณฑ์ และพฤติกรรมของผู้บริโภค ในลักษณะ ที่ไม่เป็นทางการมากนักกระจายอยู่ 2-3 แห่งในแต่ละชั้น นอกจากนี้ยังมีห้องประชุม สำหรับกลุ่มย่อยอีกชั้นละ 3-4 ห้อง และห้องประชุมประจำแผนก ที่มีความเป็นทางการมากขึ้นอยู่อีกไม่ต่ำกว่าชั้นละ 2-3 ห้อง

รวมความแล้วนั่นหมายความว่า สำนักงานแห่งนี้มีห้อง ประชุมในแต่ละระดับไม่ต่ำกว่า 40 ห้องเลยทีเดียว

กระนั้น ก็ดี ห้องประชุม ที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ได้รับการออกแบบให้มีความโปร่งโล่ง ด้วยการใช้กระจกใสเป็น องค์ประกอบหลักในการกั้นส่วน เพื่อไม่ให้ขัดต่อแนวคิดของการเป็นสำนักงาน ที่เปิดกว้างตาม ที่ได้กำหนดไว้

ห้องประชุม ที่มีอยู่จำนวนมากเหล่านี้ ได้รับการกำหนดชื่อตาม แบรนด์สินค้าของ ยูนิลีเวอร์ ขณะที่ห้องประชุมบางห้องได้รับการออกแบบในลักษณะ ที่จำลองสภาพความเป็นอยู่ของบ้านเรือนในท้องถิ่นไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวเนื่องของยูนิลีเวอร์ต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวไทยอย่างชัดเจนไปในตัว

พื้นที่ส่วนต่างๆ ของสำนักงาน ซึ่งจำแนกออกเป็นแผนก ที่หลากหลายตามกลุ่มของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น ถูกกำหนด ด้วยสีสันแตกต่างกันไป พร้อมกับคำขวัญ และปรัชญาในการ นำเสนอภาพลักษณ์ของสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ตามลักษณะของ ผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่ม และกลายเป็นประหนึ่งชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์ ที่ประกอบส่วนขึ้นเป็นภาพใหญ่ ที่น่าพิจารณาไม่น้อย

ความทันสมัยของสำนักงานเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ได้รับความใส่ใจในการออกแบบ โดยพื้นห้องในแต่ละชั้นได้รับ การยกขึ้น และปูด้วยวัสดุพิเศษ พร้อมกับการเดินสายไฟ สาย โทรศัพท์ และเคเบิลสำหรับอุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ไว้ภายใต้พื้นห้อง ก่อน ที่จะเชื่อมต่อ ไปยังจุดต่างๆ โดยไม่ก่อให้เกิดสภาพรกตา

จุดที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งของสำนักงานแห่งนี้อยู่ ที่ มุมกาแฟ ประจำแผนก ซึ่งในแต่ละชั้นจะมีอยู่ประมาณ 2-3 จุด โดยอุปกรณ์สำหรับการชงกาแฟในแต่ละจุดก็ได้รับการออก แบบอย่างทันสมัย และด้วยเพียงปลายนิ้วสัมผัสพนักงานแต่ละคนก็สามารถเลือกดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟ ที่มีหลากหลายไล่เรียงตั้งแต่ เอสเปรสโซ, คาปุชชิโน, คาเฟ่โอเล่, มอคค่า ฯลฯ และ ที่แน่นอนที่สุด ย่อมต้องมีชาลิปตัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้การดูแลของยูนิลีเวอร์เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลือกนี้ด้วย

อุปกรณ์การชงกาแฟ หรือ ที่ควรจะเรียกว่า Cafe machine นี้ ยูนิลีเวอร์ ได้ติดตั้งไว้ไม่น้อยกว่า 30 เครื่องในพื้นที่สำนักงานจำนวน 8 ชั้นแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงาน ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

"เราเชื่อว่าบรรยากาศที่ดีภายในสำนักงาน จะส่งผลให้ พนักงานแต่ละคนรู้สึกผ่อนคลาย และสามารถนำพลังแห่งการ สร้างสรรค์ และศักยภาพ ที่อยู่ภายในออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่" ซึ่งก่อนหน้านี้ ยูนิลีเวอร์ได้นำนโยบาย casual dressing อนุญาตให้พนักงานแต่งกายลำลองมาทำงานได้ และได้รับการตอบสนองอย่างดีจากพนักงานเช่นกัน

ประเด็น ที่น่าสนใจไม่น้อยอีกประการหนึ่งของการย้ายสำนักงานใหญ่ของยูนิลีเวอร์ มายังอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่าในครั้งนี้ อยู่ ที่การเปิดโอกาสให้พนักงานแต่ละคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในการเลือกสถานที่ทำงานด้วยการลงคะแนนเสียง ในการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายอีกด้วย

ก่อนหน้านี้ ยูนิลีเวอร์ได้สำรวจ และให้ความสนใจอาคาร สำนักงานในเขตกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่า 7 แห่ง ภายใต้เงื่อนไขคุณสมบัติเบื้องต้นว่าด้วยขนาดของพื้นที่ใช้สอยในสำนักงาน ความสะดวกของทำเล ที่ตั้ง และพื้นที่สำหรับจอดรถ ที่สามารถรองรับจำนวนรถของพนักงาน และผู้มาติดต่อได้อย่างพอเพียง จนในที่สุดเหลือเพียงอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า และ อาคารอื้อจือเหลียง เท่านั้น ที่ยูนิลีเวอร์ให้ความสนใจ และกลาย เป็น 2 ตัวเลือกสุดท้ายก่อนการตัดสินใจ

"เราให้พนักงานของบริษัทแต่ละคนลงคะแนนเสียง เพื่อเลือกว่าพวกเขาพึงใจกับสถานที่แห่งใดมากกว่ากัน เพราะพวกเขาคือ ผู้ที่จะต้องเดินทางไปกลับ และมาทำงาน ที่สำนักงานแห่งใหม่นี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่อง ที่สำคัญมาก และพวกเขาเลือก ที่จะทำงานในสำนักงาน ที่ตั้งอยู่ใน SCB Park แห่งนี้" คุนเดอร์สเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังขณะพาชมซอกมุมต่างๆ ภายในสำนักงานแห่งใหม่

ความพยายาม ที่จะสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมใกล้ชิดกับองค์กรให้แก่พนักงานของยูนิลีเวอร์ มิได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น หากแต่ในช่วงก่อนการเปิดสำนักงาน ใหม่อย่างเป็นทางการ ยูนิลีเวอร์ได้จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับพนักงาน ด้วยการเปิดโอกาสให้พนักงานแต่ละคนเชิญสมาชิกภายในครอบครัวมาเยี่ยมชมบรรยากาศภายในสำนักงาน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจทั้งในส่วนของพนักงาน และสมาชิกส่วนอื่นๆ ในครอบครัว ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนี้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ยูนิลีเวอร์มิเพียงแต่จะใส่ใจเฉพาะพื้นที่ภายในตัวอาคารเท่านั้น หากแต่พื้นที่โล่งบนหลังคาอาคาร ซึ่งสามารถเดินออกไปจากสำนักงานชั้น ที่ 2 ซึ่งแต่เดิมถูกปล่อยทิ้งไว้ในฐานะ ที่เป็นเพียงเครื่องกำบังแดด ฝน ให้กับพื้นที่ชั้นล่างนั้น ได้รับการปรับปรุงจากยูนิลีเวอร์ให้กลายเป็นสวนหย่อมสำหรับ การพักผ่อนยามบ่าย และเย็นของพนักงาน และในการเปิดสำนักงานใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ สวนหย่อมดังกล่าวก็ได้ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่จัดงานในครั้งนั้น ด้วย

หากคำนวณค่าใช้จ่าย ที่ยูนิลีเวอร์ ได้ลงทุนในส่วนของ อุปกรณ์ตกแต่งสวน และพืชพันธุ์ ที่มีอยู่หลากหลายชนิดแล้ว ก็เชื่อว่าเป็นจำนวนเงินลงทุน ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการลงทุนในด้านอื่นๆ มากนัก

ขณะที่งบประมาณสำหรับการย้ายสำนักงานใหม่มายังอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เฉพาะในส่วนของสัญญาการเช่าอาคาร ที่มีกำหนด 6 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีก 3 ปีนั้น ก็มีมูลค่าสูงถึง 250 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงที่สุดแห่งหนึ่ง นับตั้งแต่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะซบเซามาอย่างต่อเนื่อง

การตัดสินใจเช่าพื้นที่ในโครงการไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า นอกจากยูนิลีเวอร์จะได้สำนักงานแห่งใหม่ตามแนวความคิดของบริษัทแล้ว อีกด้านหนึ่งยังส่งผลในทางบวกโดยตรงต่อ บริษัท มหิศร เจ้าของอาคาร ซึ่งแต่เดิมกำหนดแนวคิดในการบริหาร และการตลาดไว้ ที่การเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ในลักษณะของการเป็น Office Complex ที่เลิศหรู แต่ด้วยภาวะทางเศรษฐกิจทำให้ในความ เป็นจริง มีเพียงธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทเอกชนเพียงจำนวนน้อยรายเท่านั้น ที่เข้ามาเช่าพื้นที่ของโครงการแห่งนี้

ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วง ที่ผ่านมายังปรากฏว่าบ่อยครั้ง ที่บริษัท มหิศร เจ้าของ และผู้บริหารโครงการจำเป็นต้องลดระดับของกลุ่มลูกค้าลง มา ในลักษณะของการจัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่หมุนเวียน อันหมายถึงรายได้จำนวนหนึ่ง และการเสริมสร้างบรรยากาศสีสันให้อาคารแห่งนี้ไม่ต้องอยู่ในภาวะเงียบเหงามากนักไปพร้อมกัน

การได้ยูนิลีเวอร์เข้ามาเช่าพื้นที่ในห้วงเวลาเช่นนี้ ดูเหมือนว่าจะทำให้ มหิศร มีความกระตือรือร้น และเอาใจใส่ต่อลูกค้ารายนี้เป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากการอำนวยความสะดวกตามปกติวิสัยแล้ว บนตัวตึกด้านนอกของ เวสต์ ทาวเวอร์ 1 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ ยังมีตราสัญลักษณ์รูปตัว U ของยูนิลีเวอร์ ติดอยู่อย่างดูเด่นเป็นสง่า และสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลจากถนนวิภาวดีรังสิต อีกด้วย

หากกล่าวเฉพาะในส่วนของยูนิลีเวอร์แล้ว ข้อเท็จจริง ที่น่าสนใจประการหนึ่งในความเคลื่อนไหวน้อยใหญ่ประดามีของยูนิลีเวอร์ในช่วง ที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าไม่เพียง แต่ยูนิลีเวอร์ จะเปิดแนวรบด้านการตลาดแข่งขันกับคู่ต่อสู้ทางธุรกิจหรือกระทั่งการย้ายศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) จากกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มายังประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยูนิลีเวอร์กำลังดำเนินความพยายามในการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้โดดเด่น และติดตราตรึงใจผู้บริโภคตามวิสัยทัศน์ Everyone-Everyday อย่างแข็งขันจริงจัง

ภายใต้แนวความคิด Open Office ที่ยูนิลีเวอร์นำมาเป็นต้นร่างของการออกแบบ ที่ทำการสำนักงานแห่งใหม่บนชั้น ที่ 2 ถึงชั้น ที่ 9 ตึกเวสต์ ทาวเวอร์ 1 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า แห่งนี้ ดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการดำเนินธุรกิจขององค์กรเอกชน ที่มีฐานะเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ กำลังงอกเงยขึ้นมาเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่ความสำเร็จ ที่องค์กรแห่งนี้คาดหวัง ซึ่งคู่แข่งขันรายอื่นๆ ควรให้ความสนใจติดตามอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us